อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

ค้นหา

บ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี

บ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี

ที่ตั้ง เลขที่ 252  ถนนสุขาภิบาล  ตำบลตลาดจันทบุรี  อำเภอเมือง  จังหวัดจันทบุรี

สถาปนิก/ผู้ออกแบบ สถาปนิกผู้บูรณะ: สถาบันอาศรมศิลป์ และบริษัทจันทบูรรักษ์ดี จำกัด

ผู้ครอบครอง บริษัท จันทบูรรักษ์ดี จำกัด

ปีที่สร้าง สมัยรัชกาลที่ 5

ประวัติ

หลวงราชไมตรี แต่เดิมมีนามว่า ปูณ ปุณศรี เป็นบุตรคนที่สองของหลวงประมาณราชทรัพย์ (จีนจำปา)เกิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน พุทธศักราช 2419  มีพี่น้องร่วมกัน 3 คน อาศัยอยู่ในย่านท่าหลวง (ชุมชนริมน้ำจันทบูรในปัจจุบัน)  ในวัยเด็กท่านเริ่มศึกษาที่โรงเรียนวัด และไปศึกษาต่อที่ปีนังเมื่อครั้งติดตามบิดาไปค้าขายยังประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ เมื่อเติบใหญ่ได้ดำเนินธุรกิจการค้า สืบต่อแนวทางของบิดาจนเจริญก้าวหน้า เป็นผู้นำยางพารามาปลูกเป็นคนแรกในเมืองจันทบุรี และดำเนินการค้าจนส่งผลทางเศรษฐกิจให้กับเมืองจันทบุรีมีชื่อเสียงโด่งดัง  ได้รับสมญานามว่าเป็น “บิดาแห่งยางพาราภาคตะวันออก” ซึ่งแม้เป็นเพียงชาวบ้านทำงานค้าขาย แต่ด้วยความขยันหมั่นเพียร คุณงามความดีที่ท่านทำประโยชน์ให้กับแผ่นดินมากมาย ทำให้ท่านได้รับโปรดเกล้าฯจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็น “หลวงราชไมตรี”

จากการค้นคว้าข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากเอกสารและจากการบอกเล่าพบว่า อาคารบ้านหลวงราช-ไมตรี มีคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์ทั้งในด้าน (1) ตัวบุคคล คือ คุณค่าของท่านหลวงราชไมตรี ที่มีต่อการพัฒนาเมืองจันทบุรีและพื้นที่ชุมชนริมน้ำทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคม และ (2) คุณค่าของตัวอาคาร  เป็นโบราณสถานเนื่องจากมีอายุกว่า 120 ปี มีรูปแบบที่งดงามตามอิทธิพลสถาปัตยกรรมโคโลเนี่ยล แม้จะเคยถูกต่อเติมจากเดิมที่มี 3 คูหา เป็น 5 คูหา ก็ไม่สูญเสียคุณค่าความงามเนื่องจากต่อเติมในรูปแบบสถาปัตยกรรมยุคเดียวกัน  ดังนั้นแนวทางการอนุรักษ์แบบปรับปรุงฟื้นฟู (rehabilitation) ร่วมกับการประยุกต์การ ใช้สอย (adaptive re–use) จึงได้ถูกนำมาปรับใช้กับการอนุรักษ์บ้านหลวงราชไมตรี ทำให้สามารถแยกแยะส่วนดั้งเดิมและส่วนที่ถูกปรับปรุงใหม่ได้  โดยที่ส่วนต่อเติมใหม่นั้นเป็นวัสดุที่แข็งแรงแต่สามารถรื้อถอนได้โดยไม่กระทบกับตัวอาคารเก่า ดังนั้น การปรับปรุงฟื้นฟูอาคารจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต หากแต่เป็นการเปิดโอกาสให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้การปรับเปลี่ยนอาคารในแต่ละยุคสมัย และได้สัมผัสกับของแท้ดั้งเดิม (authenticity) ของอาคารได้มากที่สุด  ทำให้คนรุ่นหลังสามารถเรียนรู้และต่อยอดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเชิงช่างได้ เพื่อให้บ้านหลวงราชไมตรีหลังนี้ได้รับการรักษาต่อไปในอนาคตอย่างยั่งยืน

