อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

กุฏิเจ้าอาวาส วัดท้ายยอ

กุฏิเจ้าอาวาส วัดท้ายยอ

ที่ตั้ง 19 หมู่ 8 บ้านท้ายสระ ตำบลเกาะยอ อำเภอมือง จังหวัดสงขลา

สถาปนิก/ผู้ออกแบบ -

ผู้ครอบครอง วัดท้ายยอ

ปีที่สร้าง ต้นรัตนโกสินทร์

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2545

ประวัติ

กุฏิเจ้าอาวาส วัดท้ายยอ ประกอบด้วยเรือน 3 หลัง สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่นภาคใต้ผสมผสานอิทธิพลจีน หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเกาะยอ ชานหน้ากุฏิก่ออิฐฉาบปูน ปูนกระเบื้องหน้าวัว รอบชานกำแพงเจาะช่องกรุด้วยกระเบื้องดินเผาและกระเบื้องประดับรูปดอกไม้แบบจีนที่กึ่งกลางด้านหน้ามีซุ้มทางเข้าทรงเจดีย์ ลักษณะ โดยรวมมีความสมดุลและเรียบง่ายสมเป็นพำนักของผู้ทรงศีล

วัดท้ายยอ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2311 อย่างไรก็ดี กุฏิเจ้าอาวาสน่าจะสร้างขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากการใช้วัสดุเช่นกระเบื้องเกาะยอซึ่งเริ่มทำขึ้นโดยคนจีน มีความแพร่หลายในสมัยนั้น หรืออาจจะสร้างในช่วงรัชกาลที่ 4 ที่เปลี่ยนมาเป็นวัดธรรมยุติกนิกายร่วมสมัยกับเจดีย์บนเขาพิหารในด้านทิศใต้ของวัด ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงลังกาแบบสมัยรัชกาลที่ 4

วัดนี้ได้รับการบูรณะในปี พ.ศ. 2440 และ 2475 จากนั้นก็มีการบำรุงรักษาและซ่อมแซม เพื่อการใช้งานทั้งวัดและบริเวณเป็นอย่างดีมาโดยตลอด ท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันยังได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษในด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเฉพาะเรื่องสัดส่วนของเรือนภาคใต้โบราณที่เป็นมงคล โดยใช้กุฏิหลังนี้เป็นกรณีศึกษา

Abbot Residence, Wat Thai Yo

Location 19 Mu 8 Ban Thai Sa, Tambon Ko Yo, Amphoe Mueang, Songkhla Province

Architect/Designer Unknown

Proprietor Wat Thai Yo

Date of Construction Early Rattanakosin period

Conservation Awarded 2002 AD

History

The Abbot Residence at Wat Thai Yo comprises 3 houses of Southern Thai architectural style with some Chinese influences. The houses are entirely made of wood; the roofs are tiled with Ko Yo local terracotta tiles, where as the front terrace is brick masonry paved with large brick tiles like a Chinese forecourt. The entrance is through a gateway at the middle of the front terrace wall. Overall atmosphere is simple and serene, suitable for a monk’s residence.

Wat Thai Yo was founded in 1768; however, the abbot’s residence is believable to have been built in later date, possibly in the reign of King Rama IV, contemporary with the pagoda on the hill to the south of the temple compound.

The abbot’s residence is also important as a case study for Southern Thai architecture and local ingenuity in design and measurements, which is encouraged by the present Abbot.