อาคารพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร เชียงใหม่
อาคารพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร เชียงใหม่
ที่ตั้งเลขที่ 15 ถนนไปรษณีย์ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ผู้ครอบครอง บริษัทไปรษณีย์ไทย
ปีที่สร้าง พ.ศ. 2453
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2552
ประวัติ
อาคารพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร เชียงใหม่ เดิมเคยเป็นอาคารที่ทำการศาลมณฑลพายัพซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูนชั้นเดียวต่อมาได้ใช้อาคารหลังนี้เป็นที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแห่งแรกของจังหวัดเชียงใหม่ เปิดทำการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2453 หลังจากนั้นได้มีการต่อเติมอาคารเป็นอาคาร 2 ชั้น เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับทำงานและให้บริการประชาชนเพิ่มขึ้น และได้ตั้งชื่อที่ทำการไปรษณีย์แห่งนี้ว่า ที่ทำการไปรษณีย์แม่ปิง ต่อมาการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงอาคารและจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร เชียงใหม่มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เข้าใจด้านกิจการไปรษณีย์ในประเทศไทย แก่นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป โดยเปิดให้บริการประชาชน เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ในครั้งที่แรกที่เปิดให้บริการนั้น บริเวณชั้นล่างของอาคารยังคงใช้สำหรับให้บริการประชาชนด้านการไปรษณีย์ จนเมื่ออาคารไปรษณีย์หลังใหม่สร้างเสร็จ จึงได้ย้ายที่ทำการไปรษณีย์ทั้งหมดไปอยู่ ณ ที่ทำการหลังใหม่ เป็นผลให้พิพิธภัณฑ์ไปรษณีย์เชียงใหม่ สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มรูปแบบ ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา
อาคารพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร เชียงใหม่ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น พื้นชั้นบนเป็นไม้ ประตูและหน้าต่างเป็นไม้ หลังคาเป็นแบบหลังคาปั้นหยา มุงด้วยกระเบื้องสีแดง ลักษณะเด่นของอาคาร คือ มีการประดับตกแต่งมุขทางเข้าด้านหน้าด้วยเสาดอริค รองรับหลังคาคอนกรีตแบน เหนือหลังคาเป็นหน้าบันป้ายสี่เหลี่ยมยอดโค้ง ด้านข้างประตูทางเข้าทั้ง 3 บาน มีการตกแต่งด้วยเสาอิงดอริค
อาคารพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร เชียงใหม่ แบ่งการจัดแสดงออกเป็น 4 ส่วน คือ การบริการห้องสมุด การจำหน่ายตราไปรษณียากรเพื่อการสะสมและสิ่งสะสม การจัดแสดงตราไปรษณียากรไทยและต่างประเทศ เช่น จัดแสดงแสตมป์เก่า ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 8 เป็นต้นมา และนิทรรศการเพื่อให้ความรู้ด้านกิจการไปรษณีย์ โดยจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับการสื่อสารสมัยก่อน เช่น เครื่องเคาะรหัสมอสที่ขนาดใช้ไฟ 12 โวลท์ เครื่องมืออื่นๆ ตลอดจนโต๊ะ เก้าอี้ยาว เคาน์เตอร์ไปรษณียากร ที่เคยใช้ในสำนักงานไปรษณีย์สมัยก่อน ด้านนอกพิพิธภัณฑ์จัดแสดงตู้ไปรษณีย์เก่าจำนวน 5 ตู้ ปัจจุบัน บริษัทไปรษณีย์ไทยได้ดูแลรักษาและอนุรักษ์อาคารนี้อย่างสม่ำเสมอ มีการติดตั้งอุปกรณ์อาคารเพิ่มเติม อาทิ เครื่องปรับอากาศ และระบบไฟฟ้า
พิพิธภัณฑ์ไปรษณียากร จังหวัดเชียงใหม่
พิพิธภัณฑ์ไปรษณียากร จังหวัดเชียงใหม่
พิพิธภัณฑ์ไปรษณียากร จังหวัดเชียงใหม่
พิพิธภัณฑ์ไปรษณียากร จังหวัดเชียงใหม่
พิพิธภัณฑ์ไปรษณียากร จังหวัดเชียงใหม่
พิพิธภัณฑ์ไปรษณียากร จังหวัดเชียงใหม่
พิพิธภัณฑ์ไปรษณียากร จังหวัดเชียงใหม่
พิพิธภัณฑ์ไปรษณียากร จังหวัดเชียงใหม่
พิพิธภัณฑ์ไปรษณียากร จังหวัดเชียงใหม่
พิพิธภัณฑ์ไปรษณียากร จังหวัดเชียงใหม่
-
พิพิธภัณฑ์ไปรษณียากร จังหวัดเชียงใหม่
-
พิพิธภัณฑ์ไปรษณียากร จังหวัดเชียงใหม่
-
พิพิธภัณฑ์ไปรษณียากร จังหวัดเชียงใหม่
-
พิพิธภัณฑ์ไปรษณียากร จังหวัดเชียงใหม่
-
พิพิธภัณฑ์ไปรษณียากร จังหวัดเชียงใหม่
-
พิพิธภัณฑ์ไปรษณียากร จังหวัดเชียงใหม่
-
พิพิธภัณฑ์ไปรษณียากร จังหวัดเชียงใหม่
-
พิพิธภัณฑ์ไปรษณียากร จังหวัดเชียงใหม่
-
พิพิธภัณฑ์ไปรษณียากร จังหวัดเชียงใหม่
-
พิพิธภัณฑ์ไปรษณียากร จังหวัดเชียงใหม่
Chiang Mai Philatelic Museum
Location 15 Praisani Road, Tambon Chang Moi, Amphoe Mueang, Chiang Mai Province
Proprietor CAT Telecom Public Co., Ltd.
Date of Construction 1910
Conservation Awarded 2009
History
Chiang Mai Philatelic Museum was a former building of Monthon Payap Court,originally a single-storey brick masonry building, before being converted to the first Post and Telegraph Office in Chiang Mai on 1st April 1910. The building was later extended with the addition of a second storey for larger working and public service spaces, and was named “Mae Ping Post Office”.
CAT Telecom Public Company Limited began a restoration project and established Chiang Mai Philatelic Museum, aiming to educate students and general public about postal services in Thailand. It was first opened on 15th November 1990 while the ground floor has still been used as the post office. Afterwards the post office was moved to a new building thus Chiang Mai Philatelic Museum was able to full function since 12th April 1996.
The interior of the museum contains 4 sections; Library Service, Postage Stamp Sales and Collectibles, Displays of Thai and Foreign Postage Stamps such as stamps dating back to the reign of King Rama VIII, and Exhibition in which attendants can develop greater understandings about postal service in the past. Various dated communication tools like 12-volt Morse Code oscillator and furniture used in ancient post offices are also on display. The exterior of the museum also exhibits five old post boxes from different places. At present this building has been continually preserved and equipped with of use facilities such as air-conditioning and electrical system.