เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
ที่ตั้ง เลขที่ 87 ถนนจรัสเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
สถาปนิก/ผู้ออกแบบ พระยาศรีธรรมาธิราช
ผู้ครอบครอง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ปีที่สร้าง ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
ประวัติ
เรือนพระยาศรีธรรมธิราชสร้างขึ้นโดยพระยาศรีธรรมาธิราช (เจิม บุณยรัตพันธุ์)เพื่อเป็นที่พักอาศัยของท่านและครอบครัว ต่อมาในปี พ.ศ. 2457 พระคลังข้างที่ได้รับมอบอาคารและที่ดินของบ้านพระยาศรีธรรมาธิราช หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2480 จึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตาม พระยาศรีธรรมาธิราชและครอบครัวได้รับพระบรมราชานุญาตให้พักอาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านด้านที่ติดกับถนนรองเมือง ส่วนพื้นที่ด้านที่ติดกับถนนจรัสเมืองนั้น พระคลังข้างที่ได้นำไปจัดหาผลประโยชน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 อาจารย์ชิน นุตโยธิน และกลุ่มเพื่อนครูได้ขอเช่าพื้นที่ด้านที่ติดกับถนนจรัสเมืองจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เพื่อใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนสีตบุตรบำรุงแห่งใหม่ เนื่องจากโรงเรียนสีตบุตร (เดิม)ถูกทำลายจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 เมื่อพระยาศรีธรรมาธิราชถึงแก่อนิจกรรม ทายาทของท่านจึงได้ส่งมอบที่ดินและบ้านพักอาศัยคืนแก่สำนักงาน หลังจากนั้น โรงเรียนสีตบุตรจึงขอเช่าพื้นที่และเรือนพระยาศรีธรรมาธิราชเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของอาคารเรียนโรงเรียนสีตบุตรบำรุง อาคารนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนซึ่งได้มีการดัดแปลงและปรับปรุงอาคารเรื่อยมา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2554 มูลนิธิไทย – จีนเพื่อการศึกษาและวัฒนธรรม และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้เริ่มโครงการอนุรักษ์อาคารเรือนพระยาศรีธรรมาธิราช โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณะซ่อมแซมอาคารที่มีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ให้กลับมาอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ตามรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม โดยคงไว้ซึ่งเทคนิควิธีการ ฝีมือช่าง และวัสดุดั้งเดิมสำหรับรองรับการใช้งานที่เหมาะสม การบูรณะเรือนพระยาศรีธรรมาธิราชแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 หลังจากนั้นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ส่งมอบอาคารให้กับ “มูลนิธิไทย – จีนเพื่อการศึกษาและวัฒนธรรม” เพื่อใช้เป็นอาคารรับรองและห้องทำงานของประธานมูลนิธิฯ และกิจการทางการศึกษา
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราชเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน โครงสร้างเป็นผนังหนารับน้ำหนักสูง 2 ชั้น รูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ผังพื้นอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศเหนือ ตัวอาคารยาวตามแนวแกนตะวันออก – ตะวันตก การจัดวางผังอาคารอย่างเรียบง่ายตรงไปตรงมา โดยมีห้องต่างๆ เรียงกันไปตามยาวของอาคาร มีเฉลียงด้านหน้าอาคาร และมีระเบียงทางเดินด้านหลังอาคารทั้ง 2 ชั้น เชื่อมต่อการใช้สอยระหว่างห้องต่างๆ พื้นที่ใช้สอยภายในอาคารแต่ละชั้นประกอบด้วยห้องต่างๆ จำนวน 5 ห้อง เดิมมีอาคารก่ออิฐถือปูนใช้ผนังรับน้ำหนัก 2 ชั้นครึ่งอีก 1 หลัง เชื่อมต่อกันบริเวณระเบียงชั้น 2 เพื่อใช้เป็นทางขึ้นห้องใต้หลังคาบริเวณหน้าจั่วมุขอาคารด้านตะวันตก หลังคาอาคารทรงจั่วมีการปาดที่ยอดจั่วหรือที่เรียกว่าJerkinhead roof (เรียกอีกอย่างว่า Clipped gable, Hipped gable หรือ Shreadhead) มีความลาดชันมากจนสามารถใช้พื้นที่เป็นห้องใต้หลังคาได้ โดยมีระเบียงยื่นตรงหน้าจั่วมุขทั้งสองด้าน โครงสร้างหลังคาเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์ใยหินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 60 x 120 เซนติเมตร มีลักษณะเฉพาะ คือ มีการยกลอนกระเบื้องเพียงลอนเดียวในแต่ละแผ่นซึ่งไม่ปรากฏพบหลักฐานการใช้งานในอาคารอื่นใดในช่วงเวลาเดียวกันเป็นวัสดุมุงหลังคา ภายในอาคารยังมีภาพจิตรกรรมแบบตะวันตกบนฝาผนังและฝ้าเพดานในทุกๆ ห้องอย่างวิจิตรงดงาม โดยเฉพาะห้องโถงใหญ่บนชั้นสองที่มีการเขียนภาพนกยูงคู่บริเวณเหนือประตูทุกบาน นอกจากนี้ยังมีการเขียนลายมงคลต่างๆ บริเวณช่วงบนของผนังทุกห้องซึ่งแต่ละห้องจะมีรายละเอียดแตกต่างกัน นอกจากนั้นองค์ประกอบในส่วนของ เชิงชาย ค้ำยัน และราวลูกกรงบันไดมีการแกะสลักไม้เป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น จระเข้ เสือ ชะนี และกระรอก ช่องลมบริเวณเหนือประตูหน้าต่างมีการฉลุลวดลาย “เจิม” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชื่อเจ้าของอาคาร ล้อมรอบด้วยลวดลายกนกเปลวแบบไทย และลวดลายใบไม้แบบตะวันตก บริเวณผนังด้านหน้าอาคารตรงประตูทางเข้าชั้นล่างประดับด้วยหินอ่อนสีเหลืองแกะสลักนูนต่ำรูปหัวม้าติดตั้งทางด้านซ้ายและด้านขวา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์นักษัตรประจำปีเกิดของเจ้าของเรือน ส่วนระเบียงด้านหน้าอาคารชั้น 2 ในตำแหน่งเดียวกัน ประดับหินอ่อนสีชมพูแกะสลักนูนต่ำรูปการเต้นรำสเปน และรูปคล้ายผู้หญิงกำลังเศร้าเสียใจ
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราชได้รับการบูรณะตามหลักวิชาการอย่างเคร่งครัด โดยก่อนการบูรณะได้มีการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ ศิลปะสถาปัตยกรรม และโบราณคดี การประเมินบูรณภาพ (assessment of integrity) และการทดความแท้(test of authenticity) ทำให้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอาคารเพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจเลือกเทคนิคและวิธีการอนุรักษ์ที่เหมาะสม นอกจากนี้ การทำงานอย่างมีส่วนร่วมระหว่างสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มูลนิธิไทย – จีนเพื่อการศึกษาและวัฒนธรรม กรมศิลปากร คณะที่ปรึกษาด้านงานอนุรักษ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริษัทผู้รับเหมา สถาบันการศึกษา และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ส่งผลให้การดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย นับเป็นการทำงานตัวอย่างให้กับหน่วยงานอื่นๆ นำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ของตนเองได้เป็นอย่างดี
