Inter Crop Group Building (Office)
Inter Crop Group Building (Office)
2020 ASA ARCHITECTURAL DESIGN
GOLD AWARD
รางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น ปี 2563
ที่ตั้ง พระราม 6 กรุงเทพฯ
สถาปนิก/ผู้ออกแบบ Stu/D/O Architects Co., Ltd.
ผู้ครอบครอง Inter Crop Group
ปีที่สร้าง พุทธศักราช 2561 (ค.ศ.2018)
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2563
ประวัติเพิ่มเติม ที่เว็บไซต์สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
โดยทฤษฎีแล้วที่ตั้งอาคารแต่ละแห่งมีคุณลักษณะเฉพาะตัวในแง่ของบริบทของเมืองและบริบทเชิงสถาปัตยกรรม รวมทั้งสภาพภูมิอากาศ แสง เงา เสียง และทิศทางลม เมื่อพิจารณาสิ่งเหล่านี้สถาปนิกก็มักจะพบแบบแผนบางประการที่จะนำไปสู่รูปทรงอาคารต่อไป
อาจกล่าวได้ว่าอาคารสำนักงาน Inter Crop เป็นผลงานที่สะท้อนแนวคิดดังกล่าวอย่างลงตัว เนื่องจากธุรกิจหลักของบริษัทคือผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สถาปนิกจึงได้นำรูปแบบของนาขั้นบันไดมาใช้เทียบแทนในการสร้างรูปทรงทางสถาปัตยกรรม กล่าวคือแทนที่อาคารจะเป็นก้อนขนาดใหญ่ที่มีผิวผนังต่อเนื่องเป็นระนาบขนาดใหญ่อย่างอาคารสำนักงานที่พบได้ทั่วไป สถาปนิกใช้แนวคิดนาขั้นบันไดมาแตกมวลอาคารเป็นชั้นๆ ยักเยื้องกัน การดึงมวลอาคารแต่ละชั้นให้เยื้องเหลื่อมกันนี้เองนอกจากจะสะท้อนความต้องการพื้นที่ใช้สอยที่แตกต่างกันไปในแต่ละชั้นแล้ว ยังทำให้เกิดพื้นที่ภายนอกในรูปของชาน ระเบียง และสวน ซึ่งช่วยเสริมบรรยากาศและสุขภาวะของการทำงาน และยังเกิดเป็นส่วนยื่นที่ช่วยบังแดดให้กับอาคารบางส่วนได้อีกด้วย
นอกจากนี้ การสร้างมวลอาคารที่แยกย่อยยักเยื้องกันนี้ยังทำให้ผสานเข้ากันได้อย่างดีกับบริบทของชุมชนพักอาศัยโดยรอบ เป็นการออกแบบที่แสดงการคำนึงถึงความเชื่อมต่อกับบริบทเมือง แต่ก็ยังเป็นรูปทรงที่เป็นเอกลักษณ์ชัดเจนเพียงพอจนสามารถรับรู้ได้เมื่อสัญจรผ่านด้วยความเร็วบนทางด่วนศรีรัชที่ไม่ไกลจากโครงการ ในแง่ของการจัดวางที่ว่างภายในอาคาร
การเปิดช่องโล่งสูงสี่ชั้นบริเวณโถงบันไดด้านหน้าของอาคารทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างชั้นทั้งในด้านกายภาพและความรู้สึก ทำให้รู้สึกถึงความโล่งสูงและกว้าง ส่งให้องค์ประกอบของระบบที่ว่างโดยรวมมีชีวิตชีวาขึ้น พื้นที่สวนที่ชานภายนอกอาคารที่เกิดจากการเหลื่อมของมวลอาคาร ทำให้เกิดกิจกรรมภายนอกและเป็นพื้นที่ผ่อนคลายของพนักงานและส่งผลดีต่อการลดหรือควบคุมสภาวะเกาะความร้อนที่เป็นกำลังปัญหาใหญ่ในเมืองใหญ่ของเรา
นอกจากนี้ การใช้แผงกันแดดทางตั้งที่ออกแบบรายละเอียดโดยคำนึงถึงมุมมองจากภายในเป็นองค์ประกอบหลักของผิวอาคาร ก็ช่วยลดทอนแสงสะท้อนจากผนังกระจกออกไปยังพื้นที่โดยรอบได้เป็นอย่างดี และยังเป็นภาพจำที่เป็นเอกลักษณ์ของอาคารอีกด้วย
Contextually, each site contains its own specific qualities of urban context, architectural context, of sun and shade, and of sound and local breeze. Seek these out, the architect will discover promises of formal order that leads to the genesis of form. Given architectural brief of an agriculture related company HQ, the architect has devised the metaphor of stepped terraces of Paddy fields.
The skillful interpretation gives rise to proper scale and proportion of form. The stacking of floor plates allows different departments to occupy varying sizes of floor spaces per their specific requirements. On the outside, the building fragmented itself to blend in with the immediate context of residential precinct.
The glaring effect is also greatly reduced compared to a shining curtain wall building. Looking from afar at urban scale, the amalgamation of form also manifests itself at the right scale when perceived from the moving vehicles on Sirat Expressway. In terms of space planning, 4 level atrium space tying all floors together is a big plus, space wise and livability, to the whole composition.
The greening of terraces allows for outdoor activities and visual relief for office workers and contributes positively to the reduction of heat island for our metropolis.