อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

โบสถ์ โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

โบสถ์ โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

ที่ตั้ง โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ถนนแก้วนวรัฐ ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

สถาปนิก/ผู้ออกแบบ นายแวน แอลเล็น ฉอรีส

ผู้ครอบครอง โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

ปีที่สร้าง ประมาณ พ.ศ. 2472

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2539

ประวัติ

โบสถ์ประจำโรงเรียนปรินส์รอยแบส์วิทยาลัย ก่อสร้างขึ้นด้วยเงินบริจาคจากแรงศรัทธาของคริสตศาสนิกชนทั้งชาวไทยและเมริกัน โดยพ่อครูดร.วิลเลียม แฮรีส เป็นผู้นำในการก่อตั้งโบสถ์ขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2472 เมื่อทุนทรัพย์พร้อมแล้ว นายแวน แอลเล็น แฮรีส (Van Allen Harris) น้องชายของพ่อครูฉอรีสซึ่งเป็นสถาปนิกและวิศวกร ได้เดินทางมายังเชียงใหม่ เพื่อออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโบสถ์ โดยไม่รับค่าตอบแทนใดๆ จนก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2473

อาคารโบสถ์เป็นสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์นที่นำเอาลักษณะอย่างโกธิคมาประยุกต์ใช้ โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาจั่ว ภายในเพดานสูงตามรูปจั่ว รองรับด้วยโครงหลังคาแบบ Hammer-beam roof ที่ทำเป็นซุ้มโค้งแหลมเป็นการนำเอาโครงสร้างอาคารมาเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่งได้อย่างดียิ่ง ส่วนองค์ประกอบต่างๆ เรียบง่าย แต่ยังคงไว้ซึ่งความสง่าและศักดิ์สิทธิ์ และได้ใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจประจำโรงเรียนตลอดมา

Church, Prince Royals College

Location Prince Royal’s college, Kaew Nawarat Road, Tambon Wat Ket, Amphoe Mueang, Chiang Mai Province

Architect/Designer Mr. Van Allen Harris

Proprietor Prince Royal’s College

Date of Construction 1929 AD

Conservation Awarded 1996 AD

History

The church of the Prince Royal’s college was built by contributions from faithful Christians, both Thai and American, led by Dr. William Harris in 1929. The architect was Mr. Van Allen Harris, Dr. Harris’s brother, who volunteered to design and supervise the project without receiving any fees. The church was completed in 1930.

The architecture of the church is Modern style, with some application of Gothic elements. It is a reinforced concrete structure with high-pitched gable roof. The ceiling is supported with hammer beams that were beautifully designed as part of interior decorations. Although it is moderately decorated, the building is truly dignified and sacred in the overall atmosphere.