อาคารสถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
อาคารสถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
ที่ตั้ง ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผู้ครอบครอง การรถไฟแห่งประเทศไทย
ปีที่สร้าง พ.ศ.2457
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2555
ประวัติ
สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทองถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานีเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟนครศรีธรรมราช สถานีรถไฟชุมทาง ทุ่งสง และสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ และใช้เป็นสถานีเติมน้ำและฟืนสำหรับรถจักรไอน้ำจนถึงปี พ.ศ.2525 เมื่อการรถไฟ แห่งประเทศไทยได้ยกเลิกการใช้รถจักรไอน้ำ เดิมเรียกว่าสถานีรถไฟสามแยกนคร ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทองตามคำแนะนำของกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ปัจจุบันสถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทองเป็นสถานีรถไฟชั้น 2 ภายในย่านสถานีประกอบด้วยอาคารสถานีรถไฟ บ้านพักพนักงาน หออาณัติสัญญาณ สะพานเหล็กข้ามทางรถไฟ อาคารที่ทำการแขวงบำรุงทาง และห้องแถวไม้ให้เช่าของการรถไฟแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ของสถานีรถไฟ ยังมีชุมชนที่อยู่อาศัยดั้งเดิมตั้งอยู่ด้วย
อาคารสถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทองเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว หลังคาแฝดวางขนานไปกับทางรถไฟประกอบด้วย ส่วนสถานีและส่วนชานชาลา ผังพื้นส่วนสถานีเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ช่วงเสา ยาว 5 ช่วงเสา ประกอบด้วยห้องควบคุมการเดินรถ ห้องทำงานนายสถานี ห้องขายตั๋ว และโถงพักคอย หลังคาส่วนสถานีเป็นหลังคาจั่วผสมปั้นหยา ส่วนชานชาลาเป็นหลังคาจั่ว ทั้งหมดมุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ ประตูและหน้าต่างเป็นบานลูกฟักไม้ เหนือบานประตูและหน้าต่างเป็นเกล็ดไม้ระบายอากาศ
อาคารสถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทองเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเนื่องจากได้รับการออกแบบที่สอดคล้องกับ การใช้สอยและสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นในประเทศไทย รวมทั้งความงามที่มีการผสมผสานศิลปะแบบตะวันตก โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดูแลรักษาอาคารสถานีรถไฟให้อยู่ในสภาพที่ดี และยังคงบทบาทสำคัญในการรองรับผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า
สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
-
สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
-
สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
-
สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
-
สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
-
สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
-
สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
-
สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
-
สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
-
สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง
Khao Chum Thong Junction Railway Station Building
Location Tambon Khuan Koei, Amphoe Ron Phibun, Nakhon Si Thammarat Province
Proprietor State Railway of Thailand
Date of Construction 1914
Conservation Awarded 2012
History
Khao Chum Thong Junction Railway Station, formerly called Sam Yak Nakhon Railway Station, was built to be a junction between Nakhon Si Thammarat Railway Station, Thung Song Junction Railway Station and Had Yai Junction Railway Station as well as to supply water and firewood for stream engines. King Rama VI renamed the station as “Khao Chum Thong Junction Railway Station”. Presently, it has been a second grade station consisting of the station building, the residence of officers, the signal tower, theiron bridge across the railway, the office for railway maintenance and a row of wooden houses for renting. In the North and South of the station is a residence of an old community.
The railway station is a single storey wooden building with twin roofs consisting of the station part and the platform. The plan is in a rectangular pattern. There are a control room, an office, a ticket room and a hall for passengers. The station part has the gable hip roof while the platform has a gable roof covered with curved tiles. Above the doors and windows are wooden louvers for ventilation.
The building has a unique architecture because it is designed to meet the function and the tropical climate in Thailand. The beauty of the building is a blend art style of the western style. The State Railway of Thailand has maintained the building in good condition. Khao Chum Thong Junction Railway Station still has an important role on transportation of both passengers and cargo.