อาคารหอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
อาคารหอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ที่ตั้ง เลขที่ 64 ถนนทหาร ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
ผู้ครอบครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ปีที่สร้าง พ.ศ. 2466
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2552
ประวัติ
อาคารหอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี หรืออาคารวังแดง เป็นอาคารเรียนหลังแรกของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ซึ่งเดิมคือโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมมณฑลอุดร เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวขนาด 5 ห้อง ใต้ถุนสูงสร้างด้วยไม้ตะเคียนหลังคามุงสังกะสี ในระยะแรกอาคารหลังนี้ได้ใช้เป็นอาคารเรียนเพียงอย่างเดียว หลังจากนั้นมีการปรับปรุงพื้นที่บางส่วนเป็นห้องพักครูและสำนักงาน ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ผศ.จรูญ ถาวรจักร์ อธิการบดีในขณะนั้น ได้ดำเนินการอนุรักษ์และปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยโดยชั้นล่างของอาคารใช้สำหรับประกอบกิจกรรมต่างๆ ของทางมหาวิทยาลัย ส่วนชั้นบนเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยโดยใช้ชื่อว่า หอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ในการบูรณะปรับปรุงครั้งนั้นมีเคลื่อนย้ายอาคารทั้งหลังจากตำแหน่งเดิมเล็กน้อย เพื่อให้สมดุลกับผังบริเวณโดยรวมมากยิ่งขึ้น
อาคารหอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีเป็นอาคารไม้หลังใหญ่ชั้นเดียวใต้ถุนสูง รูปทรงคล้ายกับบ้านพักอาศัยทั่วไปในแถบภาคอีสานหรือสถานที่ราชการตามหัวเมืองในอดีต ผังพื้นของอาคารเป็นแบบสมมาตร 2 ข้างคล้ายรูปตัวเอช (H) มีบันไดไม้ขนาดใหญ่อยู่บริเวณกึ่งกลางด้านหน้าอาคาร และมีระเบียงทางเดินนำไปยังห้องต่างๆ ผนังทั่วไปตีไม้ซ้อนเกล็ดเว้นช่องลมตีระแนงไม้เพื่อระบายอากาศให้ถ่ายเททั่วกันได้ทุกห้อง ส่วนเหนือระเบียงทำเกล็ดไม้ติดตายเพื่อกันไม่ให้แดดหรือฝนสาดเข้าตัวอาคาร มีไม้ฉลุลายค้ำทุกมุมเสาระเบียง หน้าต่างและประตูเป็นบานไม้ทึบเปิดคู่ มีช่องลมที่เหนือหน้าต่างและประตู หลังคาเป็นหลังคาปั้นหยาผสมหลังคาจั่ว มุงด้วยแผ่นหลังคาเหล็กสแกนรูฟ (Scan roof) สีแดง
อาคารหอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ถือเป็นตัวอย่างในการอนุรักษ์อาคารที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมโดยการปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอย และสามารถรักษารูปแบบและวัสดุเดิมของอาคารเอาไว้ได้ แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของผู้ที่เกี่ยวข้องในการรักษามรดกวัฒนธรรมสำคัญของเมือง
อาคารวังแดง หอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
อาคารวังแดง หอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
อาคารวังแดง หอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
อาคารวังแดง หอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
อาคารวังแดง หอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
อาคารวังแดง หอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
อาคารวังแดง หอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
อาคารวังแดง หอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
อาคารวังแดง หอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
อาคารวังแดง หอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
-
อาคารวังแดง หอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
-
อาคารวังแดง หอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
-
อาคารวังแดง หอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
-
อาคารวังแดง หอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
-
อาคารวังแดง หอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
-
อาคารวังแดง หอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
-
อาคารวังแดง หอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
-
อาคารวังแดง หอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
-
อาคารวังแดง หอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
-
อาคารวังแดง หอประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
Hall of History, UdonThaniRajabhat University
Location 64 Udon Thani Rajabhat University, Thaharn Road, Tambon MakKhaeng, Amphoe Mueang, Udon Thani Province
Proprietor Udon Thani Rajabhat University
Date of Construction 1923
Conservation Awarded 2009
History
The Hall of History or “Wang Daeng” initially served as the first learning building of Udon Thani Rajabhat University and some parts were later adjusted to be teacher office and administration room. The renovation was done again in 2002, during Assistant Professor Charun Thawonchak’s time as the rector. Its ground floor became a multi-functional hall for university’s activities and the upper floor was opened as a museum displaying chronicles of this institution, named as Hall of History Udon Thani Rajabhat University. Furthermore, the building has also been slightly relocated from the original spot to maximize the harmony of the building and its surrounding environment.
The Hall of History is a large raised platform building constructed entirely of wood. Its architectural shape is similar to residential houses found in the northeast of Thailand or traditional ancient governmental offices. The building has a symmetrical H-shaped plan with a large wooden staircase in the center and a balcony leading to each room. The overall wooden walls have ventilated air spaces between lathes except for the solid balcony walls as to prevent the building from sunlight and rain. Besides, carved wood poles can be found in every corner of the balcony. Its panned doors and windows were made of thick wood with penetrable cogged on top. The gable roof was mixed with a hipped roof and also covered with red steel scanroof.
Hall of History, UdonThaniRajabhat University has been regarded as the model for the conservation of valuable architecture by adapting its functions while maintaining the integrity of this heritage.