อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

วังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร (วังวิทยุ)

วังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร (วังวิทยุ)

ที่ตั้ง ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

สถาปนิก / ผู้ออกแบบ ชาลส์ เบเกอเเล็ง

ผู้ครอบครองทายาทราชสกุลรังสิต

ปีที่สร้าง ก่อสร้างเสร็จ พ.ศ. 2468

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2552

ประวัติ

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ต้นราชสกุลรังสิต ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กับเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์ ทรงเริ่มต้นการศึกษาที่โรงเรียนราชกุมารและเสด็จไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยไฮเดิลแบร์ค ประเทศเยอรมัน เมื่อรับราชการทรงเป็น ผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัย ต่อมาทรงเป็นอธิบดีกรมมหาวิทยาลัยคนแรกของสยาม ทรงเป็นอธิบดีคนแรกของ กรมสาธารณสุข และทรงวางรากฐานของกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบัน และในปี พ.ศ. 2489 ทรงเป็นประธาน คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระองค์ทรงสร้างวังวิทยุขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับและจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุที่ทรงสะสม ที่ดินริมถนนวิทยุขณะนั้นยังเป็นท้องนาชานเมืองมีอากาศบริสุทธิ์ จึงทรงว่าจ้างนายชาลส์ เบเกอเเล็ง สถาปนิกชาวสวิสให้ออกแบบตำหนักใหม่ในรูปแบบสถาปัตยกรรมสวิส – เยอรมัน เพื่อให้หม่อมเอลิซาเบธ พระชายาชาวเยอรมันรู้สึกเหมือนอยู่กับบ้าน ตำหนักนี้ก่อสร้างเสร็จ ในปี พ.ศ.2468 พระองค์ทรงออกแบบการตกแต่งภายในตำหนักเอง และทรงระบุให้สถาปนิกทำผนังหนา เพื่อป้องกันความชื้นจากภายนอก และเพื่อรักษาอุณหภูมิภายในให้สม่ำเสมอ และทรงนำฉากลายรดน้ำและศิลปะสะสมไทยต่างๆ มาประดับกับประติมากรรมและเครื่องเรือนจากยุโรปที่ทรงซื้อขณะศึกษาที่เยอรมนี เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2494 หม่อมเจ้าปิยะรังสิตรังสิต พระโอรสองค์โตและชายา คือ หม่อมเจ้าวิภาวดี รัชนี (ต่อมาได้รับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต) ได้ประทับที่วังวิทยุต่อมา

ปัจจุบันวังวิทยุอยู่ในกรรมสิทธิ์ของทายาทหม่อมเจ้าปิยะรังสิต ซึ่งได้ลงนามร่วมกันในบันทึกผู้จัดการมรดกว่าจะเก็บอนุรักษ์ศิลปะ โบราณวัตถุสะสมที่วังวิทยุไว้อย่างเดิม เพื่อเทิดพระเกียรติบรรพบุรุษและจะเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้บุคคลภายนอกเข้าชมได้ในอนาคตโดยมีหม่อมราชวงศ์ปรียนันทนา รังสิต เป็นผู้จัดการดูแลรับผิดชอบ ถือเป็นวังเจ้านายที่ยังคงอยู่ในสภาพสมบูรณ์เพราะราชสกุลรังสิตได้ดูแลรักษามาอย่างต่อเนื่อง โบราณวัตถุ เครื่องเรือน และการตกแต่งภายในก็ยังอยู่เหมือนเดิม ถึงแม้ว่าสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เพราะถนนวิทยุเป็นย่านธุรกิจในปัจจุบัน แต่วังวิทยุยังคงถูกอนุรักษ์ไว้ เพราะ ผู้ครอบครองเห็นว่ามรดกซึ่งได้รับสืบทอดมาจากบรรพบุรุษเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง และต้องการให้อนุชนรุ่นหลังได้รู้จักวิถีชีวิตของเจ้านายผู้ทรงเป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งวิถีชีวิตในอดีตนี้หาดูได้ยากปัจจุบันนี้

 

Somdet Phrachao Boromawongthoe Gromaphraya Chainatnarenthon’s Palace (Vitthayu Palace)

Location Witthayu Road, Khwaeng Lumpini, Khet Pathumwan, Bangkok

Architect / Designer Charles Berger Lang

Proprietor Rangsit royal family’s descendants

Date of Construction 1925

Conservation Awarded 2009

History

Somdet Phrachao Boromawongthoe Phra-ongchao Rangsitphrayunsak Gromaphraya Chainatnarenthon (or Prince Rangsit) was a son of King Rama V and Chao Chom Manda Momratchawong Nueang Sanitwong. Started his education at the Royal School in the Grand Palace and went to Heidelberg University in Germany, he later worked as the director of Ratchapattayalai School, Department of Universities and Department of Public Health in Siam.

Prince Rangsit had the Vitthayu Palace constructed to serve as his residence and showcase his antique collections. Its surrounding area at that time was still suburban rice fields. Thus he hired Mr. Charles Berger Lang, a Swiss architect, to design the palace in a Swiss-German style for his German wife, Mom Elizabeth, to feel accustomed as home and Prince Rangsit designed the interior himself. This palace features thick walls in order to prevent moisture damage from outside and to maintain consistent temperature inside. A Thai lanquer work backdrop (Lai Rot Nam) and various collectibles of Thai arts weredisplayed together with sculptures and furniture from Germany, presenting a blend of European and South East Asian design in a unique and attractive way.

Vitthayu Palace was completed in 1925. Prince Rangsit lived there with his family until his death in 1951. After that, HSH Piyarangsit Rangsit and his wife, Princess Wipawadi Rangsit, resided in the palace. At present Vitthayu Palace is the property of HSH Piyarangsit’s daughters, who have signed the heritage record stating that the ancient collectible objects will be kept in their original location to honor their ancestors and also that they should open a museum for visitors in the future. This palace remains the unique royal residence kept in perfect condition as the descendants of Rangsit family have consistently housed the antiques and interior furnishings. Although the Witthayu road of today became a crowded business area, the palace has been attentively well preserved. The need for new generations to percieve the historical heritage has been recognized; hence Vitthayu Palace remains a virtual treasure centre of Thai culture located in the heart of Bangkok.