วัดพระธาตุลำปางหลวง
วัดพระธาตุลำปางหลวง
ที่ตั้ง หมู่ 2 ตำบลบ้านลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
สถาปนิก/ผู้ออกแบบ -
ผู้ครอบครอง วัดพระธาตุลำปางหลวง
ปีที่สร้าง ประมาณ พ.ศ. 2042 ก่อสร้างพระธาตุ
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2545
ประวัติ
วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของนครลำปาง สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด แต่จากรูปแบบสถาปัตยกรรมสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 20 ภายในบริเวณวัด โดยเฉพาะเขตพุทธาวาส ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ อาทิ เจดีย์ประธาน วิหารหลวง วิหารน้ำแต้ม วิหารพระพุทธ อุโบสถ หอพระพุทธบาท วิหารต้นแก้ว วิหารละโว้ ซุ้มประตูโขง ล้อมรอบด้วยศาลาบาตรหรือระเบียงคด
พระธาตุ หรือเจดีย์ประธานของวัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดของวัด สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2042 ตามตำนานกล่าวว่าเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา องค์เจดีย์หุ้มแผ่นทองจังโก ที่น่าสนใจคือ ชุดบัวถลา 3 ชั้นรองรับองค์ระฆัง อันเป็นลักษณะเจดีย์ทรงลังกาในศิลปะสุโขทัย ที่รั้วรอบเจดีย์มีรูกระสุนปืน ที่กล่าวว่าเป็นกระสุนที่หนานทิพย์ช้าง หรือพญาสุลวะลือไชย ต้นสกุลเจ้าเจ็ดต้น ได้ยิงท้าวมหายศเจ้าเมืองลำพูน ซึ่งยกทัพมาตีนครลำปางจนเสียชีวิต
วิหารหลวงและวิหารน้ำแต้ม เป็นวิหารโถง รูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนา ภายในมีภาพจิตรกรรม วิหารทั้งสองมีสัดส่วนที่งดงาม และงานศิลปกรรมฝีมือช่างล้านนาในการตกแต่งส่วนต่างๆ อาทิ เครื่องประดับหลังคาลายปิดทองล่องชาดและภาพเขียนสีภายในอาคารก็งดงามน่าชมเช่นกัน วิหารหลวงยังเป็นที่ประดิษฐานกู่พระเจ้าล้านทอง เป็นพระประธานมารปางวิชัยหล่อด้วยสำริด ส่วนกู่นั้นมีขนาดใหญ่ตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นปิดทองฝีมืองานวิจิตร
ซุ้มประตูโขง คือซุ้มทางเข้าด้านทิศตะวันออก เป็นทางเข้าหลักของวัด ลักษณะเป็นซุ้มก่ออิฐถือปูนประดับปูนปั้นลวดลายละเอียดเต็มพื้นที่ ยอดซุ้มลดหลั่นเป็นทรงปราสาท ซุ้มประตูโขงนี้ถือเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของสถาปัตยกรรมล้านนา
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว สิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่วัดนี้ก็มีคุณค่าน่าศึกษา และได้มีการบูรณะและดูแลรักษาอย่างดีมาโดยตลอด
วัดพระธาตุลำปางหลวง
วัดพระธาตุลำปางหลวง
วัดพระธาตุลำปางหลวง
วัดพระธาตุลำปางหลวง
วัดพระธาตุลำปางหลวง
วัดพระธาตุลำปางหลวง
วัดพระธาตุลำปางหลวง
วัดพระธาตุลำปางหลวง
-
วัดพระธาตุลำปางหลวง
-
วัดพระธาตุลำปางหลวง
-
วัดพระธาตุลำปางหลวง
-
วัดพระธาตุลำปางหลวง
-
วัดพระธาตุลำปางหลวง
-
วัดพระธาตุลำปางหลวง
-
วัดพระธาตุลำปางหลวง
-
วัดพระธาตุลำปางหลวง
Wat Phra That Lampang Luang
Location Mu 2, Tambon Ban Lampang Luang, Amphoe Ko Kha, Lampang Province
Architect/Designer Unknow
Proprietor Wat Phra That Lampang Luang
Date of Construction circa 1799 AD. (Pagoda, the first structure)
Conservation Awarded 2002 AD.
History
Wat Phra That Lampang Luang, one of Lampang’s most significant monuments, has no record on the date of establishment, however, it is predumably built circa 15th century according to the style of art and architecture. There are several important structure in the compound, especially in Buddhawas zone, which comprises the principle pagoda, Wiharn Luang, Wiharn Nam Taem, Wiharn Phra Phut, Ubosatha,Ho Phra Phutthabat,Wiharn Ton Kaew, Wiharn Lawo, Sum Pratu Khong, surrounded by Sala Bat or galleries.
The principal pagoda is the first structure of this temple built circa 1499 AD. It is around pagoda of Lanna style; however, 3 rows on lotus mouldings which support the body of the pagoda indicate a Sukhothai influence. This pagoda, as legend says contains the Buddha’s relics. On the fence around the pagoda, there is a small hole that was caused by a bullet that Nan Thip Chang, a Lanna hero of ancient time and the founder of Chao Chet Ton family, shot Thao Mahayot, the Lord of Lamphoon who invaded Lampang circa 1732 AD. Thus Lampang was freed and Nan Thip Chang was promoted as Phraya Sulawaluechai Lord of Lampang.
Wiharn Laung and Wiharn Nam Taem are built in Lanna style. The interior of both halls is intricately decorated with red glided lacquer and paintings. The architecture and craftsmanship applied to these halls is highly distinguished in artistic value. Wiharn Luang is enshrined with a Buddha’s image, Phra Chao Lanthong, in a Lanna style Buddha’s Hall, which is large in scale and finely decorated with gilded stuccos.
Sum Pratu Khong, or Gateway on the east is the main entrance to the temple. It is elaborately decorated with stucco and the top of which is made in shape of tiered spire. Apart from these, there are more to be seen at the temple, which has been well-maintained and treasured until the present day.