อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

บ้านพระยาอมเรศร์สมบัติ

บ้านพระยาอมเรศร์สมบัติ 

ที่ตั้ง 78 ซอยสามเสน 3 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ

สถาปนิก/ผู้ออกแบบ -

ผู้ครอบครอง สำนักงานเขตพระนคร

ปีที่สร้าง พ.ศ. 2457

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2545

ประวัติ

บ้านพระยาอมเรศร์สมบัติ เป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูน อิทธิพลตะวันตกในแนวอาร์ตแอนด์คราฟท์ส หลังคาทรงจั่วปาดมุม มีมุข 2 มุขทางด้านตะวันตก ก่อสร้างขึ้นราวปี 2457 โดยช่างจีนจากฮ่องกง ลักษณะเด่นคือการจัดพื้นที่ภายในที่ค่อนข้างซับซ้อน และการตกแต่งที่ประณีต อาทิ การปูพื้นด้วยปาร์เกต์ไม้เป็นลวดลายต่างๆ การตกแต่งอาคารด้วยลวดบัว ปูนปั้นและกระจกสี เดิมเป็นอาคารรูปตัว ยู ล้อมที่ว่างเปิดโล่งส่วนกลาง ซึ่งเคยเป็นลานพุ ต่อมามีการต่อเติมหลังคาคลุมเพื่อใช้พื้นที่เป็นห้องโถงภายในอาคาร

บ้านหลังนี้เดิมเป็นบ้านของมหาเสวกตรี พระยาอมเรศร์สมบัติ (ต่วน ศุขะวณิช) เจ้ากรมการผลประโยชน์ ต่อมาในปี 2487 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พระยาอมเรศร์สมบัติได้ขายบ้านหลังนี้ให้ดับนายฉวี โกมลกิติ จากนั้นสถานเอกอัครราชทูตเวียดนามได้ซื้อเพื่อใช้เป็นที่ทำการช่วงปี 2496-2516 ต่อมาในปี2516 กรุงเทพมหานคร ได้ซื้ออาคารเพื่อใช้เป็นสำนักงานเขตมาจนถึงปัจจุบัน

Phraya Amaretsombat House

Location 78 Soi Samsen 3, Samsen Road, Khet Phra Nakhon, Bangkok

Architect/Designer Unknown

Proprietor Khet Phra Nakhon

Date of Construction 1914 AD.

Conservation Awarded 2002 AD

History

Phraya Amaretsombat house is architecture of Arts and Crafts style built circa 1914 AD by Chinese builders from Hong Kong. It is hipped gable roof with 2 porches on western side. The interior is finely decoratedwith patterned teak parquets, mouldings, stuccos and coloured glass panes. The original plan of the house was U-shaped with an open fountain court in the middle; however, the court was later roofed in order to gain more interior space.

The house originally belonged to Phraya Amaretsombat, Head of Revenue Department in the reign of King Rama VI. After WWII, he sold this house to Mr. Chawi Komolkiti in 1944. Later, it was sold and used as the Vietnamese Embassy during 1953 – 1973, before it was acquired by the Bangkok Metropolitan Administration to be as Khet Phra Nakhon office until today.