อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

ค้นหา

สวนโมกขพลาราม (วัดธารน้ำไหล)

สวนโมกขพลาราม (วัดธารน้ำไหล)

ที่ตั้ง เลขที่ 68 หมู่ 1 ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

ผู้ครอบครอง สวนโมกขพลาราม 

ปีที่สร้าง พ.ศ.2475 

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2552 

ประวัติ 

สวนโมกขพลารามก่อตั้งขึ้นโดยท่านพุทธทาสภิกขุ หลังจากที่ท่านเดินทางกลับจากการศึกษาธรรมะในกรุงเทพมหานครและพบเห็นการปฏิบัติตัวของพระที่ไม่เหมาะสม และความวุ่นวายของเมืองซึ่งจะก่อให้เกิดความไม่สงบ ในจิตใจ จึงได้ให้โยมน้องชายและคณะออกแสวงหาสถานที่สงบสำหรับศึกษาธรรมะ จนกระทั่งได้พบสถานที่เหมาะสมคือ วัดตระพังจิก ซึ่งเป็นวัดร้าง ตั้งอยู่ที่ตำบลพุมเรียง ภายในพื้นที่วัดมีต้นโมกและต้นพลาขึ้นอยู่มาก ท่านพุทธทาสจึงนำคำว่าโมก พลา และอาราม มารวมกันเป็นชื่อสำนักปฏิบัติธรรม และตั้งชื่อสถานที่แห่งนี้ว่า สวนโมกขพลาราม ที่มีความหมายว่า อารามที่ทำให้เกิดกำลังแห่งความหลุดพ้น ในปี พ.ศ. 2475  ต่อมาในปี พ.ศ.2487 ท่านพุทธทาสภิกขุได้ย้ายสวนโมกขพลารามมาอยู่บริเวณเชิงเขาพุทธทอง ตำบลเสม็ด ในขณะที่สวนโมกขพลารามที่พุมเรียงยังคงเป็นสำนักปฏิบัติธรรมเช่นเดิม หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2502 สวนโมกขพลารามแห่งที่ 2 ได้รับการจดทะเบียนเป็นวัดตามระเบียบโดยใช้ชื่อว่า วัดธารน้ำไหล เนื่องจากที่ตั้งมีธารน้ำไหลผ่าน 

ภายในสวนโมกขพลาราม (วัดธารน้ำไหล) มีการจัดภูมิสถาปัตยกรรมที่ให้ความสำคัญกับธรรมชาติสถาปัตยกรรม ปฏิมากรรม จิตรกรรม และวรรณกรรม ทั้งหมดสอดรับกลมกลืนกับธรรมชาติและแสดงพุทธธรรมที่ลึกซึ้งแต่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ เพื่อเป็นสถานที่แสวงหาความสงบและศึกษาธรรมะ เป็นสำนักสงฆ์ที่ตั้งอยู่ในอุทยานที่สวยงามตามธรรมชาติ และสงบร่มรื่นเหมาะแก่การวิปัสสนาธรรม สถานที่สำคัญๆ ภายในสวนโมกขพลาราม ได้แก่ ห้องสมุด โมกขพลบรรณาลัยลานหินโค้ง ธรรมวารีนาวาอิสรกุลนฤมิต โรงปั้นภาพ ศาลาโรงธรรม สระนาฬิเกร์ศาลา และโรงมหรสพ ทางวิญญาณ ซึ่งภายในประมวลภาพบทกวี ภาพศิลป์ คติธรรมคำสอนในพุทธศาสนานิกายต่างๆ ภาพพุทธประวัติ ภาพจำลองจากภาพหินสลัก และเรื่องพุทธประวัติในอินเดีย 

สภาพปัจจุบันของสวนโมกขพลาราม (วัดธารน้ำไหล) ยังคงสืบสานปณิธานของท่านพุทธทาสภิกขุ โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ยังคงรักษาสภาพไว้ได้อย่างดีเยี่ยม บริเวณภายในยังคงร่มรื่นเหมาะสำหรับเป็นที่ฝึกอบรมจิตใจและศึกษาพุทธศาสนาแก่ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ  

Suan Mokkhabalarama 

Location 68 Mu1, Tumbon Lamet, Amphoe Chaiya, Suratthanee Province 

Proprietor Suan Mokkhabalarama 

Date of Construction 1932 

Conservation Awarded 2009 

History 

Suan Mokkhabalarama was founded in 1932 by the vulnerable Buddhadasa Bhikkhu. It was originally located in Pumriang which is a Sub district of the Chaiya District. Buddhadasa Bhikkhu established Suan Mokkh because of his intention of find a peaceful place to study the Dharma. Afterwards he moved to Bangkok in order to study the Dharma. He witnessed the inappropriate behavior of some monks and the chaos that surrounded the city. It caused unpeacefulness within his heart and decided to name the place “Suan Mokkhabalarama” due to the great numbers of Mok trees and Bala trees growing there. Buddhadasa Bikkhucombined the words Mok, Bala and Arama (Temple or Monastry) into the name of the Dharma Practice School, meaning “The Arama, which leads to the Power of self release”. Afterwards in 1942, Suan Mokkh was moved to the area around the foot of the PutthongMountain in the Amphoe Samet Sub, where a stream gently flowed past; and it was therefore registered as “Tharn Nam Lai Temple” (The Flowing Stream Temple) in the first period. Buddhadasa Bhikkhu intended to keep the Tarn Nam Lai Temple separate from Suan Mokkh, by letting Suan Mokkh continue its liberal ways and remain unobstructed by temple regulations. In that way to also avoid conflicts within the order of Monks. The operations in both parts continued smoothly until eventually they were combined together. 

The landscape architecture found within Suan Mokkh gives great precedence to nature. All of the architecture, sculptures, paintings and literary works go together harmoniously with nature, demonstrating deep Buddhist Dharma in simple ways, intending to let Suan Mokkh grow into a place where people can come and search for peace whilst studying the Dharma. The Monks school is located in a naturally beautiful garden, in a pleasant shady atmosphere which is very suitable for Dharma meditation. An important place within Suan Mokkh is “the theater for the soul” which has a collection of pictures, poetry, art paintings, Dharma tales or principles from different Buddhist directions, pictures of the Lord Buddha’s biography, duplicates of stone carved pictures, the Lord Buddha’s biography in India, the Mokkhbalalai Library, the curved ground stone, the Dharma Wareenawa Issara Kulanalimita, the Picture Molding Hall, the Dharma Sala Hall and the Naliker Sala. 

Today, Suan Mokkh continues to maintain Buddhadasa’s intentions. Suan Mokkh has still not changed from what it was before; it is kept in a very good condition. The areas within Suan Mokkh are shaded, therefore making it a suitable place to practice one’s meditation and study of Buddhism. There are also meditation courses for foreigners.