อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

พุทธาวาส วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร

พุทธาวาส วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร

ที่อยู่ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

ผู้ออกแบบ -

ปีที่สร้าง -

ผู้ครอบครอง วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

ประวัติ

วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหารไม่ปรากฎหลักฐานการสร้างวัดที่แน่ชัด แต่มีตำนานปรากฏหลายเรื่องแต่เรื่องที่ทราบกันดี คือนิทานพื้นบ้านเรื่องพระยากง และพระยาพาน พ่อลูกที่ไม่เคยรู้จักกันต่อมาพระยาพานได้กระทำปิตุฆาต เมื่อรู้ความจริงจึงได้สร้างเจดีย์สูงเท่านกเขาเหิน ภายในบรรจุพระเขี้ยวแก้ว เพื่อเป็นการไถ่บาป พระเจดีย์องค์เดิม มีรูปลักษณะคล้ายบาตรคว่ำ สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างร่วมสมัยเดียวกับ เจดีย์สาญจี ประเทศอินเดีย ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

พระปฐมเจดีย์ถูกปล่อยให้ทิ้งร้างมาเป็นเวลานานจนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะยังทรงผนวชที่วัดราชาธิวาส ได้เสด็จธุดงค์มาที่เมืองนครปฐม ทรงพบองพระเจดีย์ ซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรมและอยู่ในป่ารก แต่ทรงเห็นว่าเป็นเจดีย์ที่มีความสำคัญ ทรงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเป็นองค์แรกของสยามประเทศ จึงทรงเรียกว่า พระปฐมเจดีย์

รูปแบบสถาปัตยกรรมของพระปฐมเจดีย์ เป็นเจดีย์กลม ทรงระฆัง ขนาดใหญ่ ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองทอง เหนือองค์ระฆังเป็นบัลลังก์ฐานสี่เหลี่ยม รองรับเสาหาร ปล้องไฉนและปลียอด มียอดเป็นนภศูร เหนือสุดเป็นมหามงกุฎพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า อาจเป็นเจดีย์แห่งแรกที่สร้างขึ้นของสยามประเทศ เมื่อคราวที่พระสมณทูต เดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังสุวรรณภูมิในพระเจ้าอโศกมหาราช

ในปีพ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ โดยให้สร้างเจดีย์องค์ใหญ่หุ้มเจดีย์องค์เดิม มีลักษณะตามที่เห็นในปัจจุบัน ต่อมาพ.ศ. 2518 บูรณปฏิสังขรณ์ทั้งองค์พระเจดีย์โดยกรมศิลปากร และดำเนินการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

สิ่งสำคัญอื่นในเขตพุทธาวาส วัดพระปฐมเจดีย์ พระวิหารทิศ ตั้งอยู่ติดกับพระระเบียงกลมล้อมรอบพระเจดีย์ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปตามเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติ คือ ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน เปรียบได้กับสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง

   พระวิหารทิศเหนือ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประสูติ

   พระวิหารทิศตะวันออก ประดิษฐานพระพุทธรูปปางตรัสรู้

   พระวิหารทิศตะวันตก ประดิษฐานพระพุทธรูปปางเสด็จปรินิพพาน

   พระวิหารทิศใต้ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา

พระวิหารพระร่วงโรจนฤทธิ์ ตั้งอยู่ด้านหน้าวิหารด้านทิศเหนือ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อประดิษฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ พระพุทธรูปยืนปางประธานอภัย (ห้ามสมุทร) ซึ่งโปรดให้หล่อขึ้นจากต้นแบบพระพุทธรูปโบราณที่พบที่เมืองศรีสัชนาลัย โดยจัดพิธีหล่อขึ้นที่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เมื่อ พ.ศ. 2456 และพระราชทานนามว่า พระร่วงโรจนฤทธิ์ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธปูชนียบพิตร พร้อมกับมีรับสั่งว่าเมื่อพระองค์สวรรคตแล้วให้บรรจุพระอังคารของพระองค์ไว้ใต้ฐานของพระร่วงโรจนฤทธิ์

พระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงออกแบบสร้างใหม่ทดแทนของเดิม แล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

ลักษณะเป็นอาคารผังสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีโถงด้านหน้า หลังคาทำเป็นมุขทะลุขื่อ แบบมุขประเจิด สิ่งที่น่าสนใจคือ เสมาหินอ่อนที่มุมทั้งสี่ของพระอุโบสถ สลักเป็นรูปท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ คือ ท้าวธตรส ท้าววิฬูปักษ์ ท้าววิรุฬหก ท้าวเวสสุวรรณ ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปศิลาสมัยทวารวดีประทับนั่งห้อยพระบาท ปางปฐมเทศนา ที่ได้มาจากวัดหน้าพระเมรุ พระนามว่า พระพุทธนรเชษฐ เศวตอัศนัยมุนี ศรีทวารวดีปูชนียบพิตร

พระเจดีย์องค์เดิมจำลอง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จำลองพระเจดีย์องค์เดิมไว้ทางด้านทิศใต้นอกพระระเบียง และยังโปรดให้จำลองแบบพระเจดีย์ พระมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช ไว้ทางด้านทิศตะวันตกด้วย

 

The Chapel of Wat Phra Wisutthiwong  

Location 3 Moo 5 Tambon Lam Sai, Lam Lukka Pathum Thani

Architect/ Designer - 

Owner  Wat Phra WisutthiWong 

Year built  1911

History 

In 1896, Father Etienne Barthelomy Des Salles, Abbot of the Holy Rosary Church in Bangkok decided to establish a new Christian community to expand Christianity in the Kingdom of Siam. He learned that there was a building of many canals through a vacant plain on the east side of Chao Phraya River; he invited the rich Chinese, followers of Holy Rosary church for a meeting. A company named "Lam Sai Company" was founded to be eligible to purchase a large piece of land from the government to farm. After they acquired the land in 1987, Father Des Salles assigned his assistant, Father Yuang Hiang Sae Lim (Nittayo) who at the time has been spreading Christianity in Pak Lat and Pak Nam area for many years, as his representative to Lam Sai. Father Yuang Hiang allotted farmlands to the Christian Chinese who needed jobs to work on the farm. At the same time, there were also Chinese people of different religions who wanted to live in the area and Father Yuang Hiang welcomed them. He began to build a chapel out of wood and keep one room for himself to stay and another as a religious center. Soon, the number of Christian and applicants for Bible study multiplied, Father Des Salles had to send another assistant of him, Father Laoseus Mattias Boontham, to help Father Yuang Hiang. In 1905, Father Desire Young Baptist Durant was official appointed Abbot of Wat Sai. Father Durant later ordered the demolition of the old chapel as it was too small for the increasing amount of Christian. A new chapel was built and was completed in 1910 with a grand blessing ceremony took place on September 21, 1911 by Bishop Renee Marie Joseph Parros. And as this church was dedicated to the Holy Family since the beginning, the official name of the church is “Wat Wisutthiwong.” Wat Phra Wisutthiwong Church is built of brick masonry in Neo-Gothic architecture with symmetrical Roman Cross floor plan, 20.70 meter wide and 55.10 meter long. At the top is an octagonal dome four storey high. The building is decorated with color stained glass from France.  

In 1989, the church undergone a major restoration external and internal. The exterior wall received new paints. Repairs were made on doors and windows as well as the bell tower. On the inside, there was a renovation of the altar. In 2010, the entire church was renovated to celebrate the church’s 100th year including the repair of the bell tower and wall, installation of steel reinforced beam to support the crossbeam and bear weights on each floor of the bell tower. Restoration of ceiling tiles, doors, windows, frames and skylight. The renovation turned out to be a success as it helps maintain historical and architectural values of the church.