Pa Prank Hostel (Hostel)
Pa Prank Hostel (Hostel)
2020 ASA ARCHITECTURAL DESIGN
COMMENDED AWARD FOR THE PROJECT WITH APPEALING ASPECTS
รางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น ปี 2563
ที่ตั้ง เขตพระนคร กรุงเทพฯ
สถาปนิก/ผู้ออกแบบ IDIN Architects Co., Ltd.
ผู้ครอบครอง ...
ปีที่สร้าง/แล้วเสร็จ พุทธศักราช ...
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2563
ประวัติเพิ่มเติม ที่เว็บไซต์สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
โครงการนี้เป็นการปรับการใช้สอย (adaptive reuse) โดยใช้โครงสร้างของตึกแถวสองหน่วยที่แพร่งสรรพศาสตร์มาออกแบบเป็นโรงแรมแบบ hostel ความน่าสนใจของโครงการนี้อยู่ที่การปรับเปลี่ยนรูปแบบผังพื้นและที่ว่างของตึกแถวโดยทั่วไป โดยยอมเสียพื้นที่ใช้สอยอาคารหนึ่งคูหาเพื่อเปิดเป็นคอร์ทขนาดเล็ก นำแสงเข้ามาทำให้เกิดความสว่างตลอดความลึกของอาคาร และทำให้เกิดความรู้สึกที่โปร่งสบายซึ่งช่วยให้พื้นที่ใช้สอยรวมต่างๆ ในอาคารมีชีวิตชีวามากขึ้น ประเด็นที่โครงการนี้น่าจะยังพัฒนาได้ส่วนหนึ่งคงจะเป็นเรื่องการระบายอากาศทั้งในห้องพักรวมและพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากคอร์ทในการสร้างสภาวะน่าสบายได้อย่างเต็มที่ และการใช้พื้นที่ทางสัญจรไม่เต็มศักยภาพ (พื้นที่ระเบียงทางเดินไม่สามารถใช้สอยอย่างอื่น เช่น การนั่งพักหรือทำงานเพื่อใช้ประโยชน์จากแสงสว่างและความเปิดโล่งเพื่อชดเชยความมืดทึบของห้องนอน เป็นต้น)
รูปลักษณ์ด้านหน้าของอาคารนั้น มีการดึงองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของย่าน คือบานหน้าต่างเกล็ดมาใช้ โดยเปลี่ยนเป็นวัสดุเหล็กสีดำที่แตกต่างออกไปจากลักษณะของตึกก่ออิฐถือปูนในย่านนั้น เป็นการสร้างอัตลักษณ์จากการเปรียบต่าง สร้างบทสนทนาทางสถาปัตยกรรมได้อย่างน่าสนใจ
Adaptive reuse transformation of two units of typical shophouses within the historical area, Phraeng Sanphasat. The reorganization of typical cellular plan is a commendable one. Half a unit was sacrificed to create an atrium space bringing light and openness into the deep corner, thus injecting new vibrancy into the common spaces, i.e., circulation route, social spaces, exhibition areas etc. The over-reliance of HVAC system for the guest rooms seems to be the weak point of the project. In some rooms, guests sleep in the room devoid of daylight. Circulation routes could have been exploited as grey space. Living experience could be improved drastically if guests could relax on the corridors with seatings for relaxation and casual meeting in daylight.