อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์

ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์

ที่ตั้ง  195  ถนนสุรวงศ์  กรุงเทพมหานคร

สถาปนิก/ผู้ออกแบบ  นายมาริโอ  ตามาญโญ  (Mario Tamangno) และ นายโจวันนี แฟร์เรโร (Giovanni  Ferrero)

ผู้ครอบครอง  สมาคมห้องสมุดเนียลสัน  เฮส์

ปีที่สร้าง  พ.ศ. 2464

ปีที่ได้รับรางวัล  พ.ศ. 2525 ใน พ.ศ. 2412  

ประวัติ

คณะภรรยาของมิชชันนารีที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทยได้รวมตัวกันเพื่อพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนหนังสือกันอ่านเรียกว่า “The Bangkok Ladies Bazaar Association” ซึ่งต่อมาได้จัดตั้งห้องสมุดขึ้น แต่ไม่มีอาคารถาวร เจนนี เนียลสัน (Jennir Nielson) ชาวเดนมาร์ก ภรรยาของนายแพทย์ที เฮย์เวิร์ด เฮส์ (Dr. T Heyward Hays) เป็นกรรมการคนหนึ่งของห้องสมุดนี้เป็นเวลา 25 ปี จนถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2463 หลังจากนั้นคุณหมอเฮส์ได้ซื้อที่ดินถนนสุรวงศ์สร้างเป็นห้องสมุดอย่างถาวรเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงภรรยา เรียกว่าห้องสมุดเนียลสัน เฮส์  เป็นอาคารรูปแบบนีโอคลาสสิค  ออกแบบโดยนายมาริโอ  ตามาญโญ(Mario  Tamago) สถาปนิกชาวอิตาลี  และสถาปนิกผู้ช่วยคือ นายโจวันนี  แฟร์เรโร  (Giovanno  Ferrero) ผังอาคารสมมาตร  ทางเข้าเป็นโถงรูปกลมหลังคาโดม  ส่วนห้องอ่านหนังสือผังรูปตัวเอซ  หลังคาปั้นหยามุงกระเบื้องว่าว  ผนังโดยรอบเป็นหน้าต่างบานเกล็ดในซุ้มโค้งคั่นด้วยเสาอิง  อาคารนี้มีสัดส่วนที่ลงตัวและสง่างาม  ซึ่งสถาปนิกคือนายตามาญโญได้กล่าวไว้ว่าเป็นผลงานที่เขารักที่สุด และได้ดูแลการออกแบบจนถึงรายละเอียด อาคารนี้ได้ใช้เป็นห้องสมุดมาตลอดและมีการปรับปรุงบ้าง  เช่น ปรับโถงทางเข้าเป็นห้องแสดงงานศิลปะ

 

Nielson Hays Library

Location 195 Surawong Road, Bangkok

Architect/Designer Mr. Mario Tamango, Mr. Giovanni Ferraro

Proprietor Nielson Hays Library Association

Date of Construction 1921 AD.

Conservation Awarded 1982 AD.

History

In 1869, a group of missionaries’ wives’ who lived in Bangkok gathered for meeting and exchanging books for reading. The group was called “The Bangkok Ladies Bazaar Association” who later set up a small library, although without a permanent building. Jennie Neilson, a Danish who married Dr. T Hayward Hays, was a member and committee who worked for the library for 25 years until she passed away in 1920. A year later, Dr.Hays, as a memorial for his beloved wife, bought a lanf on Surawong road and had a library hall built in neoclassic style designed by Italian architects, Mr. Mario Tamagno and Mr. Giovanni Ferrero. The building is symmetrically planned with a dome circular entrance hall in the middle, leading to an H-shaped reading hall. It is so integrated, well-designed and elegant that the architect, Mr. Tamagno, himself related that it was his favorite work, which he attended to its very detail. The building has always served as library since its completion; nevertheless there have been some alterations i.e. the entrance hall has been converted to an art gallery.