อาคารห้องสมุดพร้อมปัญญาเรือนจำจังหวัดน่าน
อาคารห้องสมุดพร้อมปัญญาเรือนจำจังหวัดน่าน
ที่ตั้ง เลขที่ 28 ถนนผากอง ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
ผู้ครอบครอง กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม
ปีที่สร้าง พ.ศ. 2456
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2550
ประวัติ
อาคารห้องสมุดพร้อมปัญญาเดิมเป็นเรือนนอนผู้ต้องขังชายของเรือนจำจังหวัดน่าน สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2456 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งตรงกับสมัยเจ้าผู้ครองนครน่าน คือ เจ้าสุริยพงศ์ผริตเดช อาคารหลังนี้ใช้เป็นเรือนนอนผู้ต้องขังชายเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2508 หลังจากนั้นอาคารหลังนี้ได้รับการปรับปรุงเป็นอาคารโรงเรียนผู้ใหญ่นันทานุเคราะห์เพื่อให้การศึกษาแก่ผู้ต้องขัง มีพิธีเปิดใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2508 ต่อมาในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 48 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2546 กรมราชทัณฑ์ได้มีนโยบายให้เรือนจำทั่วประเทศจัดสร้างห้องสมุดเรือนจำเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ทางจังหวัดน่านและเรือนจำจังหวัดน่านโดย ดร.สุวัฒน์ โชคสุวัฒนสกุลผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน และนายประเสริฐ ป้ำกระโทก ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดน่านจึงได้ร่วมกันดำเนินการปรับปรุงอาคารโรงเรียนผู้ใหญ่นันทานุเคราะห์เป็นห้องสมุดเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขนานนามใหม่ว่า ห้องสมุดพร้อมปัญญา โดยในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารหลังนี้
อาคารห้องสมุดพร้อมปัญญาเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น หลังคาจั่วมุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบ โคโลเนียล ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีบันไดทางขึ้นตรงกลางอาคาร 5 ขั้น ด้านหน้าอาคารทั้งชั้นล่างและชั้นบนมีระเบียงยาวเชื่อมตลอดทั้งอาคาร ราวระเบียงชั้นล่างก่ออิฐทึบ ส่วนราวระเบียงชั้นบนเป็นไม้ตีเป็นลายตาราง ระหว่างเสารับระเบียงด้านหน้าซึ่งมี 9 ต้นทั้งชั้นล่างและชั้นบนมีแผงกันแดดเป็นบานเกล็ดแบบเรียบง่าย ตรงกลางอาคารเป็นบันไดไม้ขึ้นลงระหว่างชั้น จากโถงบันไดไปทางซ้ายขวาเป็นปีกอาคาร แต่ละปีกมี 6 ห้อง พื้นที่ใช้สอยชั้นล่างของอาคารประกอบด้วย ห้องเรียน 2 ห้อง ห้องตัดผมห้องศูนย์การเรียนรู้ห้องสำนักงาน และห้องพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเรื่องราวของเรือนจำจังหวัดน่านในอดีต ประกอบด้วยเครื่องดับเพลิงสมัยโบราณ ครกสำหรับประกอบอาหาร แตรนอน และหุ่นแสดงการลงทัณฑ์ในสมัยโบราณ ส่วนพื้นที่ชั้นบนมีห้องสมุด 3 ห้อง ห้องพัฒนาจิตใจ ห้องโสตทัศนูปกรณ์ และห้องเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยจัดแสดงพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ หนังสือพระราชนิพนธ์ และประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องในวันเสด็จทรงเปิดห้องสมุดพร้อมปัญญา นอกจากนี้ยังมีห้องเก็บของใต้หลังคาอีกด้วย
อาคารห้องสมุดพร้อมปัญญานับว่าเป็นอาคารอนุรักษ์ที่ได้ใช้ประโยชน์ด้านการศึกษาอย่างมีคุณค่า ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และเป็นรากฐานให้กับอนาคตของผู้ต้องขังตามนโยบายของทางเรือนจำจังหวัดน่านที่ได้ริเริ่มและดำเนินการมาโดยตลอด
เรือนจำน่าน
เรือนจำน่าน
เรือนจำน่าน
เรือนจำน่าน
-
เรือนจำน่าน
-
เรือนจำน่าน
-
เรือนจำน่าน
-
เรือนจำน่าน
Phrom Panya Library, Nan Provincial Prison
Location 28 Pha Kong Road, Amphoe Mueang, Nan Province
Proprietor Department of Corrections, Ministry of Justice
Date of Construction 1913
Conservation Awarded 2007
History
Nan Provincial Prison was built in 1913, during the reign of King Rama VI when Chao Suriya-phongpharitdet was the ruler of Nan. The prison served as a male prisoner resident until 1965 and then changed to a school building for the male prisoners.
The building has it opening ceremony on October 1, 1965. Later, on the occasion of H.R.H. Princess Maha Chakri Sirindhorn’s 48th Birthday Anniversary, 2ndApril, 2003, Department of Corrections had a policy for every prison to establish a library in commemoration to the auspicious event. The Nan Province and Nan Provincial Prison by Dr. Suwat Choksuwatthanasakun, the Governor and Mr. Prasoet Pamkrathok, Prison Director, have cooperated in renovation of the Nathanukhro School building to be used as a H.R.H. Princess Maha Chakri Sirindhorn Commemoration Library, which was named “Phrom Panya Library”.
The library building is 2-storey, brick masonry structure, Colonial Architecture with cement tiles roofing, grid-patterned latticework balustrades, and simple louver sunshades. Phrom Panya Library comprises reading room, multi-media room, primary level classroomsand Knowledge Promotion Project, gathering room for lower secondary levels and higher secondary levels, men haircutting training room, museum, learning centre, and office. Therefore, the building has served educational purpose that will enhance the value of the prisoners’ life and form a basis to their future by education as has been the policy that the prison has initiated and carried out continuously.