พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
ที่ตั้งเลขที่ 658 ถนนสามเสน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
สถาปนิก / ผู้ออกแบบ ไม่ปรากฏชื่อ
ผู้ออกแบบอนุรักษ์ กรมศิลปากร โดย สุรยุทธ วิริยะดำรงค์ และกิตติพันธ์ พานสุวรรณ
ผู้ครอบครอง วัดโบสถ์สามเสน
ปีที่สร้างพ.ศ. 2251
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2552
ประวัติ
วัดโบสถ์สามเสนเป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีพื้นที่ 8 ไร่ 3 ตารางวา ตามประวัติกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2251 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2271 ในช่วงอยุธยาตอนปลายสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แต่ไม่ปรากฏนามผู้สร้างวัด เมื่อมีการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานีจึงได้มีการปฏิสังขรณ์วัดโดยสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท หลังจากนั้น วัดโบสถ์สามเสนก็ได้รับการทำนุบำรุงเรื่อยมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน
สถาปัตยกรรมภายในเขตพุทธาวาสของวัดโบสถ์สามเสน มีลักษณะโดยทั่วไปเป็นรูปแบบศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งประกอบด้วย อุโบสถหลังเก่าที่ยังคงรูปแบบศิลปกรรมสมัยอยุธยาเพียงหลังเดียวในวัด ตัวอาคารมีลักษณะโค้งแอ่นเหมือนท้องสำเภาเรือ ภายในมีภาพจิตรกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ผนังด้านหน้าเหนือประตูทางเข้าอุโบสถเป็นภาพมารผจญผนังด้านข้างเป็นภาพเทพชุมนุม ส่วนผนังระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพเวสสันดรชาดก ด้านหน้าอุโบสถมีเจดีย์ทรงปราสาท ตั้งอยู่บนฐานสูง ด้านบนมีลานประทักษิณ เรือนธาตุมีซุ้มจระนำประดิษฐานพระพุทธรูปทั้ง 4 ทิศ ยอดเป็นเจดีย์ทรงเครื่องย่อมุมไม้สิบสองนอกจากนั้นยังมีมณฑปพระพุทธบาท ผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสทรงปราสาท ตัวเรือนธาตุตั้งอยู่บนฐานสูง หลังคาซ้อนชั้น ยอดเป็นทรงเจดีย์ หน้าบันเป็นปูนปั้นทาสีลายเทพพนมและกนก มีซุ้มประตูทั้ง 4 ด้าน ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองบนฐานสูงลายบัวหงาย
วัดโบสถ์สามเสนเป็นศูนย์กลางของชุมชนบริเวณรอบวัด ทั้งยังเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์และศิลปสถาปัตยกรรมไทยที่ผ่านการดูแลรักษาทำนุบำรุงเป็นอย่างดีจากชุมชนและหน่วยงานราชการต่างๆ เพื่อให้สืบทอดไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
-
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
-
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
-
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
-
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
-
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
-
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
-
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
-
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
-
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
-
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
-
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
-
พุทธาวาสวัดโบสถ์สามเสน
Buddhavas Wat Bot Samsen
Location Samsen Road, Khwaeng Dusit, Khet Dusit, Bangkok
Architect / Designer not find name Conservation Designer Fine Arts Department by Surayoot Wiriyadamrong & Kittipan Phansuwan
Proprietor Wat Bot Samsen
Date of Construction 1708
Conservation Awarded 2009
History
Wat Bot Samsen is a royal temple for the Theravada Buddhist monks of the Maha Nikaya sect in Thailand. The land area is 12,800 square metres. It was established on February1st, 1708 and received Prarachtan Wisugcamsima on February 20th, 1728 in the late Ayudhaya period of Somdej Phra Chaoyuhua Boromakot. The architect who built the temple is not known and after the establishment of the Rattanakosin Island, the temple was renovated by Somdet Phra Bawornrajchao Maha Sura Singhanat. Today ,the temple continues to be well -maintained and conserved.
The architectural design of the temple reflects the early Rattanakosin period style and is composed of the following structures:
• Ubosatha (the old one) is the only Ubosatha in the Ayudhaya style. The building is curved like the bottom of a sailing boat. The mural paintings found inside the Ubosatha are of the late Ayudhaya period. They depict Marn Phachon on the front wall above the door, Thepchoomnoom images on the side walls and Wedsandon Chadok images on the wall near the windows.
• The Pagoda is in the front of the Ubosatha. It is a castle-like pagoda in the Prasat style located on a high base with the Larn Prathaksin on the top. The upper base (Ruan That) has the Jara Nam arches with Buddha images facing four directions. The top of pagoda is in the twelve indented corners.
• The Mondop of the Footprint of Buddha has a square layout in the Prasat style located on a high base with the tile roof of the Chedi style. The colored painting of Thephanom and Kanok patterns are decorating the pediment. The four arch doors are found on its four sides. The footprint of Buddha is placed on the high base decorated with a lotus pattern.