ตึกแม้นศึกษาสถาน
ตึกแม้นศึกษาสถาน
ที่ตั้ง โรงเรียนเทพศิรินทร์ กรุงเทพมหานคร
สถาปนิก / ผู้ออกแบบ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
ผู้ออกแบบอนุรักษ์เพี้ยน สมบัติเปี่ยม
ผู้ครอบครอง โรงเรียนเทพศิรินทร์
ปีที่สร้าง ประมาณปี พ.ศ. 2444 - 2445 ปฏิสังขรณ์ พ.ศ. 2491 – 2492
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2550
ประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีพระราชประสงค์จะทรงทำนุบำรุงการศึกษาให้เจริญแพร่หลาย จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งโรงเรียนเทพศิรินทร์ขึ้น เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2428 ให้เป็นโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎร เมื่อแรกนั้นได้อาศัยศาลาการเปรียญในวัดเทพศิรินทราวาสเป็นที่เรียน ต่อมาในปีพ.ศ. 2438 สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศา-ภิมุข เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศวรเดช พระราชอนุชาร่วมพระครรโภทรในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระดำริจะสร้างถาวรวัตถุขึ้นในวัดเทพศิรินทราวาสเพื่ออุทิศพระกุศลสนองพระเดชพระคุณพระชนนี สมเด็จพระเทพ-ศิรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ 4 กอปรกับหม่อมแม้นพระชายาถึงแก่อนิจกรรม จึงทรงดำริสร้างตึกเรียนขึ้นและได้ทรงขอให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เขียนแบบตึกเรียนลงในที่วัดเทพศิรินทราวาส ซึ่งได้ทรงออกแบบมีห้องเรียนรวม 8 ห้อง
สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศวรเดช ทรงชักชวนข้าราชการซึ่งคุ้นเคยและได้พึ่ง พระเดชพระคุณในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ให้ร่วมบริจาคทรัพย์สร้างตึกเรียนเป็นการกุศล โดยมีพระยา นรรัตนราชมานิต (โต มานิตยกุล) พระยาทิพโกษากับพระยาเสมอใจราช (โต และ ทองดี โชติกเสถียร) และพระยาโชฎึก ราชเศรษฐี (มิ้น เลาหะเศรษฐี) ร่วมด้วย อย่างไรก็ดี ทุนที่รวบรวมได้ยังไม่เพียงพอ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สมทบ รวมทั้งเงินสนันสนุนจากกระทรวงธรรมการ การก่อสร้างตึกเรียนแล้วเสร็จและเปิด เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามอาคารนี้ว่า แม้นนฤมิตร ต่อมา หลังพิธีพระราชทานเพลิงศพพระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช พระโอรสและหม่อมแม้นพระชายา ในปี พ.ศ. 2451 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศวรเดช รับสั่งให้บรรจุพระอัฐิและอัฐิ ณ อนุสาวรีย์ในตึกแม้นนฤมิตร และหล่อรูปของทั้ง 2 ท่าน ต่อมา ใน พ.ศ. 2481 พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล ทายาทในสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศวรเดช ทรงมอบตึก แม้นนฤมิตรให้วัดเทพศิรินทราวาส
ในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา พ.ศ. 2484 – 2488 โรงเรียนเทพศิรินทร์ประสบภัยจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ระเบิดถูกทิ้งบริเวณสถานีรถไฟหัวลำโพง ตึกแม้นนฤมิตรตึกโชฎึกเลาหะเศรษฐีและโรงฝึกพลศึกษาพังพินาศ เมื่อสงครามสิ้นสุดแล้ว ทางราชการจึงได้ปฏิสังขรณ์ตึกแม้นนฤมิตรขึ้นใหม่ โดยในเดือนกันยายน พ.ศ. 2491 นายเพี้ยน สมบัติเปี่ยม สถาปนิกประจำกระทรวงศึกษาได้เป็นผู้ออกแบบโดยรักษารูปเค้าเดิมส่วนมากไว้ และดัดแปลงขยายเพิ่มห้องเรียนขึ้นอีก 4 ห้อง รวมทั้งหมด 12 ห้องเรียน แล้วเสร็จเมื่อปลายกันยายน พ.ศ. 2492 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสได้ขนานนามตึกว่า แม้นศึกษาสถาน สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ได้ร่วมมือกับโรงเรียนเป็นเจ้าภาพในพิธีเปิดตึก โดยกราบทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เสด็จมาทรงเปิดแพรคลุมป้ายนามตึก และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์เป็นผู้ไขกุญแจเปิดตึกเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2492
ตึกแม้นศึกษาสถาน เป็นอาคาร 2 ชั้น สถาปัตยกรรมโกธิครีไววัล ลักษณะเด่น คือ ประตูหน้าต่างโค้งแหลมแบบโกธิค การใช้ปูนปั้น และเสาอิงประดับเน้นเส้นตั้ง และความสูงโปร่งของอาคาร ได้รับการอนุรักษ์อย่างดี เป็นส่วนหนึ่งของประวัติอันยาวนานของโรงเรียนเทพศิรินทร์
