อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

ค้นหา

ดิอัษฎางค์

ดิอัษฎางค์

ที่ตั้ง 94 - 94/1 ถนนอัษฎางค์ แขวงวังบูรพา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

สถาปนิก / ผู้ออกแบบไม่ปรากฏชื่อ

ผู้ออกแบบอนุรักษ์ ดิเรก - จิตรลดา เส็งหลวง

ผู้ครอบครอง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เช่าโดย ดิเรก - จิตรลดา เส็งหลวง

ปีที่สร้าง ราวปี พ.ศ.2449 ปี

ที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2555

ประวัติ

ดิอัษฎางค์ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้แบ่งพื้นที่ทำเป็นตึกแถวเพื่อการพาณิชย์ ตามพระบรมราโชบายการพัฒนาบ้านเมืองให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และเพื่อตอบสนองการขยายตัว ทางเศรษฐกิจการค้าของประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจะปรับปรุงบ้านเมืองให้สะอาดเรียบร้อย เป็นระเบียบสวยงาม โดยอาคาร เหล่าจะมีความสวยงามโดดเด่นเฉพาะตัว

ตัวอาคารตั้งอยู่บริเวณหัวมุมถนนบริเวณปากซอยพรยาศรี ริมคลองคูเมือง มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบโคโลเนียลโครงสร้างอาคารเป็นการก่ออิฐถือปูน หลังคาจั่วมุงกระเบื้องตัวอาคารมี 2 ชั้น มีมุข 3 ด้าน มุขแต่ละด้านจะประดับ สัญลักษณ์ของเทพ Hermes หรือ Mercury สัญลักษณ์ของการค้าและการเจรจาต่อรอง ประดับลวดลายปูนปั้นเป็นช่อมะกอก นอกอาคารตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นอย่างสวยงาม ปัจจุบันตัวอาคารได้ถูกเปลี่ยนจากอาคารพาณิชย์ในย่านการค้า มาเป็นบูติคโฮเตล ขนาด 7 ห้องภายใต้ชื่อ ดิอัษฎางค์

ผู้ครอบครองได้ทำการปรับปรุงอาคาร ได้ทำการปรับปรุงให้มีพื้นที่ใช้สอยอย่างลงตัวและกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมภายนอกและพยายามรักษารูปแบบดั้งเดิมของตัวอาคารไว้ให้มากที่สุด ทั้งโครงสร้างและวัสดุที่นำมาใช้ซ่อมแซม การตกแต่งภายในกลมกลืนกับภายนอกเป็นการผสมผสานกันระหว่างของเดิมกับการใช้งานในปัจจุบันซึ่งอยู่บนพื้นที่ประวัติศาสตร์ใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ได้อย่างลงตัว

 

The Atsadang

Location 94-94/1 Atsadang Road, Khwaeng Wang Burapha, Khet Phra Nakhon, Bangkok

Architect / Designer not find name Conservation

Designer Direk & Chitlada Sengluang

Proprietor The Crown Property Bureau Rented by Direk & Chitlada Sengluang

Date of Construction 1906

Conservation Awarded 2012

History

The Atsadang was constructed to serve as a commercial row building due to King Rama V’s royal policy to develop the city to be orderly arranged and prepare for economic expansion in the country. Hence the overall city in that period was well-organized and most buildings were attractive with outstanding characters.

Situated in the corner of Phonyasi Road, the Atsadang represents Colonial architecture whose structure was made of brick masonry and gable tiled roofs. The building is 2-storey having 3-side bays each of which was adorned by Hermes God, a symbol of commerce and negotiation. The exterior was also decorated with exquisite stucco all round. The Atsadang at present has been converted to a boutique hotel under the same name. The restoration was done by its current proprietor to improve the functionality, harmonize with surroundings and persist in the building’s original style. Therefore, all materials have been carefully selected and the decoration process was concerned about combining the recent hotel’s utility with its historical integrity of Rattanakosin period.