อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

ค้นหา

สิมวัดกลางโคกค้อ

สิมวัดกลางโคกค้อ

ที่ตั้ง  วัดกลางโคกค้อ 31  ตำบลยางตลาด  อำเภอยางตลาด  จังหวัดกาฬสินธิ์

สถาปนิก/ผู้ออกแบบ  -

ผู้ครอบครอง  วัดกลางโคกค้อ

ปีที่สร้าง  พ.ศ. 2363

ปีที่ได้รับรางวัล  พ.ศ. 2544

ประวัติ

วัดกลางโคกค้อ  ก่อตั้งขึ้นในราว พ.ศ. 2335  โดยชาวบ้านค้อที่เพิ่งอพยพมาตั้งหมู่บ้านขึ้น ณ ที่นี้ เมื่อปี 2332  ผู้นำคือผู้ใหญ่พรมมี  เมื่อก่อตั้งวัดขึ้น ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ระหว่างหมู่บ้านค้อทางทิศเหนือ และหมู่บ้านโคกทางทิศใต้  จึงขนานนามว่า “วัดกลางโคกค้อ”

สำหรับสิมหลังนี้ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2363  เป็นสิมโปร่งแบบดั้งเดิม ยกฐานสูง  หลังคาจั่วทรงสูง แอ่นโค้งเล็กน้อยแบบอิทธิพลศิลปะล้านช้าง  ช่วงล่างเป็นปีกนกโดยรอบซึ่งน่าจะเป็นส่วนที่ต่อเติมขึ้นภายหลัง ตัวอาคารด้านหน้าและด้านข้างก่อเป็นพนักเตี้ยๆ ส่วนผนังด้านหลังพระประธานก่อสูงจรดขื่อ  การประดับตกแต่งเป็น ไม้แกะสลักที่เชิงชาย ปั้นลม และโหง่  สิมหลังนี้มีความน่าสนใจที่สัดส่วนรูปทรงที่ลงตัวแบบสถาปัตยกรรมพื้นบ้าน อีกทั้งยังเป็นสิมโปร่งที่ยังคงรูปแบบสมบูรณ์ ซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่ไม่มากนัก

สิมได้รับการบูรณะในปี 2540  โดยโครงการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ร่วมกับชาวบ้านและกรมศิลปากร  และได้ใช้งานมาจนปัจจุบัน

Sim, Wat Klang Khok Kho

Location Wat Klang Khok kho, 31 Tambon Yang Talad, Amphoe Yang Talad, Kalasin Province

Architect/Designer -

Proprietor Wat Klang Khok Kho

Date of Construction 1820 AD.

Conservation Awarded 2001 AD.

History

Wat Klang Khok kho was founded circa 1792 AD by a group of people aho settled there in 1789, led by Pho Yai Phrommi. After founding the temple, a Sim (ordination hall) was built in 1820 as an open hall with high raised floor, Lan Chang (Laos) style as seen in the slignty curved, high- pitched roof. Decorations are woodcarvings at the eaves and roof ornaments. Overall appearance is rather simple yet beautiful by architectural form. It is also significant as a rare living example of Sim in open hall type.

In 1997, the Faculty of Architecture, Khon Kane University, organized a project on conservation of vanacular architecture that students, teachers, local people, and the Fine Arts Department collaborated in restoration on this Sim. The project was a great success which emchance understanding between relevant groups. The building is well-conserved and used until today.