พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
ที่ตั้ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร เลขที่ 86 ถนนพิษณุโลก แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
สถาปนิก/ผู้ออกแบบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
ผู้ครอบครอง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
ปีที่สร้าง สมัยรัชกาลที่ 5 พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร
ประวัติ
ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร เดิมเป็นส่วนหนึ่งของวังพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (วังนางเลิ้ง) ซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ได้กราบบังคมทูลลาออกจากราชการ พระองค์ได้ศึกษาวิชาแพทย์แผนโบราณจนชำนาญ และรับรักษาโรคให้ประชาชนทั่วไปโดยไม่คิดค่ารักษา พระองค์จึงถูกเรียกขานในอีกชื่อหนึ่งว่า “หมอพร” ต่อมาพระองค์ทรงกลับเขารับราชการอีกครั้งและสิ้นพระชนม์ในพุทธศักราช 2466 ที่จังหวัดชุมพรหลังจากนั้น ในพุทธศักราช 2479 กรมอาชีวศึกษาได้ขอซื้อที่ดินพร้อมบ้านเรือนไม้สองชั้นจำนวนสองหลังจากผู้ครอบครองต่อจากกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ คือ หม่อมเมี้ยน อาภากร ณ อยุธยา และหม่อมเจ้ารุจยากรอาภากร ณ อยุธยา เพื่อขยายอาณาเขตของโรงเรียนพณิชยการพระนครในขณะนั้น ต่อมาทางโรงเรียนได้รื้อ เรือนไม้สองชั้นของหม่อมเจ้ารุจยากรลง โดยคงเหลือไว้เพียงเรือนไม้สองชั้นหม่อมเมี้ยนแล้วใช้เป็นร้านสหกรณ์จนกระทั่งในวันที่ 19 ธันวาคม พุทธศักราช 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาเสด็จฯ ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดพระอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ และได้มีรับสั่งถามว่า “ยังมีสิ่งใดที่ในสมัยเป็นวังหลงเหลืออยู่บ้าง” ศาสตราจารย์ธรรมนูญ อัคคพานิช ผู้อำนวยการ
ในขณะนั้น ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า“ยังมีเรือนหลังหนึ่งอยู่” มีพระราชกระแสว่า “ให้อนุรักษ์ไว้” ซึ่งก็คือ “เรือนหม่อมเมี้ยน”นั่นเอง ในระยะเวลาต่อมามหาวิทยาลัย ได้ใช้เรือนหม่อมเมี้ยนเป็นเรือนพยาบาล และตั้งชื่อว่า “เรือนหมอพร”ซึ่งมาจาก พระนามของกรมหลวงชุมพรฯ ต่อมาเรือนหมอพรมีสภาพทรุดโทรมลง และในพุทธศักราช 2552 หลังจากมีมติเห็นชอบจาก กรมศิลปากร อนุญาตให้มีการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์และอนุรักษ์เรือนหมอพรด้วยวิธีการย้ายที่ตั้ง (relocation) โดยไม่มีการรื้อตัวเรือน มาอยู่ในตำแหน่งบริเวณสนามหญ้าด้านในพื้นที่โอบล้อมของตึก 1 และมีการลงเสาเข็มเพื่อรองรับตัวเรือนอีกด้วย หลังจากนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้บูรณปฏิสังขรณ์เป็น “พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร” ภายในอาคารได้จัดแสดงสิ่งของต่างๆ ในหมวดเครื่องใช้ประจำพระองค์ ได้แก่ ฉลองพระองค์ทหารเรือ พระมาลา อินทรธนู หีบเหล็กสำหรับเก็บข้าวของเครื่องใช้ชิ้นเล็กชิ้นน้อย กี๋ (ถาดไม้วางถ้วยชาม) หมวดเครื่องแพทย์ ได้แก่ ที่ปั๊มยา เครื่องบดยาหินบดยาพร้อมลูกบิดตะแกรงร่อนยา หูฟัง อับแก้วเจียระไน โกร่งบดยาขนาดใหญ่ โกร่งราง รวมทั้งภาพถ่ายต่างๆ โดยสิ่งของทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการบริจาคจากผู้เคารพศรัทธาพระองค์ท่านเกือบทั้งสิ้น
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพรเป็นตัวอย่างที่ดีของการอนุรักษ์ด้วยวิธีการย้ายที่ตั้ง นอกจากผู้เข้าชมอาคารจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของกรมหลวงชุมพรฯ แล้ว ยังได้ชื่นชมตัวเรือน ซึ่งเป็นบ้านพักอาศัยไม้สองชั้นลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบนีโอ–คลาสสิก (Neo–Classic) ที่มีการดัดแปลงให้เข้ากับภูมิอากาศในเขตร้อนชื้นของไทย ลักษณะเรือนแบบนี้เริ่มแพร่หลายเข้ามาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่นิยมสร้างกันในหมู่คหบดีขุนนางและชนชั้นกลางทั่วไปอีกด้วย
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
-
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
-
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
-
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
-
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
-
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