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
-
เรือนพระยาศรีธรรมาธิราช
Phraya Sri Thammathirat’s Residence
Location 87 Charat Muang Road, Rong Muang, Pathumwan, Bangkok
Architect/ Designer Phraya Sri Thammathirat
Owner The Crown Property Bureau
Year Built During the late period of King Chulalongkorn, Rama V reign and early period of King Vachiravudh, Rama VI
History
The family home built by Phraya Sri Thammathirat (Choem Boonyarattapan) himself was later transferred to the Privy Purse in 1914. The house became the property of The Crown Property Bureau in 1937. However, Phraya Sri Thammathirat and his family were allowed to live in a house adjacent to Rong Muang Road while the Privy Purse managed the property on Charat Muang side. In 1947, Chin Nutayothin together with his teacher friends was seeking to rent the Charat Muang side of property from the Crown Property Bureau to be a new location for Sitabut Bamrung School for the old location was destroyed by the Allies’ bombing during WWII. After Phraya Sri Thammathirat passed away in 1949, his heirs transferred the property back to the Crown Property Bureau. Sitabut School rented the area of which Phraya Sri Thammathirat’s residence was located to be a part of the school. The residence became a school house and has been altered and renovated over the years. Until 2011, Thai-China Cultural and Educational Foundation and The Crown Property Bureau initiated a project to preserve Phraya Sri Thammathirat’s old residence. The main purpose of the project was to restore historic buildings and architectures worn out by age and bring them back to their original, architectural perfection by using old techniques, craftsmanship and traditional materials to support appropriate use of the building. The Crown Property Bureau The restoration project was completed in May, 2013. The Crown Property Bureau later transferred the building back to “Thai-China Cultural and Educational Foundation” as a reception area for visitors and to accommodate an office for its president. It was also used in academic related activities.
Phraya Sri Thammathirat’s Residence is a two-storey brick masonry structure with thick wall to bear the load of the structure. Western style rectangular building facing the North. The building stretches East-West. Simple and forthright floor plan with rooms that line up in one long row. A long porch along the front of the house and overhanging balconies at the rear that connect the rooms. There are five rooms on each floor. There used to be another two and a half storey brick masonry building with load-bearing walls that connect to the old residence through the balconies on the second floor. It was used to enter the attic on the west gable-roof porch. Jerkinhead roof (also called clipped gable, hipped gable or shreadhead) is very steep that it leaves large empty space that can be used as an attic. Wooded roof structure with large rectangular asbestos and cement tile.
The tile measure 60x120 centimeters and are of a type called Lon Diew, a single curve roof pattern no other structure of the same age has. The wall and ceiling in each room are adorned with exquisite European style frescoes. Particularly outstanding is the stylized rendition of two peacocks which is repeated above all of the doors in the main hall on the second floor. There are also motifs with auspicious meaning on the upper section of the wall in all of the rooms. No two rooms are the same. Roof and pillar support structures and staircase are decorated with wooded carved sculptures of animals such as crocodiles, tigers, gibbons and squirrels. Ventilation grilles above doors and windows are adorned with wood carving symbol called “Choem” to symbolize the name of the owner, and surrounded by a traditional Thai flame called Kanok and Western styled foliage motifs. The external wall near the front entrance on the ground floor is adorned with yellow marble bas-reliefs of a horse’s head on both the left and right side of the building front, a reference to the fact that the owner of the house was born in the year of the horse. While the verandah on the upper floor is decorated with pink marble bas-reliefs depicting the Spanish dance and a weeping woman.
The restoration of Phraya Sri Thammathirat’s residence adhered strictly to the technical principles. Before the building was restored, historical, architectural and archeological researches, assessment of integrity and test of authenticity were conducted to gather sufficient data related to the building to determine appropriate renovation techniques. Moreover, partnerships between The Crown Property Bureau, Thai-China Educational and Cultural Foundation, Fine Arts Department, the Bureau’s Conservation Project Division, contractors, educational institution and all related personnel resulted in a smooth operation in each and every stage which served as an exemplary approach for other restoration project in the future.