อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

ค้นหา

อาคารหอวัฒนธรรมนิทัศน์เฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก

 อาคารหอวัฒนธรรมนิทัศน์เฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก

 ที่ตั้ง ถนนสิงหไคล ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

 สถาปนิก / ผู้ออกแบบ นายแพทย์วิลเลี่ยม เอ บริกส์ (Dr.William A. Briggs)

 ผู้ครอบครอง สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

 ปีที่สร้าง พ.ศ. 2443

 ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2553

ประวัติ

 ในปี พ.ศ. 2437 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดการปกครองมณฑลพายัพขึ้น โดยมีเมืองเชียงรายเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลนี้ และทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างศาลากลางของเมืองขึ้น ในปี พ.ศ. 2440 เพื่อเป็นที่ทำงานของหน่วยงานรัฐบาลและข้าหลวงเมืองเชียงราย อาคารนี้ออกแบบโดย นายแพทย์วิลเลี่ยม เอ บริกส์ (Dr.William A. Briggs) นายแพทย์มิชชันนารีชาวอเมริกัน นิกายอเมริกันเพรสไบทีเรียน แห่งกรุงนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา อาคารหลังนี้สร้างเสร็จในปี พ.ศ.2443 และใช้เป็นศาลากลางจังหวัดจนถึงปี พ.ศ.2512 เมื่อมีการย้ายหน่วยงานต่างๆ ไปที่อาคารศาลากลางหลังใหม่ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2520 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนอาคารเป็นโบราณสถาน ต่อมาอาคารได้รับการปรับปรุงเป็นหอวัฒนธรรมนิทัศน์เฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก และมีพิธีเปิดอาคารอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่2 เมษายน พ.ศ. 2539

รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอาคารเป็นแบบโคโลเนียล (Colonial) ลักษณะการก่อสร้างเป็นแบบก่ออิฐระบบกำแพงรับน้ำหนักผนังหนา อาคารสร้างบนฐานยกพื้นสูงประมาณ 1.20 เมตร พื้นเป็นไม้ล้วน ผังพื้นอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแคบยาว มีมุขหัวท้ายยื่นออกมาเล็กน้อย ส่วนกลางอาคารสูง 2 ชั้น มีความยาว 3 ช่วงเสา แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหน้าเป็นระเบียงมีบันไดตั้งอยู่ที่ปลายทั้งสองข้าง และส่วนหลังกั้นเป็นห้อง สำหรับมุขริมสองข้างสูง 3 ชั้น เหมือนหอคอย เป็นมุขกว้าง 1 ช่วงเสา ลักษณะเป็นห้องโถง หลังคาของส่วนกลางอาคารเป็นหลังคาปั้นหยา หลังคามุขทั้ง 2 ข้าง เป็นหลังคาทรงปิรามิด ทั้งหมดมุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์รูปว่าว การตกแต่งอาคารมีไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นการเน้นด้วยลายปูนปั้นที่กรอบประตูหน้าต่างและแต่ละช่วงเสาประดับเสาอิง จุดเด่นของอาคาร คือ การเจาะช่องเปิดที่ระเบียงหน้าของส่วนกลางอาคารชั้นล่างให้โปร่ง โดยใช้โครงสร้างคานโค้งชุด 3 โค้ง ต่อเนื่องต่อหนึ่งช่วงเสา โดยที่โค้งกลางกว้างกว่าริมสองข้างเล็กน้อย ส่วนชั้นบนอาคารส่วนกลางเป็นหน้าต่างชุด 3 บานเช่นกัน ขณะที่มุขริมทั้งสองมีหน้าต่างไม่เหมือนกันสักชั้นชั้นล่างเป็นหน้าต่างคานโค้งช่วงเดียว ชั้นที่ 2 เป็นชุดกรอบหน้าต่างสี่เหลี่ยม 2 บาน ชั้นที่ 3 เป็นชุดกรอบ 3 บาน 

 อาคารหอวัฒนธรรมนิทัศน์เฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก จัดแสดงเรื่องราวให้เห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประวัติความเป็นมาของจังหวัดเชียงราย กลุ่มชาติพันธุ์ วิถีชีวิต วัฒนธรรมของกลุ่มชน และบทบาททางเศรษฐกิจของจังหวัดในระดับภูมิภาค ถือได้ว่าเป็นอาคารที่ได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี ทำให้อาคารยังคงมีสภาพที่สมบูรณ์ และสามารถรักษารูปแบบและวัสดุดั้งเดิมเอาไว้ได้

 Chamber of Cultural Observations celebrating His Majesty the King’s 50th Anniversary (Chiang Rai City Hall)

Location Singhaklai Road, Tambon Wiang, Amphoe Mueang, Chiang Rai Province

 Architect / Designer William A. Briggs Ph. D.

 Date of Construction Office of the National Culture Commission Year of Construction1900

 Conservation Awarded 2010

 History

 During the reign of King Rama V, many governors from Bangkok were sent to be in charge of the Northern provinces. In 1897 Khun Raknara, the Titled Official, organized an administrative system comprising of Interior Division, Treasury Division and Justice Division. The City Hall of Chiang Rai was then built in 1900 and finished in the same year, during the period of Phra Phol Asa, Governor of Chiang Rai. The design and construction was completed by Dr. William A. Briggs, an American missionary doctor from the American Presbyterian Mission of New York, USA. This building served as the City Hall until 1969before the office has been moved to a new place. Therefore, the old building was refurbished to be the Chamber of Cultural Observations to celebrate His Majesty the King’s 50th anniversary, under the authority of the National Culture Commission, and officially opened on 2nd April 1996.

 The City Hall was constructed with bricks following the Colonial style and having 3 storey. The front part features a circular form with connected halls. The walls support overall weight hence there exists neither pole nor concrete beam as normally seen in monasteries of the past. Logs were used as a foundation to support the heaviness of the building. With regard to its structure, the floors are all teak wood and the hipped roof with cement tiles. The exteriors of windows and doors in the second and third floors contain louvers while their interiors include clear sliding mirrors. The doors were made of teak wood in a double casement style. There are also translucent glasses above each room’s door to allow penetrating light.

 The Chamber of Cultural Observations exhibits stories which portray His Majesty the King’s grace and benevolence, the history of Chiang Rai province, the area’s ethnic groups, ways of life and culture, as well as Chiang Rai’s economic influence towards the Northern region. The building has been carefully preserved to maintain its condition and original architecture.