อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

อาคารนิทรรศการถาวรพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี

อาคารนิทรรศการถาวรพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี

ที่ตั้ง ถนนวรเดช ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

บูรณะโดย กรมศิลปากร

ผู้ครอบครอง กรมศิลปากร

ปีที่สร้าง พ.ศ. 2465

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2548

ประวัติ

อาคารนิทรรศการถาวร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เพื่อใช้เป็นที่ว่าการเมืองราชบุรีและที่ว่าการมณฑลราชบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 เมื่อมีการประกาศยกเลิกระบอบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล และมีการจัดระเบียบการปกครองขึ้นใหม่เป็นจังหวัดและอำเภอ อาคารหลังนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นศาลากลางจังหวัดราชบุรีจนถึงวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 เมื่อได้มีการย้ายไปใช้ศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังปัจจุบัน หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2520 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนอาคารหลังนี้เป็นโบราณสถานของชาติต่อมากรมศิลปากรได้ขอใช้อาคารเพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี โดยได้บูรณะอาคารในปี พ.ศ. 2528 – 2529และเปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2534 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นประธานในพิธีเปิด ปัจจุบันจัดแสดงทั้งสิ้น 10 ห้อง ได้แก่ ห้องธรณีวิทยา ห้องก่อนประวัติศาสตร์ ห้องทวารวดี ห้องลพบุรี ห้องอยุธยา ห้องรัตนโกสินทร์ห้องราชบุรีวันนี้ ห้องวัฒนธรรมพื้นบ้าน ห้องโอ่งมังกร และห้องกีฬา

ผังอาคารนิทรรศการถาวร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบตึกสี่หลังล้อมสนามสี่เหลี่ยม มีตึกกลางคั่นแบ่งสนามเป็น 2 ส่วน ซึ่งจัดเป็นสวนภายในบรรยากาศเรียบง่ายและร่มรื่นสวยงาม ขนาดอาคารกว้าง 30 เมตร และยาว 57 เมตร และขนาดสนามกลางอาคารทั้ง2 สนาม กว้าง 13 เมตร และยาว 17 เมตร ลักษณะอาคารเป็นแบบอาคารก่ออิฐฉาบปูนชั้นเดียวยกพื้นสูง ผนังด้านนอกทึบไม่มีระเบียง หลังคาทรงปั้นหยา มุงกระเบื้องซีเมนต์รูปว่าว จุดเด่นอยู่ที่ มุขกลางที่มีมุขโถงยื่นออกมาเป็นที่เทียบรถ ผนังมุขเป็นเสาสี่เหลี่ยมใหญ่เรียงชิดกัน ข้างละ 3 ต้น รับคานเครื่องบนประดับหน้าบันทรงโค้งหลายตอนแบบศิลปะตะวันตก กลางหน้าบันประดับปูนปั้นตราครุฑ ประตูหน้าต่างเป็นบานเกล็ดไม้ ด้านบนเป็นช่องแสงกรุกระจก เหนือหน้าต่างประดับลายปูนปั้น

ตลอดระยะเวลาที่ผ่าน อาคารนิทรรศการถาวร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี ทำให้อาคารยังคงมีสภาพที่สมบูรณ์ สามารถเป็นตัวอย่างของอาคารศาลากลางจังหวัดขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่ยังคงรักษารูปแบบและวัสดุดั้งเดิมเอาไว้ได้

 

Permanent Exhibition Hall, Ratchaburi National Museum (Former Ratchaburi Provincial Hall)

Location Woradet Road, Tambon Na Mueang, Amphoe Mueang, Ratchaburi Province

Proprietor Fine Arts Department

Date of Construction 1922

Conservation Awarded 2005

History

Permanent Exhibition Hall, Ratchaburi National Museum was constructed during the reign of King Rama VI, to serve as a government house of Monthon Ratchaburi (Ratchaburi Administrative Unit). Due to the reformation of Thailand’s administrative system in 1933, the building became a provincial hall for 48 years and was replaced by the new office in 1981. Thus the Fine Arts Department requested the building to be established as Ratchaburi National Museum, officially opened on 14th October 1991 and presided over by H.R.H. Princess Maha Chakri Sirindhorn.At present, the museum displays 10 exhibition rooms.

Permanent exhibition hall of Ratchaburi National Museum has four rectangular buildings embracing four sides of courtyard in which one building was situated right in the middle of courtyard and divided the courtyard into 2 parts; each part is approximately 13 metres in width and 17 metres in length. The courtyard was arranged as inner gardens enhancing the building’s pleasant atmosphere. The exhibition hall is 30 x 57 metres, single-storey with raised wooden floor and built of cement brick. It has no balcony and its roofs are finished with kite shaped concrete roof tiles. Another distinguished feature is the portico main entrance with the pillars. The centre of tympanum decorates with stucco moulding of Guruda. The parts of doors and windows are wooden louvers while the headlights are translucent glass panels and stucco moulding.

The Permanent Exhibition Hall of Ratchaburi National Museum has consistently been preserved in proper condition and it represents the large-scaled provincial hall enduring in forms and materials for almost 100 years.