-
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
-
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
-
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
-
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
-
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
-
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
-
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
-
พิพิธภัณฑ์เรือนหมอพร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร
Ruan Mo Phon Museum, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon
Location Rajamangala University of Technology Phra Nakhon 86 Pitsanulok Road, Kwang Suan Chitralada, Dusit, Bangkok
Architect/Designer Unknown
Owner Rajamangala University of Technology Phra Nakhon Year Built During the reign of King Rama V
History
Ruan Mor Phon Museum, located within the compound of Rajamangala University of Technology Phra Nakhon, was once part of the residence of Admiral Prince Abhakara Kiartivongse, Prince of Chumphon (Nang Loeng Palace) which was granted to him by King Rama V. Following his resignation, he studied traditional medicines and provided free medical treatment to all people. As a result, he was also otherwise known as “Doctor Phon.” He later went back to serve and passed away in 1923 in Chumphon. In 1936, Department of Vocational Education purchased the land with the 2 two-storey wooden houses from Lady Mian Abhakara na Ayutthaya and Momchao Rujyakara Abhakara na Ayutthaya, the owners after Prince Abhakara Kiartivongse, in order to expand the facilities of then Panichyakarn Phra Nakorn College. The college later demolished the two storey wooden mansion that belonged to Mom Chao Rujyakara while keeping the other Lady Mian’s two storey mansion and later converted it into a co-op store. Until 1976 when His Majesty King Rama V visited the college in the opening ceremony of Prince Abhakara Kiartivongse’s monument, the king asked, “Was there anything left that used to be a part of the palace?” Professor Thammanoon Akkapanich, the director at the time replied, “There was a mansion.” The King then responded, “You may preserve it.” And there it was “Ruan Mom Mian.”
The University converted Ruan Mom Mian into a medical facility and named it “Ruan Mor Phon” after the nickname of the Prince of Chumphon. Ruan Mor Phon began to deteriorate when in 2009 Department of Fine Arts agreed to grant permit to build a multipurpose facility and preserve Ruan Mor Phon. With a relocation technique, no disassemble required, the mansion was relocated to the lawn area surrounded by Building 1 and was placed on a pile foundation to secure the house. The mansion was restored into “Ruan Mor Phon Museum” that houses a collection of the prince’s personal items such as his naval uniforms, hats, epaulets, iron chest for storing small items, wooden tray for plates. There were also the collections of traditional medical tools that include a pill press, a stone mortar with a stone pestle, a medicine strainer, stethoscope, a cut glass casket, a large mortar, a boat-shaped grinder and some photographs. Almost all of the items displayed were donated by those who revere him.
Ruan Mor Phon Museum is a great example of applying the relocation technique in preserving the old house. Visitors to the museum will get to learn not only about the life and work of the Prince of Chumphon, but will also get to admire the two storey wood frame house with Neo-Classical architecture that has been adapted to Thailand’s tropical climate. This architectural style prevailed during the reign of King Rama V and became popular among the rich, noblemen and middle class people in general.