อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

ค้นหา

พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน

พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน

ที่ตั้ง หมู่ 3 เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี

ผู้ครอบครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปีที่สร้าง พ.ศ. 2432

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2548

ประวัติ

พระจุฑาธุชราชฐาน ตั้งอยู่บริเวณแหลมวัง เกาะสีชัง ซึ่งเป็นที่เสด็จประพาสของพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งพระองค์ทรงปฏิสังขรณ์วัดที่ชาวบ้านสร้างขึ้นแต่มิได้ทรงพระราชทานชื่อวัด ต่อมารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ได้เสด็จประพาสเกาะสีชังเป็นครั้งคราวแล้วในปี พ.ศ. 2431 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธทรงประชวร แพทย์ได้แนะนำให้เสด็จมาประทับในที่ซึ่งได้อากาศชายทะเลพระองค์ทรงประทับที่เรือนหลวงที่สร้างมาแต่เดิม ในเวลาใกล้เคียงกันนั้น พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีฯ ทรงประชวร จึงเสด็จมาประทับที่เกาะสีชังด้วย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเสด็จมาด้วยในครั้งนั้น ทรงมีพระราชดำริให้หาที่สร้างพระอารามใหม่แทนที่วัดเดิมในท้องที่เพื่อมิให้พลุกพล่าน แล้วต่อมาได้สถาปนาขึ้นเป็นวัดอัษฎางคนิมิต และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างตึกขึ้น 3 หลัง เรียกว่า อาไศรยสถาน ซึ่งได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดตึกในปี พ.ศ. 2432 พระราชทานนามว่า ตึกวัฒนา ตึกผ่องศรี และตึกอภิรมย์ ตามพระนามของสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาฯ พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีฯ และพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ฯ ต่อมาได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระที่นั่งโกสีย์วสุภัณฑ์ พระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ พระที่นั่งโชติรสประภาต์ และพระที่นั่งเมขลามณี กับพระตำหนักอีก 14 หลังรวมเป็นพระราชฐาน โดยตำหนักมรกฎสุทธ์เป็นที่ประสูติของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฑาธุชธลาดิลก อันเป็นที่มาของชื่อพระราชฐาน เมื่อเกิดกรณีพิพาทร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส มีกองทหารบุกขึ้นเกาะสีชังจึงไม่เป็นที่ปลอดภัย การก่อสร้างพระที่นั่งต่างๆ ก็หยุดชะงักลง ต่อมาทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รื้อย้ายพระที่นั่งและตำหนักต่างๆ ที่สร้างด้วยเครื่องไม้ไปก่อสร้างที่อื่นโดยพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ซึ่งเป็นพระที่นั่งไม้สักองค์ใหญ่ ทรงแปดเหลี่ยม 3 ชั้น ไปสร้างริมอ่างหยกในพระราชวังสวนดุสิตและพระราชทานนามใหม่ว่า พระที่นั่งวิมานเมฆ หลังจากนั้นพระจุฑาธุชราชฐานนี้ก็ได้ใช้เป็นที่สำหรับกิจการต่างๆ จนในปี พ.ศ. 2521 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับมอบสิทธิการใช้ที่ดินจากกรมธนารักษ์ โดยใช้พื้นที่ส่วนหนึ่ง ประมาณ 5 ไร่ จัดตั้งสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเล และศูนย์ฝึกนิสิต พร้อมทั้งดูแลรักษาโบราณสถานและโบราณวัตถุในเขตที่ดิน ดังกล่าวให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน

