อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

ค้นหา

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสงขลา

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติสงขลา

ที่ตั้ง ถนนวิเชียรชม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

สถาปนิก / ผู้ออกแบบ ช่างชาวจีนไม่ปรากฏชื่อ

ผู้ครอบครอง สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

ปีที่สร้าง พ.ศ. 2421

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2550

ประวัติ

อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมถนนวิเชียรชมตัดกับถนนจะนะ เดิมเป็นบ้านของพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2421 ตรงกับสมัยของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หลังจากที่ท่านและครอบครัวพักอาศัยได้เพียง 16 ปี ทางราชการได้ซื้ออาคารหลังนี้จากบุตรพระยาสุนทรานุรักษ์ (เอม ณ สงขลา) และใช้เป็นที่ศาลาว่าการมณฑลนครศรีธรรมราช ระหว่างปี พ.ศ. 2439 – 2460 และต่อมาได้ใช้เป็นศาลากลางจังหวัดสงขลา จนถึงปี พ.ศ. 2496  หลังจากนั้นอาคารหลังนี้ไม่ได้มีการใช้สอยและถูกทิ้งร้างจนกระทั่งกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในปี พ.ศ.2516  หลังจากนั้นกรมศิลปากรได้บูรณะอาคารเพื่อใช้เป็นอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จ พระราชดำเนินเป็นประธานเปิดอาคารหลังนี้อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2525  อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เป็นสถานที่จัดแสดงเกี่ยวกับโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม และศิลปะพื้นบ้านของจังหวัดสงขลา และพื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งสิ่งของเครื่องใช้ของตระกูล ณ สงขลา

อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เป็นอาคาร 2 ชั้น ประกอบด้วยอาคารจำนวน 4 หลังเชื่อมต่อกันด้วยระเบียงโดยรอบผังพื้นอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบสมมาตร มีคอร์ทกลางเปิดโล่งและมีบันไดภายในขึ้นชั้นบน รูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคารเป็นแบบจีนผสมผสานอิทธิพลตะวันตกดังจะเห็นได้จากซุ้มทางเข้าและบันไดโค้งขึ้นทางด้านหน้าอาคารทิศตะวันตก ตัวอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาและเครื่องบนเป็นไม้แบบจีน ตกแต่งสันหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผาปรุลาย หน้าจั่วทำปูนปั้นยื่นแหลมแบบที่เรียกว่าหางนกนางแอ่น ประดับจั่วด้วยปูนปั้นเป็นลวดลายสัญลักษณ์มงคลแบบจีน ทาสีตกแต่งอย่างงดงาม กระเบื้องมุงหลังคาเป็นกระเบื้องดินเผาแผ่นโค้ง ซ้อนชั้นเป็นแถบหนาแบบจีน

อาคารหลังนี้ได้รับการบูรณะครั้งล่าสุดในระหว่างปี พ.ศ. 2553 – 2554 ทำให้อาคารมีสภาพที่สมบูรณ์ และด้วย ตัวอาคารตั้งอยู่กลางเมืองมีพื้นที่โดยรอบกว้างขวาง สามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก อีกทั้งในปัจจุบันบริเวณด้านข้างอาคารฝั่งทิศใต้จะเป็นแนวกำแพงเมืองเก่าซึ่งเทศบาลนครสงขลา ได้ทำการบูรณะ และประดับประดาไฟแสงสว่างทั่วทั้งบริเวณกำแพง และถนนหน้าอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา อย่างสวยงาม อาคารนี้จึงมักจะถูกใช้เป็นพื้นที่สำหรับจัดเทศกาลงานเมืองที่สำคัญๆ อยู่เสมอ

Songkhla National Museum

Location 13 Wichianchom Road, Tambon Bo Yang, Amphoe Mueang, Songkhla Province

Architect / Designer an anonymous Chinese Craftsman

Proprietor Office of National Museums, Fine Arts Department, Ministry of Culture

Date of Construction 1878

Conservation Awarded 2007

History

Songkhla National Museum was originally a residence of Phraya Suntharanurak (Net Na Songkhla), Songkhla administrator. The house was built in 1878, during the reign of King Rama V, and served several functions. After Phraya Suntharanurak and his family had resided here for 16 years, the government bought this house to function as Monthon Nakhon Si Thammarat Administrative Hall from 1896 to 1917 before converting to Songkhla Provincial Hall until 1953. The building was subsequently deserted for 20 years then the Fine Arts Department registered this building as a National Monument in 1973 and renovated it to serve as a National Museum. H.R.H. Crown Prince Maha Vajiralongkorn presided over the Opening Ceremony on 25th September 1982. SongkhlaNational Museum has its main objectives to preserve and exhibit archaeological history, local arts and traditional culture of Songkhla and neighboring Southern region of Thailand, as well as valuable ancient objects including personal belongings of Na Songkhla family.

The museum features a symmetrical rectangular plan, facing west towards Songkhla Lake. Inside of the building is an open courtyard where a staircase leading to the upper floor stands. It also reflects Chinese architecture with some Western influences as perceived from an arch entrance, curved front staircases, brickmasonry walls and the authentic Chinese roof structure made of timber. Furthermore, there present openwork terracotta tiles on roof ridges in which projected ridge ends were created in “swallow tail” (Hang Nok Nang An) style. Its slightly curved roof tiles were also laid in Chinese style with painted stuccos in Chinese auspicious symbols adorning the top of gables.