บ้านชินประชา
บ้านชินประชา
ที่ตั้ง เลขที่ 98 ถนนกระบี่ ตำบลตลาดเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
ผู้ครอบครอง คุณจรูญรัตน์ ตัณฑวณิช
ปีที่สร้าง พ.ศ.2446
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2552
ประวัติ
พระพิทักษ์ชินประชา (ตันม้าเสียง) เป็นบุตรคนที่ 7 ของหลวงบำรุงจีนประเทศ (ตันเหนี่ยวยี) ผู้ซึ่งอพยพมาจากเมืองจีนเพื่อเข้ามาดำเนินการกิจการทำเหมืองแร่ดีบุกบนเกาะภูเก็ต และทำกิจการการค้าหลายอย่างบนเกาะปีนัง เมื่อหลวงบำรุง จีนประเทศเสียชีวิต พระพิทักษ์ชินประชาจึงได้สืบทอดกิจการต่อจากบิดา โดยท่านได้เปลี่ยนเครื่องมือมาใช้เครื่องจักรแทนการใช้กำลังคนเป็นผลให้กิจการเหมืองแร่ก้าวหน้าเป็นอย่างมาก จนได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาจากกรมโลหะกิจเกี่ยวกับการทำเหมืองแร่ และได้ถวายตัวเป็นข้าในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ต่อมาได้รับพระราชทานนามสกุล ตัณฑวณิช นอกจากนี้ ท่านยังได้บริจาคทรัพย์เพื่อสร้างอาคารให้แก่โรงเรียน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดโรงเรียนและได้พระราชทานชื่อว่า โรงเรียนตัณฑวณิชวิทยาคม (ภายหลัง คือ โรงเรียนสตรีภูเก็ต) เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความจงรักภักดีของผู้บริจาคทรัพย์เพื่อสร้างอาคาร
พระพิทักษ์ชินประชา ได้สร้างบ้านชินประชาสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2446 ช่วงปลายรัชกาลที่ 5 โดยจุดประสงค์เดิมเพื่อใช้เป็นเรือนหอของท่านเองแต่ท่านก็ไม่ได้ใช้ ต่อมาภายหลังได้ตกทอดเป็นของบุตรชาย คือ ขุนสถานพิทักษ์ หลังจากนั้นได้ตกทอดเป็นของบุตรชายขุนสถานพิทักษ์ คือ คุณประชา ตัณฑวนิช ปัจจุบันบ้านหลังนี้ครอบครองโดย คุณจรูญรัตน์ ตัณฑวนิช ภรรยาของคุณประชา ตัณฑวนิช หลังจากที่คุณประชา ตัณฑวนิช เสียชีวิต
ในปี พ.ศ. 2549 บ้านชินประชาเป็นบ้านก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นการผสมผสานระหว่างตะวันตกและจีน เดิมมีการยื่นมุข 2 ชั้น รูปครึ่งหกเหลี่ยมที่มุมด้านหน้าอาคาร ทั้ง 2 ข้าง ต่อมาได้พังทลายลง เจ้าของจึงปรับทางเข้าบ้านเป็นมุขหน้าจั่วชั้นเดียว ทางเข้าบ้านเป็นมุขหน้าจั่วชั้นเดียว ประตูทางเข้าเป็นประตูไม้ลงรักปิดทอง เหนือประตูทางเข้ามีแผ่นป้ายภาษาจีน บริเวณกลางบ้านเปิดโล่งเพื่อระบายอากาศ เฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านส่วนใหญ่เป็นแบบจีนซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ วัสดุที่ใช้ตกแต่งบ้านนั้นส่วนใหญ่จะนำเข้าจากต่างประเทศ
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คุณประชา ตัณฑวนิช และภรรยา ได้อนุรักษ์ตัวบ้านไว้เป็นอย่างดี และเปิดบ้านให้บุคคลทั่วไปเข้าชมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาวัฒนธรรม การใช้ชีวิตของชาวภูเก็ตในสมัยเมื่อร้อยปีที่ผ่านมา รวมทั้งได้จัดแสดงของเก่าที่น่าสนใจมากมาย เช่น เครื่องเรือน เครื่องใช้โบราณ ภาพถ่าย และภาพวาด เป็นต้น นอกจากนั้น บ้านชินประชายังได้เคยใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ทั้งในและต่างประเทศหลายเรื่องด้วยกัน นับเป็นแบบอย่างของความพยายามและความตั้งใจที่จะรักษาสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วยตัวเจ้าของเองอย่างน่าชื่นชม
บ้านชินประชา
บ้านชินประชา
บ้านชินประชา
บ้านชินประชา
บ้านชินประชา
บ้านชินประชา
-
บ้านชินประชา
-
บ้านชินประชา
-
บ้านชินประชา
-
บ้านชินประชา
-
บ้านชินประชา
-
บ้านชินประชา
Chinpracha House
Location 98 Krabi Road, Tambon Talat Nua, Amphoe Mueang, Phuket Province
Proprietor Pracha Tanthawanit
Date of Construction 1903
Conservation Awarded 2009
History
Phra Bhitak Chinpracha (Tan Ma Siang) was the owner of tin mines business in Phuket which inherited from his Chinese immigrant father. Due to its enormously increased growth, he was appointed Mining Advisor for the Metal Department and then gave himself to King Rama VI as a courtier and received the surname Tanthawanit.
The Chinpracha House was built in 1903 by Praya Bhitak Chinpracha in the late period of King Rama V reign. The house is 2 storey brick masonry building with Chino - Portuguese style. The entrance door is decorated with lacquer and gilding and there is Chinese charactersin doorplate. The center of the house was carefully designed to be opened air in order to create maximum ventilation. Almost all of furniture areinherited from an ancestral Chinese style and most of the materials used for the home furnishing were imported from overseas.
Today, Pracha Tanthawanit, the descendent of Phra Bhitak Chinpracha and his wifepreserve this house very well and open it to the public as a source of cultural and social studies in Phuket in the past one hundred years. It also exhibits many interesting antique furnishings such as home appliances, ancient utensils, photographs, paintings, etc. In addition, this house used to be the location for a lot of both Thai and foreign films. It is considered as a superb example of cultural architecture preservation with great effort and earnest intention of the owner.