อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

ค้นหา

อาคารเรียนโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชหลังที่ 2

อาคารเรียนโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชหลังที่ 2

ที่ตั้ง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

สถาปนิก/ผู้ออกแบบ พระสาโรจน์รัตนนิมมาน สถาปนิกประจำกระทรวงศึกษาธิการ

ผู้ครอบครอง สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานี

ปีที่สร้าง พ.ศ. 2478

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2554

ประวัติ

โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชเป็นโรงเรียนที่แยกมาจากโรงเรียนอุบลวิทยาคมในปีพ.ศ. 2458 เนื่องจากโรงเรียนอุบลวิทยาคมมีจำนวนนักเรียนมากขึ้นทำให้โรงเรียนคับแคบ โรงเรียนใหม่นี้ตั้งอยู่ ณ บริเวณมุมทุ่งศรีเมืองด้านตะวันออกและได้รับประทานนามโรงเรียนจากกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถว่า โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลอุบลราชธานีเบ็ญจะมะมหาราชเพื่อเป็นอนุสรณ์ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 โดยได้ทรงออกใบประกาศตั้งนามโรงเรียนให้ไว้เป็นสำคัญต่อมาในปีพ.ศ. 2478 ทางจังหวัดได้รับงบประมาณ 4 หมื่นเศษ เพื่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชหลังที่ 2 ขึ้นในบริเวณทิศตะวันตกของทุ่งศรีเมือง เนื่องจากอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนไม่สามารถรองรับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้นได้ โดยอาคารหลังนี้ก่อสร้างเป็นอาคารไม้ 2 ชั้นจำนวน 20 ห้องประกอบพิธีเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 7 เมษายนพ.ศ. 2478

ลักษณะของอาคารเป็นอาคาร 2 ชั้นทรงมะนิลามีพื้นที่ใช้สอย 2,376 ตารางเมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออกตั้งอยู่บนฐานที่ก่อด้วยซีเมนต์ด้านหน้ามีมุข 3 มุขเรียงกัน หลังคามุงด้วยกระเบื้อง อาคารหลังนี้สร้างด้วยไม้สักทั้งหลังทั้งพื้นเข้าลิ้นเพดานฝาผนังประตูหน้าต่างชั้นล่างประกอบด้วยห้องพักครูห้องครูใหญ่ห้องธุรการและห้องเรียนส่วนชั้นบนประกอบด้วยห้องประชุมห้องสมุดและห้องเรียนหลังจากที่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชได้ย้ายโรงเรียนไปตั้งอยู่ ณ บ้านท่าวังหินซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบันในปีพ.ศ. 2513 อาคารเรียนหลังนี้ได้มีการใช้งานมาอย่างต่อเนื่องโดยส่วนราชการต่างๆ ของจังหวัดอุบลราชธานี เช่น สัสดีจังหวัด สำนักงานธนารักษ์จังหวัดสำนักงานสถิติจังหวัด และสำนักงานพัฒนาอำเภอเมืองอุบลราชธานี จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2543 ได้มีการย้ายส่วนราชการออกทั้งหมด โดยบางส่วนของอาคารยังคงใช้เป็นสถานที่เก็บพัสดุปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบดูแลโดยสำนักงานจังหวัดอุบลราชธานีในปีพ.ศ. 2545 กรมศิลปากรได้ประกาศให้อาคารหลังนี้เป็นโบราณสถาน

ในปีพ.ศ. 2545 คณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการได้มีมติเห็นชอบให้ใช้แผนการใช้ที่ดินของหน่วยงานของรัฐ

ซึ่งกำหนดให้ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารและให้เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ด้านชาติพันธุ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น  โดยต้องใช้หลักการซ่อมแซมบูรณะในแนวทางอนุรักษ์สถาปัตยกรรมที่ถูกต้อง  ทางจังหวัดโดยนายสุธี บุญมาก ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้นและสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชจึงได้พิจารณาเห็นคุณค่าของอาคารเรียนโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชหลังที่ 2 และขออนุญาตกรมศิลปากรให้ดำเนินการบูรณะ กรมศิลปากรได้เริ่มดำเนินการบูรณะอาคารในปี พ.ศ. 2551 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2553ปัจจุบันอาคารหลังนี้กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการเพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองอุบลราชธานี โดยความร่วมมือของกรมศิลปากรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  เบ็ญจะมะมหาราชสมาคม และภูมิพลังเมืองอุบลราชธานี

 

 


Architect / Designer Phra Saroj Rattananimman Architect of Ministry of EducationLocation Tambon NaiMuang, Amphoe Mueang, UbonRatchthani ProvinceSecond Building of BenchamaMaharat School

Proprietor UbonRatchthani Office

Date of Construction 1935

Conservation Awarded 2011

History

BenchamaMaharat School was separated from UbonWittayakom School in 1915 because the school had more students. BenchamaMaharat School is located in the East of Tung Si Muang. The name of the school was to commemorate King Rama V. In 1935, the school received the budget of THB 40,000 to build the second building in the West of Tung Si Muang because of more students. It is a 2-storey building with 20 rooms and the opening ceremony was on 7 April 1935.

The building facing the East consists of 2,376 square metres. It is made of teakwood supporting with a cement base. There are 3 porches in the front of which the roofs are covered with tiles. The first floor consists of the principal’s room, the teachers’ room, the office and classrooms. The second floor consists of the meeting room, the library and classrooms. In 1970, BenchamaMaharat School was moved to Ban Ta Wang Hin. This building has been used continuously by various government agencies. Until 2000, all government agencies moved out and some parts of the building were used to store supplies. Presently, it is under responsibility of UbonRatchthani Office. The Fine Arts Department has announced that this building has been a historic building in 2002.

In 2002, the Committee on Government Operations approved to repair a government building to be a museum of ethnicity and local culture. Therefore, Mr. SutheeBunmark, the governor, and BenchamaMaharat School Alumni Association realized the value of the building and proposed to restore it under the responsibility of The Fine Arts Department. The restoration was completed in 2010. Currently, it has been in a process of establishing the museum.