กุฏิวัดศรีชุม
กุฏิวัดศรีชุม
ที่ตั้ง เลขที่ 96 บ้านผามวัว หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
สถาปนิก/ผู้ออกแบบ พระครูชยาลังการ์ จากวัดเหมืองง่า อำเภอเมืองลำพูน เป็นผู้อำนวยการสร้างวัด และสันนิษฐานว่าทำงานร่วมกับคณะมิชชันนารีชาวตะวันตกที่มาช่วยสอนภาษาให้แก่โอรสธิดาของเจ้าเมืองลำพูนขณะนั้นด้วย
ผู้ครอบครอง วัดศรีชุม
ปีที่สร้าง พ.ศ. 2452
ประวัติ
วัดศรีชุมเป็นวัดโบราณเดิมชื่อวัด "ผามวัว" มีมาแล้วตั้งแต่สมัยล้านนา เนื่องจากยังหลงเหลือซากโบราณสถานร้าง กระจัดกระจาย อาทิ บ่อน้ำ ร่องรอยของกำแพงอิฐ เศษกระเบื้องมุงหลังคาของวิหารหลังเดิม ต่อมาได้รับการฟื้นฟูสภาพให้เป็นพระอารามอีกครั้งในปี พ.ศ. 2452 โดยคณะศรัทธาที่อาศัยอยู่ในละแวกบ้านผามวัว ได้อาราธนา "พระครูชยาลังการ์" จากวัด เหมืองง่า อำเภอเมืองลำพูน มาเป็นผู้อำนวยการสร้างวัด และวางรากฐานการบริหารปกครอง ตั้งชื่อว่า “วัดผามวัว” ตามชื่อหมู่บ้าน ต่อมาเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น “บ้านศรีชุม” จึงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น "ศรีชุม" ตามไปด้วย คำนี้ภาษาล้านนามักอ่านแบบเรียงตัวแยกพยางค์ว่า "วัดสะหลีจุม" หมายถึงเป็นวัดที่มีการปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์จำนวนมากหลายต้น ภายในวัดประกอบด้วยเสนาสนะที่สำคัญได้แก่ พระพุทธรูปสำริดสมัยล้านนา "พระเจ้าฝนแสนห่า" พระเจดีย์รูปแบบผสมระหว่างทรงกลมลังกาที่มีการตกแต่ง ซุ้มจระนำแบบพม่า-ไทใหญ่ พระวิหาร พระอุโบสถหลังเก่า อาคารห้องสมุดเดิม (ตั้งอยู่ด้านนอกของกำแพงแก้ว) และอาคารกุฏิ ทรงตึกแบบตะวันตก
"กุฏิวัดศรีชุม" หลังนี้ วัตถุประสงค์เมื่อแรกสร้างนั้น มีความตั้งใจที่จะได้อาคารทรงตึกสมัยใหม่ สองชั้นมีระเบียงทางเดินยาว และตกแต่งลวดลายวงโค้ง - "อาร์ค" เรียงรายในลักษณะ "อาเขต" (Arcade) หรือที่นิยมเรียกกันว่า "รูปแบบมิชชันนารี" เพื่อรองรับพระภิกษุสามเณรได้จำนวนมาก สำหรับใช้เป็นอาคารเรียนของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม เปิดสอนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2468 สำหรับด้านศิลปสถาปัตยกรรมนั้น จัดได้ว่าเป็นรูปแบบเฉพาะที่พบไม่มากนักในเขตล้านนา กล่าวคือเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบตะวันตก ตามรูปทรงที่เรียกว่า "อาคารมิชชันนารี" หรือ นีโอโคโลเนียล มีการเปิดพื้นที่ตอนในอาคารเป็นสวนโรมัน (Roman Court) ในทุกรายละเอียดตกแต่งด้วยเครื่องไม้และปูนหล่อ อาทิ ลูกกรงระเบียง บันได ฝ้าเพดาน บานหน้าต่างประตู ทุกองค์ประกอบสถาปัตยกรรมจะให้ความสำคัญกับการเน้นช่องไฟ จังหวะ มุมฉาก ความกลมกลึงของการถากไม้ ผสานกับการฉาบปูนทาสีส้มอมชมพูที่ผนังด้านนอก สอดรับกับลูกกรงปูนหล่อ และการใช้สีน้ำเงินเขียนเป็นตัวอักษรระบุปีศักราช (ที่สร้างหรือที่บูรณะ) ในช่องโค้งเหนือบานหน้าต่างที่ผนังอาคารด้านนอกทางทิศตะวันตก เขียนว่า ปีชวด อัฐศก จุลศักราช 1298 พร้อมกับการคำนวณตัวเลขเป็น พ.ศ. 2479 ให้ทราบด้วย
ในยุคต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนหน้าที่ใช้สอยของอาคารดังกล่าว จากโรงเรียนพระปริยัติธรรมกลายมาเป็นศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ควบคู่ไปกับการเปิดพื้นที่อาคารให้ประชาชน ชาวบ้าน และส่วนราชการได้มีโอกาสเข้ามาใช้ประโยชน์ เป็นศูนย์กลางจัดประชุมหารือเรื่องราวต่างๆ ของชุมชน จนกระทั่งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ได้ยกเลิกไป และอาคารดังกล่าวได้ปรับมาเป็นกุฏิสงฆ์อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อได้มีการสร้างกุฏิหลังใหม่สำหรับเจ้าอาวาส ทำให้กุฏิหลังนี้หมดหน้าที่ใช้สอย กลายเป็นสถานที่เก็บของใช้เก่าภายในวัด กระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2548 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชยได้ลงพื้นที่สำรวจวัดศรีชุม ร่วมกับนายกเทศมนตรีตำบลบ้านกลาง จึงได้ดำริหารือกับท่านเจ้าอาวาสปัจจุบันคือ พระครูจารุตม์ ว่าเห็นควรดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์อาคารกุฏิหลังนี้ เนื่องจากมีความงดงามในด้านสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าที่สะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรืองในด้านพระพุทธศาสนาของลำพูน เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์สำหรับจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัด และแหล่งเรียนรู้ของชุมชนในท้องถิ่นต่อไป จึงประสานไปยังสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ ให้มาเก็บข้อมูล ถ่ายภาพ ทำผัง จัดทำแบบประมาณการ เมื่อปี พ.ศ. 2549 กระทั่งได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกรมศิลปากร ให้ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์กุฏิวัดศรีชุมระหว่าง ปี พ.ศ. 2551 – 2552 จนแล้วเสร็จ
