กองทุนอนุรักษ์วัฒนธรรมเอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย กรุงเทพมหานคร

กองทุนอนุรักษ์วัฒนธรรมเอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย กรุงเทพมหานคร

กองทุนอนุรักษ์วัฒนธรรมเอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย

รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น

ประเภทองค์กร

สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้สนับสนุนการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของประเทศไทยผ่านกองทุนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาเพื่อการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรม (The U.S. Ambassadors Fund for Cultural Preservation (AFCP) ซึ่งกองทุนนี้ก่อตั้งขึ้นในพุทธศักราช 2544 โดยมีจุดประสงค์ให้เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาที่ประจำอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้สนับสนุนงบประมาณตั้งแต่ 10,000 – 200,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมหรือการเก็บบันทึกข้อมูลทางวัฒนธรรมที่อาจจะสูญหายได้ โดยการสนับสนุนแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ตามหลักเกณฑ์การอนุรักษ์ระดับสากล ดังนี้

1. พื้นที่ทางวัฒนธรรม เป้าหมายคือการอนุรักษ์สิ่งปลูกสร้างทางประวัติศาสตร์และสถานที่ทางโบราณคดี รวมถึงการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณคดี และเอกสารทางประวัติศาสตร์

2. โบราณวัตถุหรือทรัพยากรทางวัฒนธรรม โดยไม่ใช่เพียงการจัดเก็บวัตถุจากพิพิธภัณฑ์ แหล่งขุดค้น หรือภาพเขียน ประติมากรรม และจารึกทางประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงวิธีการอนุรักษ์อย่างถูกวิธีที่ประกอบด้วยการประเมินคุณค่าและคำนึงถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมในการวางแผนการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ด้วยการเก็บหรือจัดแสดงไว้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม รวมถึงการฝึกอบรมพิเศษในการดูแลวัตถุ

3. รูปแบบของการแสดงออกทางวัฒนธรรม เช่น ดนตรี ภาษา และงานศิลปะพื้นเมือง โดยใช้การบันทึกในรูปแบบของเอกสารและโสตวัสดุเพื่อนำไปสู่การเผยแพร่วัฒนธรรมในวงกว้าง เพื่อเป็นการสนับสนุนการอนุรักษ์วัฒนธรรมอย่างยั่งยืนก่อนที่จะสูญหายไป

ที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้ให้การสนับสนุนการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของประเทศไทยผ่านโครงการต่าง ๆ จำนวนทั้งสิ้น 14 โครงการ อาทิเช่น

1. งานอนุรักษ์และบริหารจัดการเพิงผาบ้านไร่และเพิงผาถ้ำลอด อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์เพิงผาทั้งสองแห่งในเขตที่ราบสูงของไทยซึ่ง เต็มไปด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรมและมีระบบนิเวศที่เปราะบาง

2. การสำรวจและลงบันทึกอาคารทางประวัติศาสตร์บนถนนเจริญกรุงด้านทิศเหนือ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบันทึก ประเมินคุณค่า และเสนอแนวทางอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าของไทยซึ่งอาจสูญหายไปเนื่องจากแผนการก่อสร้างเส้นทางรถไฟใต้ดินในย่านที่เก่าแก่และมีเสน่ห์ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร

3. โครงการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังที่จังหวัดมหาสารคาม โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมชาวบ้านท้องถิ่นให้มองเห็นคุณค่าและรู้จักรักษาภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่วัดโพธาราม และวัดป่าเรไร ซึ่งจะช่วยให้ภาพจิตรกรรมเหล่านี้ดำรงอยู่ต่อไปเพื่อเล่าขานเรื่องราวแก่ชนรุ่นหลัง โครงการบันทึกข้อมูลทางสถาปัตยกรรมแบบอิสลามในภาคใต้ของไทย

4. โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยอนุรักษ์สถาปัตยกรรมทางภาคใต้ที่มีคุณค่าด้วยการสำรวจ บันทึก และจัดนิทรรศการเพื่อแสดงให้เห็นรูปแบบสถาปัตยกรรมไม้แบบอิสลามที่ได้รับอิทธิพลจากชวาและบาหลี และอาคารก่ออิฐถือปูนที่มีซุ้มประตูโค้งแบบโกธิคหรือออตโตมัน (เติร์ก) ในยุคหลัง ๆ 5. โครงการอนุรักษ์จิตกรรมฝาผนัง วัดบ้านก่อ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง

5. โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พระรูปหนึ่งได้วาดภาพเหล่านี้ไว้ในพุทธศักราช 2478 ซึ่งภาพจิตรกรรมฝาผนังนี้ถือว่ามีความโดด เด่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของไทย

ประวัติเพิ่มเติม