คุ้มเจ้าราชสัมพันธ์
คุ้มเจ้าราชสัมพันธ์ (อาคารพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองเทศบาลเมืองลำพูน)
ที่ตั้ง เลขที่ 10 ถนนวังซ้าย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
สถาปนิก / ผู้ออกแบบ นายช่างชาวจีน
ผู้ครอบครอง สมาคมจีนจังหวัดลำพูน เช่าโดยเทศบาลเมืองลำพูน
ปีที่สร้าง พ.ศ.2455
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2551
ประวัติ
อาคารพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมือง เทศบาลเมืองลำพูน เดิมเป็นคุ้มเจ้าราชสัมพันธ์วงษ์(พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) สร้างขึ้นในสมัยเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 10 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กลุ่มพ่อค้าชาวจีนในจังหวัดลำพูนได้รวบรวมเงินและได้ซื้อที่ดิน รวมทั้งอาคารคุ้มเจ้าราชสัมพันธ์วงษ์จากผู้ครอบครองเดิมเพื่อใช้เป็นที่พบปะพูดคุยของกลุ่มพ่อค้าชาวจีนในจังหวัด และเป็นสถานที่สอนภาษาจีนและวิชาอื่นๆ โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนหวุ่นเจิ้ง และได้ปิดกิจการลงในปี พ.ศ. 2492 ด้วยเหตุผลทางการเมือง ต่อมาระหว่างปี พ.ศ. 2495 – 2529 อาคารได้ถูกใช้เป็นโรงเรียนมงคลวิทยา หลังจากนั้นคุ้มเจ้าราชสัมพันธ์วงษ์ได้ถูกทิ้งร้าง หลังจากนั้นอาคารได้ถูกเช่าเป็นร้านอาหาร ต่อมาเมื่อร้านอาหารได้ปิดกิจการลง สมาคมชาวจีนจังหวัดลำพูนจึงให้สถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท. ลำพูน เช่าพื้นที่คุ้มเจ้าราชสัมพันธ์วงษ์เป็นสถานที่จัดรายการวิทยุจนกระทั่งหมดสัญญาลงในปี พ.ศ.2548 หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2550 เทศบาลเมืองลำพูน โดยนายกเทศมนตรีประภัสร์ ภู่เจริญ ได้ขอเช่าอาคารเพื่อการอนุรักษ์ หลังจากนั้นกลุ่มอาสาสมัคร กวงแหวน หละปูน ได้ขอเทศบาลเมืองลำพูนเข้ามาใช้อาคารเพื่อจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมือง ปัจจุบัน การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์อยู่ภายใต้การดูแลของเทศบาลเมืองลำพูนคุ้มเจ้าราชสัมพันธ์วงษ์เป็นเรือนขนาดใหญ่ 2 ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนเป็นเครื่องไม้ หลังคาจั่วผสมหลังคาปั้นหยา มุงกระเบื้องดินเผา ผังพื้นอาคารเมื่อแรกสร้างเป็น รูปตัวยู (U) แบบสมมาตร มีมุขหน้ายื่นออกมาจากปีกทั้ง 2 ข้าง มุขทั้ง 2 เชื่อมด้วยระเบียงยาวภายในเรือนมีบันไดไม้สำหรับขึ้นลงอยู่บริเวณหัวมุมของเรือนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หลังจากนั้น ได้มีการต่อเติมอาคารบริเวณด้านที่ติดกับบันไดไม้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเรือน ส่วนต่อเติมนี้สูง 2 ชั้น ซึ่งเคยใช้เป็นห้องนอนทั้งชั้นบน และชั้นล่าง ปัจจุบัน พื้นที่ชั้นล่างของอาคารใช้เป็นส่วนจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองลำพูน ประวัติคุ้ม เจ้าราชสัมพันธ์วงษ์ และประเพณีวัฒนธรรมของชาวลำพูน เพื่อให้นักเรียนนักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไปได้เข้ามาทำการศึกษา หาความรู้ส่วนพื้นที่ชั้นบนของอาคารยังอยู่ระหว่างการปรับปรุง
อาคารพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมือง เทศบาลเมืองลำพูน ถือเป็นอาคารที่ได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี สามารถรักษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ยังคงความสมบูรณ์ตามสภาพเดิมไว้ได้ และเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของเมือง
คุ้มเจ้าราชสัมพันธ์
คุ้มเจ้าราชสัมพันธ์
คุ้มเจ้าราชสัมพันธ์
คุ้มเจ้าราชสัมพันธ์
คุ้มเจ้าราชสัมพันธ์
คุ้มเจ้าราชสัมพันธ์
-
คุ้มเจ้าราชสัมพันธ์
-
คุ้มเจ้าราชสัมพันธ์
-
คุ้มเจ้าราชสัมพันธ์
-
คุ้มเจ้าราชสัมพันธ์
-
คุ้มเจ้าราชสัมพันธ์
-
คุ้มเจ้าราชสัมพันธ์
Chao Ratchasumpan’s Residence
Location Tambon Nai Muang, Amphoe Mueang, Lamphun Province
Architect / Designer an anonymous Chinese architect
Proprietor Municipal Administration of Lamphun Province Chinese Association of Lamphun
Rented by Lamphun Municipality
Date of Construction 1912
Conservation Awarded 2008
History
Formerly, the Museum of Chao Ratchasumpan building was Chao Ratchasumpan (Phutthawong Na Chiang Mai)’s residence. It was constructed in 1912 in the reign of Chaoluang Chakrakumkachonsak, the tenth ruler of Lamphun (reign of King Rama VI). The building was the residence of Chao Ratchasumpan living with his wife, Chaoying Sumpanwong and their children.
The residence’s structure is in a U-shape, 2-storey buiding. There are 2 porticoes on both sides of the building. The porticoes are connected by a long veranda. Two more bedrooms were added into another building in the north. The ground floor was laid with brick masonry, but the second floor was built from teak. The gable was combined with a hip roof.
After World War II a group of Chinese merchants in Lamphun had purchased the land including the Chao Ratchasumpan’s residence. After that the building was used for these Chinese merchants’ meetings and a Chinese language school called “Wunjerng School”. The school was closed after 4 years (in 1949) because of a state of politics. The name of “Wunjerng School” was changed into “Mongkonwitthaya” in 1952. Then it was rented as a radio station until 2005.
Then Municipal Administration of Lamphun Province has organized “Project of Local Museum” The local museum of Lamphun consists of Lamphun Chronicle (falls on Rattanakosin period), displaying Lamphun’s way of life, old photographs of Lamphun including photos of Miss Thailand from Lamphun.