วิหารและหอไตรวัดดวงดี
วิหารและหอไตรวัดดวงดี
ที่ตั้ง เลขที่ 228 ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ผู้ครอบครอง วัดดวงดี
ปีที่สร้าง พ.ศ. 2372
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2551
ประวัติ
วัดดวงดีตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองเชียงใหม่ ใกล้กับอนุสาวรีย์ 3 กษัตริย์ ประวัติของวัดไม่เป็นที่ปรากฏแน่ชัดนัก แต่ชื่อของวัดดวงดีนั้นตามปรากฏหลักฐานข้อมูลพบว่ามีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น วัดพันธุนมดี วัดอุดมดี วัดพนมดี ในปี พ.ศ. 2513 ได้พบคำจารึกบนฐานพระพุทธรูปโลหะองค์หนึ่งซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหาร จารึกด้วยอักษรไทยยวนมีความว่า สกราชได้ 859 ปีวายสี พระเจ้าตนนีแสนนึงไว้วัดต้นมกเหนือ (จ.ศ. 859 พ.ศ. 2039 สมัยพระเจ้ายอดเชียงรายครองเมืองเชียงใหม่) พระพุทธรูปองค์นี้น่าจะไม่มีผู้นำมาจากที่อื่นแต่สร้างขึ้นในวัดนี้ หมายความว่า วัดดวงดีมีชื่อเรียกอีกอย่างคือ วัดต้นมกเหนือ หรือวัดต้นหมากเหนือ วัดดวงดีคงสร้างขึ้นหลังจากพระเจ้ามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่แล้ว และคงมีเจ้านายเมืองเชียงใหม่คนหนึ่งเป็นผู้คิดสร้างวัดขึ้น ในปี พ.ศ. 2524 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวิหาร และหอไตร ของวัดดวงดีเป็นโบราณสถานของชาติ
วิหาร สันนิษฐานว่าสร้างโดยเจ้าจันทร์หอม แต่ไม่ปรากฏปีสร้าง แต่พระเทพวรสิทธาจารย์ อดีตเจ้าคณะเชียงใหม่ รูปที่ 8 เมื่อครั้งดำรงสมศักดิ์เป็น เจ้าคุณอุดมวุฒิคุณ รองเจ้าคณะเชียงใหม่บอกว่าเจ้าอินทรวโรรสสุริยวงศ์ (น้อยสุริยะ)เป็นผู้สร้างแต่ไม่ปรากฏปีสร้างแน่ชัด ลักษณะวิหารเป็นวิหารแบบล้านนาที่ได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมต้นรัตนโกสินทร์ คุณค่าของวิหารแห่งนี้อยู่ที่ลวดลายแกะสลักไม้ประดับสถาปัตยกรรม เช่น ค้ำยันหูช้างแกะเป็นลวดลายสวยงาม รวมทั้งลวดลายแกะสลักเหนือกรอบประตูทางสถาปัตยกรรมส่วนหอไตร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นหอไตรทรงมณฑปแบบพื้นเมืองล้านนา ส่วนหลังคาหรือยอดเป็นทรงมณฑปหลังคาซ้อนลดหลั่นกัน 3 ชั้น ประดับด้วยลวดลายตรงบริเวณสันหลังคา หน้าต่างทำเป็นซุ้มอยู่โดยรอบ หอไตรนี้สร้างโดยเจ้าอุปราชมหาวงศ์ (หนานมหาวงศ์) ในปี พ.ศ. 2372 หลังจากสร้างหอไตรถวายวัดดวงดีเสร็จก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่องค์ที่ 5 ของเชื้อเจ้า 7 องค์
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา วิหารและหอไตรได้รับการดูแลให้อยู่ในสภาพดี โดยในปี พ.ศ. 2549 กรมศิลปกร ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วิหารตามรูปแบบเดิมเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชย์ครบ60 ปี และทรงพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในปี พ.ศ. 2550 นับได้ว่าวิหารและหอไตรเป็นโบราณสถานที่สามารถรักษาคุณค่าความสำคัญทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม รวมทั้งความแท้ดั้งเดิมไว้ได้เป็นอย่างดี
วิหารและหอไตรวัดดวงดี
วิหารและหอไตรวัดดวงดี
วิหารและหอไตรวัดดวงดี
วิหารและหอไตรวัดดวงดี
วิหารและหอไตรวัดดวงดี
วิหารและหอไตรวัดดวงดี
-
วิหารและหอไตรวัดดวงดี
-
วิหารและหอไตรวัดดวงดี
-
วิหารและหอไตรวัดดวงดี
-
วิหารและหอไตรวัดดวงดี
-
วิหารและหอไตรวัดดวงดี
-
วิหารและหอไตรวัดดวงดี
Vihara and The Tripitaka Hall of Wat Duang Dee
Location Tambon Si Phum, Amphoe Mueang, Chiang Mai Province
Proprietor Wat Duang Dee
Date of Construction 1829
Conservation Awarded 2008
History
The history of this temple was not clear but is was called by several names such as Phanomdee, Udomdee, Phannomdee. In 1970 an inscription at the base of the Buddha image was discovered. The inscription can be summarized that, once, this temple was called “Wat Ton Mak Nua” and probably built by the royalty of Chieng Mai.
It is proven that Chao Chan Hom ordered to build the Vihara, but the year of the construction has not been discovered. The Vihara was built in local Lanna style. In the other hand, it has been presently adapted. In addition to the Vihara, the ripitaka Hall was constructed by Chao Uparat Maha Wong in 1829. It is a square hall with a tower. And it has 3-tiered roof and niches around the temple.