วัดศรีชุม
วัดศรีชุม
วัดศรีชุม
วัดศรีชุม
วัดศรีชุม
วัดศรีชุม
วัดศรีชุม
วัดศรีชุม
-
วัดศรีชุม
-
วัดศรีชุม
-
วัดศรีชุม
-
วัดศรีชุม
-
วัดศรีชุม
-
วัดศรีชุม
-
วัดศรีชุม
-
วัดศรีชุม
Wat Si Chum Residence
Location 96 Ban Pam Wua Moo 5, Ban Klang, Muang, Lamphun
Architect/ Designer The construction of the temple was managed by Phra Khru Chayalangka from Wat Muang Nga, Muang, Lamphun together with the European missionaries who came to teach the language to sons and daughters of the Lamphun’s governors at the time.
Owner Wat Sri Chum
Year built 1909
History
Wat Sri Chum is an ancient temple, formerly known as Wat “Pam Wua,” believed to be dated back to Lanna era as ruins of archeological sites scattered the area such as a well, traces of brick wall, roof tiles that could belong to the former chapel. The temple was restored in 1909. Laymen residing in Pam Wua neighborhood invited “Phra Kru Chaya Langka” from Wat Muang Nga of Lamphun to help manage the construction of the temple and lay the foundation of the temple’s administration. The temple was name “Wat Pam Wua” by the name of the village. When the village was renamed “Ban Si Chum”, the name of the temple was then changed to “Wat Si Chum” accordingly. According to Lanna dialect, the name is pronounced “Wat Sa Lee Chum” which means the temple that grows a lot of bodhi trees. Important artifacts found within the temple area are Lanna style bronze Buddha Image named “Phra Chao Fon San Ha”, the great chedi, a combination of sphere shaped of Ceylon and an arched porch of Muanmar-Tai styles. The main chapel, old ordination hall, library (located outside the wall) and the European brick building monks’ residence.
“Wat Si Chum Residence” was originally built with a modern design, two story with long corridor and decorated with arches all around called “Arcade” or common known as “Missionary design” to be able to accommodate a large amount of monks and novices and to serve as a school building for the Dhamma School which began its teaching in 1925. Outstanding architecture that was rarely found in Lanna region for its European styled brick masonry building called “Missionary Building” or Neo-Colonial. The inner area is an open Roman Court. The building details are decorated with wood work and stucco such as the balusters, balcony, stairs, ceilings, window frames and doors with emphasis on spacing between each element, angles and the smoothness of wood work. Plastered wall with orange-pink paint correspond to the stucco railings. The use of blue color on the letter indicating the year the temple was built or renovated on the arch over the window on the external wall of the west side of the building which was written Year of the Rat, Attasok, Chulasakraj 1298 which was calculated into 2479 as well.
The building function was later changed from Dhamma School into a Sunday Buddhism Learning Center in 1984. The building was also open for local people in the community and government sectors to use as a meeting venue until the Sunday Buddhism Learning Center was cancelled. The building served as a monks’ residence for a while until a new residence was built for the abbot, this building became useless and was turned into storage. In 2005, the National Museum of Haripunchai explored the area of Wat Si chum in conjunction with the mayor of Tambon Ban Klang and discussed with the current abbot, “Phra Kru Charut” that the building should be restored as it contains a valuable and charming architecture that reflects the prosperity of Buddhism in Lamphun and that the building could be converted into a museum and the community learning center. The party then contacted Department of Fine Arts 8 Chiangmai to conduct a survey, record data, take pictures and draw up a plan. A budget plan was created in 2006 and was later approved by the Department of Fine Arts. The restoration of Wat Si Chum residence began in 2008 and completed in 2009.