อาคารสำคัญ อาทิ ตึกวัฒนาเป็นตึก 2 ชั้น หลังคาปั้นหยา ด้านหน้าเป็นระเบียงลูกกรงไม้ ตึกผ่องศรีเป็นตึกกลมชั้นเดียวหลังคาปั้นหยา 16 เหลี่ยม ยกคอสองตรงกลาง ตึกอภิรมย์เป็นตึกสี่เหลี่ยมผืนผ้าชั้นเดียว 2 หลังขนานกัน หลังคาปั้นหยาเรือนริมน้ำเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวและ 2 ชั้น หลังคาปั้นหยามีระเบียงลูกกรงไม้ อาคารทุกหลังที่กล่าวมามีรูปแบบสถาปัตยกรรมโคโลเนียล ซึ่งมีความโปร่งสบาย อีกทั้งตกแต่งแบบเรียบง่าย พระอุโบสถวัดอัษฎางคนิมิตร ประกอบด้วยอาคารทรงกลม ก่ออิฐฉาบปูนเซาะร่องตามแนวนอน หน้าต่างโค้งแหลม ช่องแสงกระจกสี หลังคาเป็นเจดีย์ทรงระฆัง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป โดยรอบพระอุโบสถเป็นลานประทักษิณปูหินอ่อน เสมาเป็นหินรูปทรงธรรมชาติ จารึกคำสอนในพระพุทธศาสนา

ในปี พ.ศ. 2545 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงพระจุฑาธุชราชฐานเพื่อจัดเป็นพิพิธภัณฑ์และสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ โดยในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2547 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน มีตึกวัฒนาจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเหตุการสำคัญบนเกาะสีชังสมัยรัชกาลที่ 5 ตึกผ่องศรีจัดแสดงพระราชประวัติและประวัติบุคคลผู้มีบทบาทสำคัญต่อเกาะสีชังในอดีตและตึกอภิรมย์จัดแสดงเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนเรือนไม้ริมน้ำ ชั้นบนจัดนิทรรศการและชั้นล่างใช้เป็นร้านอาหารและร้านกาแฟ

Chuthathut Ratchathan Museum

Location Mu 3 Si Chang Island, Chonburi Province

Proprietor Chulalongkorn University

Date of Construction 1889

Conservation Awarded 2005

History

Phrachutathut Ratchathan (Chutathut Ratchathan Palace ), located in Wang Cape of Si Chang Island, was renovated from a temple by King Rama IV to be a resort for his royal family. In 1889, 3 buildings named Wattana, Phorng Si and Aphirom were found by King Rama V. Afterwards more 14 villa royal residences were established in order to be one of the palace. In 1893, a dispute between Thailand and France causing an army troop to invade Si Chang Island, the palace was no longer a safety place. The building construction was ceased and the wooden throne halls and pavilions were moved and rebuilt at other sites. Manthat Rattanaroj throne hall, a large 3 storey octagonal teakwood hall was reestablished at Suan Dusit Palace and renamed as Vimanmek Mansion. In 1978, Chalalongkorn University was given the right of Phrachutathut Ratchathan land use from Treasury Department and built Marine Science Research Center and Students Training Center and at the same time preserved historical structures and elements in the palace for the public.

The important buildings are Wattana, 2 storey structure with hipped roof and wooden balustrades front corridor, Phorng Si, single storey building with 16 angle hipped roof and clerestory in the middle of the roofs, Aphirom, 2 rectangular one storey building with hipped roof, The Wooden Seaside Pavilions, comprising both 1 and 2 storeys with hipped roof and wooden railing balcony. All the buildings mentioned above are Colonial architectureswith simple decorations emphasizing harmony with the environment and good ventilation. Another insignificant construction is Ubosatha ( ordination hall ) of AsadangkhanimitTemple. The round hall was made from brick masonry with pointed arch windows, stained glass fenestra and bell shape pagoda roof. The hall enshrining a Buddha images is surrounded by round marble paved terrace and has boundary natural stones on which inscribed the teachings of Buddha.

In 2002, Chulanlongkorn University renovated the palace to be used as a museum and historical tourism attraction. Wattana Building exhibits important events on Si Chang Island in the reign of King Rama V. Phorng Si Building holds an exhibition on biographies of the King, royal family members and important persons on the island in the past. Aphirom Building presents the construction in the reign of King Rama V. As for the Wooden Seaside Pavilion, the upper floor is an exhibition hall and the ground floor is for a restaurant and coffee shop.