อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

อาคารพระยาพาลาซโซ

อาคารพระยาพาลาซโซ

ที่ตั้ง เลขที่ 757/1 ซอยสมเด็จพระปิ่นเกล้า 2 ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร

สถาปนิก / ผู้ออกแบบ ไม่ปรากฏชื่อ

ผู้ออกแบบอนุรักษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชัย พิทักษ์วรรัตน์

ผู้ครอบครอง มูลนิธิอิสลามกรุงเทพวิทยาทาน เช่าโดย บริษัทพระยา พาลาซโซ่ จำกัด

ปีที่สร้าง พ.ศ. 2466

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2554

ประวัติ

อาคารพระยา พาลาซโซ หรือบ้านบางยี่ขันเดิม ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของอำมาตย์เอกพระยาชลภูมิพานิช (ไต้ตั้ด อเนกวนิช) ขุนนางเชื้อสายจีนในสมัยรัชกาลที่ 5 และต้นสกุลอเนกวนิช หลังจากที่พระยาชลภูมิพานิชได้ถึงแก่อนิจกรรม บ้านบางยี่ขันได้ตกแก่ทายาท คือ นายปานจิตต์ อเนกวนิช จนถึง พ.ศ. 2498 หลังจากนั้นบ้านหลังนี้ได้ถูกขายให้กับกลุ่มมุสลิมบางกอกน้อย เพื่อใช้เป็นอาคารเรียนของโรงเรียนราชการุณ หลังจากที่โรงเรียนได้ปิดตัวลงในปี พ.ศ.2521อาคารได้ถูกเช่าโดยโรงเรียนอินทรอาชีวศึกษาจนถึงปี พ.ศ.2539 หลังจากนั้นอาคารหลังนี้ว่างลง ถูกทิ้งร้าง และไม่ได้ใช้งานจนถึงปี พ.ศ.2550 ต่อมาระหว่างปี พ.ศ. 2551 – 2552 อาคารถูกเช่าโดยบริษัทพระยา พาลาซโซ จำกัด คณะผู้บริหาร นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์วิชัย พิทักษ์วรรัตน์ และทีมงานได้เข้ามาศึกษารายละเอียด บูรณะ และปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยของอาคารปัจจุบันได้รับนามใหม่ว่า พระยา พาลาซโซ เปิดเป็นกิจการห้องพัก และห้องอาหาร

อาคารพระยา พาลาซโซ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น จำนวน 3 หลัง เชื่อมต่อกันด้วยชาน ระหว่างอาคารทั้ง 3 หลัง เป็นลานว่าง ผังพื้นอาคารมีการจัดวางองค์ประกอบแบบสมมาตร ผังพื้นอาคารตรงกลางเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยทั้ง 2 ชั้นประกอบด้วยห้องโถงขนาดใหญ่ 1 ห้อง มีบันไดขนาดใหญ่เป็นทางขึ้นจากภายนอกด้านริมแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่โถงชั้น 2 สำหรับผังพื้นอาคารทิศใต้และอาคารทิศเหนือเป็นรูปตัวแอล (L) ที่มีขนาดเท่ากัน แต่ละชั้นแบ่งออกเป็น 4 ห้อง มีบันไดไม้ภายในตั้งอยู่ที่อาคารทิศใต้ พื้นอาคารเป็นไม้ หลังคาของอาคารทั้ง 3 หลัง เป็นหลังคาทรงปั้นหยา โครงสร้างไม้มุงด้วยกระเบื้องจีน หลังคาไม่มีชายคาที่บริเวณขอบหลังคามีระบายน้ำฝนซึ่งไหลลงท่อน้ำสังกะสีที่ติดอยู่กับตัวอาคาร ประตูเป็นบานเปิดคู่ลูกฟักและบานเกร็ดไม้ ช่องแสงไม้เหนือประตูฉลุลวดลายสวยงาม หน้าต่างเป็นบานกระทุ้ง ช่องแสงเหนือหน้าต่างเป็นซุ้มโค้งประดับกระจกสีและกระจกใส รูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบนีโอปัลลาเดียน ปัจจุบันพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารถูกปรับเปลี่ยนเป็นห้องพัก ห้องน้ำ และห้องอาหารโดยมีการต่อเติมห้องครัว สร้างสระว่ายน้ำ ห้องเครื่อง ห้องน้ำ และศาลาริมน้ำ

เนื่องจากอาคารถูกทิ้งร้างมาเป็นเวลานาน มีสภาพทรุดโทรม บางส่วนพังทลาย เกิดน้ำท่วมขังเป็นครั้งคราว และถนนเข้า ไม่ถึง ทำให้การปรับปรุงอาคารโดยคงลักษณะทางสถาปัตยกรรมของอาคารเดิมไว้ให้ได้มากที่สุดเป็นเรื่องที่ท้าทาย อย่างไรก็ตาม จากการทำงานอย่างเต็มความสามารถของทีมงานทำให้การปรับปรุงอาคารสามารถรักษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมเอาไว้ได้

 

Phraya Palazzo Building

Location 757/1 Soi Somdet Phra Pin Klao 2, Somdet Phra Pin Klao Road, Khwaeng Bang Yi Khan, Khet Bang Phlat, Bangkok

Architect / Designer not find name

Conservation Designer Asst. Prof. Wichai Pitukworarat

Proprietor Krung Thep Wittaya Tan Islamic Foundation Rented by Phraya Palazzo Co., Ltd.

Date of Construction 1923

Conservation Awarded 2011

History

Praya Palazzo Building or formerly named Ban Bang Yi Khan is located on the bank of the Chao Phraya River. It was the residence of Phraya Chonlapunpanich - a Chinese noble in the reign of King Rama V. He was the founder of Anekwanich Family. In 1955, the house was sold to Bangkok Noi Muslim Group to use as the building of Ratchakarun School. The school was closed down in 1978 and the building has been leased by a vocational school until 1996. After that, the building was deserted. It has been rented by Praya Palazzo Com. Ltd. since 2008. The company executives led by Asst. Prof. Wichai Pitukworarat restored the building and it becomes a hotel and a restaurant named Praya Palazzo.

It consists of 3 brick masonry buildings. Each has 2 storey connected by a terrace. There is a space between the buildings. The first and the second floors consist of a large hall with the stairs leading from outside to the hall of the second floor. The plan of the building in the South and North is in L-shaped design in the same size. Each floor is divided into 4 rooms, with the wooden stairs inside the building in the south. The floor is made of wood. The hipped roof is woodwork covered with Chinese tiles. Above the doors are beautiful wood carving. The arches above the windows are decorated with stained glass and clear glass. The architectural style is Neo Palladian. Presently, the area inside the buildings was modified for guestrooms,bathrooms and a dining room. The kitchen was added as well as a swimming pool and a pavilion, etc.

Although the building was abandoned for a long time and damaged by flooding from time to time and the restoration to maintain the original style is very hard, the working team is able to do very well. This valuable building has been preserved for the architecture and the history of the nation.