อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

อาคารคุ้มเจ้าราชบุตร

อาคารคุ้มเจ้าราชบุตร

ที่ตั้ง เลขที่ 79 ถนนมหาวงศ์ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

สถาปนิก / ผู้ออกแบบ เจ้าราชบุตร

ผู้ครอบครอง เจ้าสมปรารถนา ณ น่าน และเจ้าวาสนา ภู่วุฒิกุล (ณ น่าน)

ปีที่สร้าง พ.ศ. 2484

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2554

ประวัติ

อาคารคุ้มเจ้าราชบุตรถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2409 เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของเจ้าน้อยมหาพรหม ณ น่าน ต่อมาเมื่อเจ้าน้อยมหาพรหม ณ น่าน ได้รับการสถาปนาเป็นมหาอำมาตย์โท และนายพลตรีเจ้ามหาพรหมสุรธาดาเจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 64 จึงได้ยกคุ้มแห่งนี้ให้แก่บุตรชาย คือ เจ้าประพันธ์พงศ์ (เจ้าน้อยหมอกฟ้า ณ น่าน) ต่อมาเจ้าประพันธ์พงศ์ได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าราชบุตรในปี พ.ศ. 2469

หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2484 เจ้าราชบุตรได้สร้างอาคารคุ้มเจ้าราชบุตรหลังปัจจุบัน โดยใช้ไม้ที่รื้อจากคุ้มเดิมของเจ้ามหาพรหมสุรธาดามาปลูกสร้างใหม่ในตำแหน่งเรือนเดิม โดยย่อขนาดลงจากหลังเดิม เมื่อเจ้าราชบุตรได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2501 อาคารคุ้มเจ้าราชบุตรหลังนี้จึงตกแก่ทายาท คือ เจ้าโคมทอง ณ น่าน ปัจจุบันเรือนหลังนี้อยู่ในความดูแลของเจ้าสมปรารถนา ณ น่านและเจ้าวาสนา ภู่วุฒิกุล (ณ น่าน)

อาคารคุ้มเจ้าราชบุตร เป็นเรือนไม้ 2 ชั้นยกพื้นสูง ประกอบด้วยเรือนพักอาศัยและเรือนครัว เชื่อมต่อด้วยชานแล่น มีบันไดทางด้านหน้าและด้านหลัง บันไดด้านหน้า มีซุ้มทางขึ้นเป็นซุ้มโค้งประดับลวดลายไม้ฉลุ พื้นที่ใช้สอยชั้นล่างประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์ห้องเก็บของ และบริเวณจัดแสดงของใช้ในบ้านโบราณ ส่วนพื้นที่ใช้สอยชั้นบนประกอบด้วยห้องโถง ห้องนอน พิพิธภัณฑ์ ห้องเตรียมอาหาร ห้องครัว และห้องน้ำ โดยมีระเบียงรูปตัวแอล (L) โอบล้อมห้องโถงและพิพิธภัณฑ์ทางด้านตะวันตก หลังคาหน้าจั่วหัวตัดมุงด้วยกระเบื้องว่าว ที่หน้าจั่วประดับด้วยลายไม้แกะสลักและฉลุลายเป็นรูปนาค 2 ตัว หันหน้าเข้าหากัน ตรงกลางเป็นลายดอกกลม ผนังภายนอกอาคารเป็นไม้แผ่นตีเข้าลิ้นในแนวนอน ลูกกรงระเบียงเป็นไม้ฉลุลาย หน้าต่างอาคารชั้นล่างเป็นบานลูกฟักไม้ ส่วนหน้าต่างอาคารชั้นบนเป็นบานลูกฟักไม้มีช่องแสงกระจกเหนือหน้าต่าง ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของอาคารเป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมตะวันตกและเรือนพื้นถิ่นที่มีความสวยงาม

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อาคารคุ้มเจ้าราชบุตรได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี ปัจจุบันเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ของเจ้าผู้ครองนครน่าน และวิถีชีวิตชาวน่านในอดีตสำหรับผู้สนใจซึ่งสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ โดยสิ่งของเครื่องใช้ที่นำมาจัดแสดงเป็นเครื่องทรงและเครื่องใช้ของเจ้าผู้ครองนครน่าน เช่น เครื่องยศพระราชทาน พระมาลากูบช้าง เครื่องครัว เครื่องใช้แบบพื้นเมือง เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องฉายภาพ ที่รีดผ้า และตู้เย็นโบราณที่ใช้น้ำมันก๊าด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีภาพถ่ายโบราณหลายภาพซึ่งล้วนมีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์จัดแสดงอยู่ด้วย

  

Chao Ratchabutr House

Location 79 Mahawong Road, Tambon Nai Wiang, Amphoe Mueang, Nan Province

Architect / Designer Chao Ratchabutr

Proprietor Chao Sompradthana Na Nan & Chao Wassana Puwuthikul (Na Nan)

Date of Construction 1941

Conservation Awarded 2011

History

The former Chao Ratchabutr House was built for the residence Chao Noi Mahaprom Na Nan in 1866. When he was appointed to be the ruler of Nan, he gave this house to his son who was promoted the title as Chao Ratchabutr in 1926. In 1941, he built the present current Chao Ratchabutr House by using wood from the demolition of the old one but smaller than the original size. When he passes away in 1958, the building was owned by his heir, Chao Komthong Na Nan. Presently, it belonged to Chao Sompradthana Na Nan and Chao Wassana Puwuthikul (Na Nan).

It is a 2 storey house with raised floor. There are stairs in the front and the back. The archentrance of the front stairs is decorated with wood carving. The first floor consists of a museum, a store and an exhibit room of ancient items. The upper floor consists of a hall, bedrooms, a museum room, a dining room, a kitchen and a bathroom. The L-shaped balcony is surrounded the hall and the museum in the West. The gable roof of woodwork is covered with kite shaped concrete roof tiles. The gable is decorated with wood carving in a design of 2 Nagas (serpent) facing each other. The beautiful architecture of the building is a mixture of the western and local art styles.

The house has been well preserved as a knowledge center of history of the rulers of Nan and the lifestyle in the past. The ancient items on display are traditional dresses and utensils used by the rulers as well as local appliances, which are very valuable for the history of the nation.