อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

ค้นหา

พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์

พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์

ที่ตั้ง  พระราชวังสนามจันทร์  อำเภอเมือง  จังหวัดนครปฐม

สถาปนิก/ผู้ออกแบบ  สันนิษฐานว่าสถาปนิกคือ หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร  กฤดากร

ผู้ครอบครอง  มหาวิทยาลัยศิลปากร  วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

ปีที่สร้าง  พ.ศ. 2460

ปีที่ได้รับรางวัล  พ.ศ. 2540

ประวัติ


พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์มีรูปทรงคล้ายปราสาทขนาดเล็ก  อิทธิพลสถาปัตยกรรมแบบโรแมนติคของอังกฤษ ช่วงคริสตศตวรรษที่ 19  ตัวอาคารเป็นตึก 2 ชั้น  ชั้นบนเป็นห้องที่ประทับ ชั้นล่างเป็นห้องรอเฝ้า และเคยเป็นที่ทำการชั่วคราวของหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักนี้ขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประทับในช่วงเวลาที่มีการประลองยุทธเสือป่า  สันนิษฐานว่าสถาปนิกไทยคือ หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรร  กฤดากร เป็นผู้ออกแบบพระตำหนักนี้สร้างขึ้นคู่กับพระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์  เชื่อมต่อกันด้วยฉนวน ซึ่งเป็นสะพานข้ามคลองในบริเวณพระราชวังสนามจันทร์  ทั้งสองตำหนักนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับแรงบันดาลใจจากบทละครเรื่อง “My Friend Jarlet” ประพันธ์โดย Arnold Golsworthy และ E.B. Norman  ซึ่งพระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่เป็นภาษาไทย ใช้ชื่อว่า “เพื่อนตายและมิตรแท้”  ชื่อพระตำหนัก “ชาลีมงคลอาสน์”ก็ดัดแปลงมาจากชื่อตัวเอกของเรือง คือ Jarlet หรือ ยาร์เลต์  ชื่อ “ย่าเหล” สุนัขตัวโปรดของพระองค์ก็แผลงมาจากชื่อยาร์เลต์เช่นเดียวกัน  ด้านหน้าพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์มีประติมากรรมสำริดรูปย่าเหล  ออกแบบโดยนายแอร์โกเล  มันเฟรดี (Ercole  Manfredi)  สถาปนิกชาวอิตาลี


ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อทรงยกพระราชวังสนามจันทร์ให้มณฑลนครไชยศรี ใช้เป็นสถานที่ราชการแล้ว  กระทรวงมหาดไทยได้เสนอกระทรวงวังให้จัดพระตำหนักนี้ไว้เป็นที่ประทับ  ต่อมาเมื่อมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ขยายวิทยาเขตมาที่พระราชวังสนามจันทร์ ก็ได้เป็นผู้ดูแลพระตำหนักต่อมา และได้ดำเนินการบูรณะในช่วงปี พ.ศ. 2535 – 2536  จากนั้นได้จัดตั้ง พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ขึ้นเป็นพิพิธภัณฑ์

 

Phra Tamnak Chalimongkhon-at

Location Sanamchan Palace, Amphoe Mueang, Nakhon Pathom Province Architect/Designer Mom Chao Itthithepsan Kridakorn (assumption)

Proprietor Silpakorn University

Date of Construction 1917 AD.

Conservation Awarded 1997 AD.

History

Phra Tamnak Chalimongkhon-at (Chalimongkhon-at Pavilion), a principal structure in Sanamchan Palace compound, is featured like a small castle. The architecture is influenced by English Romantic style of 19th century. It is 2-storey, the upper floor was the King’s private quarter, and on the ground floor were waiting room for the King’s audience and a temporary office of Dusit Samit newspaper.


King Rama VL’s had this pavilion built for his accommodation during his supervision of the Scouts military exercise. It is believable that Thai architect, Mom Chao Itthithepsan  Kridakorn, was the designer. The pavilion was built along with the Phra Tamnak Marirat Rattaballang, which is connected to this building by a bridge across a canal. The founding of these two pavilions was inspired by a play “My Friend Jarlet”, written by Arnold Golsworthy  and  E.B.  Norman, that the King translated into Thai version named “Phuean Tai Mit Thae” (True Friend). The name “Chalimongkhon-at” was also adapted from “Jarlet”, which was the name of the hero in the story, as well as his favorite dog’s name “Yalei”. In front of the pavilion stands a sculpture of Yalei on high pedestal. The sculpture was designed by Mr. Ercole Manfredi, an Italian architect.


In the reign of King Rama VII, the Sanamchan was granted to Monthol Nakhonchaisi and the Ministry of Interior had the pavilion renovated to serve as a royal residence. Later, it became part of Silpakorn University, Sanamchan Palace Campas and the university has taken care of the maintenance. The pavilion was restored in 1992, and has been rehabilitated as a museum.