ชุมชนริมน้ำจันทบูร และสถาบันอาศรมศิลป์ได้ร่วมกันดำเนินงานให้เกิดการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างสมดุล เป็นเวลากว่า 5 ปี จนเกิดเป็นวิสัยทัศน์ “วัฒนธรรมนำการค้า” และดำเนินการต่อด้วยแนวคิดกิจการสังคม (social enterprise) เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน เกิดเป็นบริษัท จันทบูรรักษ์ดี จำกัด  โดยได้รับมอบบ้านหลวงราชไมตรี จากนายแพทย์ปสารพงษ์ ปุณศรี ทายาทรุ่นที่ 3 เพื่อบูรณะเป็นบ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี (Historical Inn) เป็นทุนของโครงการ ด้วยสัญญาเช่า 30 ปี ค่าเช่าเดือนละ 1 บาท จึงร่วมหุ้นกันทั้งชุมชนและคนทั่วไปเป็นจำนวน 501 คน รวบรวมงบประมาณได้ 8.8 ล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดตัวอย่างการอนุรักษ์ตามแนวคิดกิจการเพื่อสังคม ปัจจุบันบ้านหลวงราชไมตรีได้ถูกบูรณะเป็นพื้นที่นิทรรศการในส่วนชั้นล่าง และมีห้องพักจำนวน 12 ห้อง จาก 12 เรื่องราวชีวิตของหลวงราชไมตรี  มีเอกสารสำคัญถูกจัดแสดงไว้ในแต่ละห้องพัก เพื่อเป็นการสื่อความหมายและเรียนรู้คุณค่าของประวัติชีวิตของหลวงราชไมตรีสู่ผู้มาเยือนและคนรุ่นหลัง

Baan Luang Rajamaitree Historic Inn

Location 252 Sukapiban Road, Talad Chantaburi, Muang Chanthaburi

Architect/Designer Restoration architect: Arsomsilp Institute and Chantabun Rak Dee Company Limited

Owner Chantabun Rak Dee Company Limited

Year Built The reign of King Rama 5

History

Luang Rajamaitree, born Poon Poonsri on April 10, 1876, was a second child of Luang Pramanrajasab (Jeenjampa). He had three siblings and lived in Tha Luang neighborhood (currently the Chantabun riverside community.) He received his early education in a Buddhist temple school and furthered his education in Penang when accompanying his father on a trading voyage to Malaysia and Singapore. He later inherited his father’s business and became very successful. He was the first person to introduce and grow rubber trees in Chantaburi. His prosperous business had a great impact on the economic success and brought reputation to Chantaburi province. He is recognized as the “Father of the Eastern Rubber Tree.” Even though he was only an ordinary man in a trading business, his diligence and contribution to the country resulted in the nobility status appointed by His Majesty King Rama VI as “Luang Rajamaitree.”

Studies of related documents and hearsays on the history of the mansion found that Luang Rajamaitree’s mansion was granted historical significance recognition in the aspects of (1) the person, which was Luang Rajamaitree himself for his impact on the economic and social development of Chantaburi as well as the community along the river, and (2) the building, for its value as a beautiful 120 year old historic site influenced by Colonial architecture. Even though it has undergone an alteration to convert from a three-unit building to five, the mansion has never lost its glamour as similar architectural style was adopted in the construction of the new units. Conservation models that combine rehabilitation and adaptive re-use strategy has been applied to the preservation project of Baan Luang Rajamaitree making it possible to distinguish the original parts from the newly renovated ones. Materials used in the new units are durable and can be removed without causing any damage to the original structure. As such, the restoration of an old building will no longer cause any obstruction to the modification of the building in the future but will open the way for the next generation to learn about building modification techniques from different periods. They will be able to connect to the authenticity of the building, to learn and combine the intelligence of the local artisan to continue the preservation work of Luang Rajamaitree’s mansion into the future.

Chantabun riverside community and Arsomsilp Institute has been working together for more than 5 years in promoting balanced preservation and development of the community. “Culture-Led Regeneration” has become the community’s vision that has been carried out under the concept of Social Enterprise aiming to retain sustainability which led to the founding of Chantabun Rak Dee Company Limited. The company received Luang Rajamaitree’s mansion from Doctor Pasarnpong Punsri, a third generation descendant, as a capital of the project, to be renovated into Baan Luang Rajamaitree Historic Inn under the 30 year lease contract with a monthly rent of 1 Baht. Community people were also given a chance to buy shares, and a total of 501 people in the community have bought shares worth of 8.8 million Baht in an effort to set an example of the heritage preservation under the concept of social enterprise. Today, the lower level of Luang Rajamaitree’s mansion has been renovated into an exhibition area with 12 guest rooms that depict 12 life stories of Luang Rajamaitree. Significant documents are displayed in each room to convey meanings and virtues of Luang Rajamaitree’s biography for visitors to the inn and people of the future generation.