แม้นนฤมิตร
แม้นนฤมิตร
แม้นนฤมิตร
แม้นนฤมิตร
แม้นนฤมิตร
แม้นนฤมิตร
-
แม้นนฤมิตร
-
แม้นนฤมิตร
-
แม้นนฤมิตร
-
แม้นนฤมิตร
-
แม้นนฤมิตร
-
แม้นนฤมิตร
Man Suaksasathan Building, Debsirin School
Location Debsirin School, Bangkok Architect /
Designer H.R.H. Prince Krommaphraya Narisara Nuvativongse
Conservation Designer Phian Sombatpiam
Proprietor Debsirin School
Date of Construction 1901 – 1902 Date of Reconstruction 1948 - 1949
Conservation Awarded 2007
History
With the royal intention to promote education to the public, King Rama V had H.R.H. Prince Krommaphraya Damrong Rajanubhap establish Debsirin School on 15thMarch, 1885, as a royal school that served the general public. In the early dates, the school used Sala Kan Parian (Gathering Hall) of Wat Debsirintharawat as its study hall.
In 1895, H.R.H. Prince Krommaphraya Banubandhu Vongvoradej, younger brother of King Rama V, wish to build a permanent structure in Wat Debsirintharawat to dedicate the merit to his mother, Queen Debsirinthara Borommarachini, consort of King Rama IV. He therefore, asked H.R.H. Prince Krommaphraya Narisara Nuvativongse to design a study hall for the school. The original design was a Gothic Revival building constructed with brick masonry, comprising 8 classrooms in total.
H.R.H. Prince Krommaphraya Phanuphanwongworadet invited government officials who were his acquaintances and who had been supported by Queen Debsirinthara Borommarachini to contribute to the building There are 4 contributors namely, H.R.H. Prince Krommaphraya Banubandhu Vongvoradej; Phraya Noraratratchamanit (To Manitayakun); Phraya Thipkosa and Phraya Samoechairat; and Phraya Choduekratchasetthi (Min Laohasetthi).
Since the contributed sum was not sufficient , King Rama V subsidized the project with his personal budget and some contributions from the Ministry of Education. The buildingunderwent construction and officially opened on 9thJune, 1902. King Rama V named the building “Maen Naruemit”.
In 1908, after cremation of Prince Siriwongwatthanadet, his son, and Mom Maen, his wife, H.R.H. Prince Krommaphraya Phanuphanwongworadet had their relics buried inside a monument in Maen Naruemit Building and had their sculptures cast.
On March 10, 1938, Princess Chaloemkhetmongkhol, heir of H.R.H .Prince Krommaphraya Banubandhu Vongvoradej, gave the Maen Naruemit Building to Wat Debsirintharawat.
During the Greater East Asia War, 1941 – 1945, Debsirin School and DebsirintharawatTemple were attacked by bombs on 10th July, 1945. Hua Lamphong Station, Tuek Maen Naruemit, Tuek Chodueklaohasetthi and the Gymnasium were seriously damaged.
After the war, Maen Naruemit Building was reconstructed by initiation of the Ministry of Education in September 1948. Reconstruction design was assigned to Mr. Phian Sombatpiam, architect of the Ministry who had conserved most of the original features but added 4 more classrooms, making the rooms summed to 12 in total. Reconstruction was completed in late September, 1949. The building was renamed “Maen Sueksasathan” by Somdet Phra Phutthakosachan, the Abbot of Wat Debsirintharawat. On 4thDecember, 1949, the Opening Ceremony was held, presided over by H.R.H. Prince Krommaphraya Chainatnarenthon, the Regent, and the first Key Turning was performed by Somdet Phra Phutthakosachan.
Tuek Maen Naruemit is a 2-storey Gothic Revival architecture whose prominent features are pointed arch doors and windows in Gothic style, stuccos and pilasters which accentuate vertical lines and building height. The building has been well-conserved as part of the long history of Debsirin School.