วัดมกุฎกษัตริยาราม ราชวรวิหาร
วัดมกุฎกษัตริยาราม ราชวรวิหาร
ที่ตั้ง แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
สถาปนิก / ผู้ออกแบบไม่ปรากฏชื่อ ผู้ออกแบบอนุรักษ์ กรมศิลปากร โดย วสุ โปษยะนันทน์
ผู้ครอบครอง วัดมกุฎกษัตริยาราม ราชวรวิหาร
ปีที่สร้าง พ.ศ. 2411
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2551
ประวัติ
ตั้งอยู่ริมคลองผดุงกรุงเกษม เป็นหนึ่งในพระอารามสำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2411 เป็นพระอารามสุดท้ายที่สร้างขึ้นในรัชกาล ก่อนเสด็จสวรรคตเพียง 99 วัน ลักษณะสถาปัตยกรรมที่ปรากฏจึงถือเป็นผลแห่งการผสานแนวพระราชดำริ พระราชนิยม ที่สะท้อนถึงความเข้าพระทัยในพระพุทธศาสนาของพระองค์ได้เป็นอย่างดี สมกับที่ตั้งพระทัยให้เป็นวัดของพระองค์จึงพระราชทานชื่อที่แปลว่า พระอารามของกษัตริย์พระนาม มงกุฎ เพื่อให้คู่กับวัดโสมนัสวิหารที่ทรงสร้างอุทิศพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองผดุงกรุงเกษมและมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมใกล้เคียงกัน ตามพระราชดำริในการสืบธรรมเนียมการสร้างวัดคู่ ดังเช่นเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงสร้างวัดกุฎีดาวเป็นวัดหลวงคู่กับวัดสมณโกศเป็นวัดพระมเหสี
ผังของวัดมีแบบอย่างมาจากแผนผังพุทธสถานของสุโขทัย และอยุธยา ที่มีพระวิหารและพระเจดีย์เป็นหลัก พระเจดีย์ประธานขนาดใหญ่ตั้งอยู่กึ่งกลางของแผนผังล้อมรอบด้วยพระระเบียง โดยมีพระวิหารตั้งอยู่ด้านหน้าเป็นสำคัญ ในขณะที่พระอุโบสถที่มีขนาดเล็กกว่าอยู่ด้านหลัง พระวิหารเป็นอาคารทรงไทยขนาดใหญ่ หลังคามุขลดมีเฉลียงรอบที่มีเสากลมรับหลังคาโดยรอบรวม 28 ต้น หันหน้าออกสู่คลองผดุงกรุงเกษม หน้าบันประดับรูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพานแว่นฟ้ามีฉัตรประกอบพระเกียรติยศ ซึ่งเป็นตราพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หัวเสาที่อยู่โดยรอบประดับด้วยหัวเสาที่เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและศิลปะตะวันตก ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นงานปูนปั้นปิดทองประดับกระจกเป็นลวดลายดอกไม้ส่วนบนเป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎเช่นเดียวกันกับส่วนหน้าบัน ภายในพระวิหารมีพระพุทธวชิรมงกุฎเป็นพระประธานประดิษฐานในบุษบกตั้งอยู่บนฐานหินอ่อน 2 ชั้น ที่ผนังและเสาภายในทั้งหมดประดับด้วยจิตรกรรมฝาผนังที่เป็นการผสมผสานของจิตรกรรมไทยกับอิทธิพลตะวันตก
ในปี พ.ศ. 2546 ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดมกุฏกษัตริยารามครั้งใหญ่เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในโอกาสที่วันพระบรมราชสมภพครบ 200 ปี ภายใต้โครงการบูรณะซึ่งสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานอุปถัมภ์ฝ่ายบรรชิต สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ฝ่ายฆราวาสและดำเนินการโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พระวิหารซึ่งมีความชำรุดเสียหายจากการเสื่อมสภาพ ความชื้นและการซ่อมแซมที่ไม่ถูกต้องรวมทั้งการปรับเปลี่ยนรูปแบบในอดีตก็ได้รับการบูรณะในครั้งนี้ด้วย โดยมีแนวความคิดในการรักษารูปแบบศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด ควบคู่กับการคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดในปัจจุบัน มีการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังและฟื้นฟูรูปแบบศิลปกรรมดั้งเดิมตามหลักฐานภาพถ่ายเก่าที่ถ่ายไว้ในสมัยรัชกาลที่ 5 พร้อมด้วยการปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการอย่างครบถ้วน ถือเป็นตัวอย่างการอนุรักษ์ที่ช่วยรักษาคุณค่าของโบราณสถานไว้ได้อย่างดีเยี่ยม
วัดมกุฏกษัตริยาราม
วัดมกุฏกษัตริยาราม
วัดมกุฏกษัตริยาราม
วัดมกุฏกษัตริยาราม
วัดมกุฏกษัตริยาราม
-
วัดมกุฏกษัตริยาราม
-
วัดมกุฏกษัตริยาราม
-
วัดมกุฏกษัตริยาราม
-
วัดมกุฏกษัตริยาราม
-
วัดมกุฏกษัตริยาราม
Wat Makutkasattriyaram Rachaworawihan
Location Bangkhunprom, Phra Nakorn, Bangkok
Architect/Designe not find name Conservation Designer Fine Arts Department by Vasu Poshyanandana
Proprietor Wat Makutkasattriyaram Rachaworawihan
Date of Construction 1868
Conservation Awarded 2008
History
Wat Makutkasattriyaram Rachaworawihan (or Wat Makut), situated beside Khlong Phadung Krungkasem, is one of the significant Rattanakosin’s royal temples. King Rama IV graciously allowed building the temple in 1868, merely 99 days before his demise. Its architecture explicitly represents the King’s personal favor and his profound understanding in Buddhism; therefore, the name of this temple has followed King Rama IV’s royal name to be coupled with Wat Sormmanutwihan, a temple commemoratively built for his wife.
The assembly hall of Wat Makutkasattriyaram was divided into five rooms connectedby a long veranda. Stairs were located in the front and at the back of the building. The principal Buddha image was installed on a spire pavilion. The interior mural paintings depict biographies of 11 Chief Disciples and the paintings on narrow spaces between each window illustrate appropriate behaviors according to the monastic codes such as aprohibition of meat eating. In addition, the image of Phra Maha Phichai Mongkut wasinstalled on a footed tray decorated with tiered umbrellas and surrounded by a small decorative gable. There are also triangle frames adorned with the pattern of intertwined sprays and the edge looks more attractive by ornamental scroll design
A major restoration was done in 2003 to celebrate the auspicious occasion of King Rama IV’s 200th birthday anniversary. Somdet Phra Yannasangwon Somdet Phra Sangkarat and H.R.H. Princess Maha Chakri Sirindhorn presided over the ceremony which was arrangedby the Crown Property Bureau. Moreover, the assembly hall damaged from the deterioration, humidity as well as inappropriate mending and reform in the past was renovated by preserving its ancient originality in arts and architecture while the up-to-date functionality has also been concerned.