อุโบสถวัดสามแก้ว
อุโบสถวัดสามแก้ว
ที่ตั้ง หมู่ 1 ตำบลนาชะอัง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
ผู้ครอบครอง วัดสามแก้ว
ปีที่สร้าง พ.ศ.2468
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2552
ประวัติ
วัดสามแก้วตั้งอยู่บนเนินเขาเตี้ยๆ ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2468 โดยพระธรรมวโรดม (เซ่ง อุตฺตโม) วัดราชาธิวาส ครั้งยังเป็นพระธรรมโกษาจารย์ กับหลวงศรีสุพรรณดิฐ (เผียน ชุมวรฐายี) ครั้งยังเป็นนายอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร พร้อมด้วยชาวบ้าน ได้เริ่มถางป่าอันรกร้างและได้สร้างที่อยู่ชั่วคราวสำหรับพระสงฆ์และสามเณร จัดให้พระสงฆ์ได้อยู่จำพรรษาหลังจากนั้นมีการสร้างอุโบสถ เสนาสนะ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ตามมา นอกจากนี้ ในพื้นที่เนินเขายังมีการขุดพบลูกปัดต่างๆและกลองมโหระทึก โดยกรมศิลปากรได้ประมาณอายุว่า มีอายุประมาณ 1,700 – 2,000 จึงสันนิษฐานว่าบริเวณเนินเขาที่ตั้งวัดสามแก้วนี้ อาจเป็นที่ตั้งเมืองโบราณที่มีอายุเก่าแก่แห่งหนึ่ง
อุโบสถวัดสามแก้ว เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ตัวอาคารมีลักษณะคล้ายกล่องสี่เหลี่ยม ลักษณะทางสถาปัตยกรรมมีการผสมผสานระหว่างตะวันตกและไทย จุดเด่นของอุโบสถ คือ หลังคาแบน ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หางหงส์แต่มีคันทวย ด้านหน้าและด้านหลังอุโบสถมีมุขโถงเหนือกันสาดเป็นช่องกระจกสำหรับแสงสว่างส่องเข้าภายใน ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือพระยาอนุศาสน์จิตรกร ช่างหลวงคนสำคัญในรัชกาลที่ 6 ภาพเขียนแบ่งเป็นสามตอนตอนบนสุดเป็นภาพเทพพนมทั้งเทพบุตรและเทพธิดา ตอนกลางเป็นภาพเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ ได้แก่ ท้าวจัตุโลกบาล เทวดานพเคราะห์ คณะเทพ และพระโพธิสัตว์ และตอนล่างสุดตามช่องผนังระหว่างเสาและบานประตูหน้าต่างเป็นภาพพุทธประวัติ ผนังด้านหน้าเป็นภาพแม่ธรณีบีบมวยผมขนาดใหญ่ ฝีมืองดงามมาก
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อุโบสถ วัดสามแก้ว ได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดีทั้งจากเจ้านายและราษฎรทั่วไป ตัวอย่างเช่นเจ้านายในราชสกุลเทวกุลเคยซื้อที่ดินบริเวณวัดสามแก้วนี้ ปลูกสร้างเป็นที่พำนักในคราวลี้ภัยจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ. 2475 และเจ้านายบางพระองค์ในราชสกุลนี้ได้สละทรัพย์ส่วนพระองค์ทะนุบำรุงวัดนี้ด้วย ซึ่งยังปรากฏพระนามในอุโบสถอยู่จนทุกวันนี้
วัดสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
วัดสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
วัดสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
วัดสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
วัดสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
วัดสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
วัดสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
วัดสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
-
วัดสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
-
วัดสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
-
วัดสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
-
วัดสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
-
วัดสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
-
วัดสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
-
วัดสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
-
วัดสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร
Wat Sam Kaeow
Location Mu 1, Tambon Na Cha-Ang, Amphoe Mueang, Chumporn Province
Proprietor Wat Sam Kaeow
Date of Construction 1925
Conservation Awarded 2009
History
Wat Sam Kaoew is a Thammayud sect temple situated on a small hill. In 1925, Phra Tham Warodom (Seng Ututom) from Wat Raja Thiwat, together with Luang Srisupadit, cooperated with the villagers in building the temple. The location around Wat Sam Kaeow is assumed to be dating back to 1,700-2,000 years ago by the Beads and bronze drums archeologist discovered from the grounds of the ancient town in the area, which are similar to ones founded in Sumui district in Surat Thani province.
The Ubosatha (Ordination Hall) is built by ferro concrete structure of an rectangular plan. Its architecture is a combination of Western and Thai style with the distinctive point of its flat roof, no traditional roof adornment like other Ubosatha. Corbel and Porch that extends from the building together with void above canopy decorated with glass panels. Inside the ubosatha, there are Thai murals, which were painted by Phraya Anusart Jittakorn, a skillfull royal artist back in the reign of King Rama IV. The murals are divided into three parts. The Theppanom divinities of both male and female are founded at the top. The mural images in the middle are Brahmanism; Thao Chatulokaban (the four guardians of the world), nine guardians of heaven, divinities and Bodhisattva. The lower paintings along the poles and panes are images of biography of Lord Buddha. The front wall is decorated with the artisticly skilled image of the large Mae Phra Thorani (mother earth, in female form, squeezing her hair).
Up to the present Wat Sam Kaeow’s Ubosatha has been well maintained from both the monks and public.