ร้านสวรรค์โอสถ
ร้านสวรรค์โอสถ
ที่ตั้ง เลขที่ 46 เชิงสะพานเทศบาล 2 ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ก่อสร้างโดย ช่างชาวจีน
ผู้ครอบครอง บัญชา ไตรยะเมฆิน
ปีที่สร้าง สมัยรัชกาลที่ 5
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2553
ประวัติ
ร้านสวรรค์โอสถเป็นร้านขายยาร้านแรกของชุมชนอัมพวาซึ่งเป็นชุมชนริมน้ำที่มีการพัฒนามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการอนุญาตให้ชาวบ้านถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของตนเอง ทำให้มีการจับจองพื้นที่ริมน้ำแถวปากคลองอัมพวามากขึ้นจากเดิมที่เป็นแค่เรือนแพค้าขายของอยู่บริเวณปากคลองในสมัยอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น หลังจากนั้นมีชาวจีนอพยพเข้ามาตั้งแหล่งทำมาหากินในพื้นที่มากขึ้น และชุมชนอัมพวาได้กลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของจังหวัดสมุทรสงครามและจังหวัดใกล้เคียงในยุคนั้นต่อมาการค้าขายในชุมชนอัมพวาค่อยๆซบเซาลง หลังจากนั้น ได้มีการปรับปรุงฟื้นฟูชุมชนโดยความร่วมมือทั้งจากนักวิชาการ ภาครัฐและเอกชน และผู้อยู่อาศัย ทำให้ชุมชนอัมพวากลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญของจังหวัดในปัจจุบัน
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของร้านสวรรค์โอสถเป็นเรือนแถวไม้ชั้นเดียว ตั้งขนานไปกับคลองอัมพวา หันหน้าบ้านเข้าหาคลอง หลังคาปั้นหยา มุงด้วยสังกะสีลูกฟูก ประตูเป็นบานเฟี้ยมไม้ซึ่งแต่เดิมจะใช้แผงไม้ที่สามารถยกได้เป็นประตูโดยการใช้ไม้ค้ำยันไว้ในเวลาเปิดร้าน มีช่องลมเหนือประตูเพื่อใช้สำหรับระบายอากาศ หน้าต่างเป็นหน้าต่างไม้มีลักษณะคล้ายฝาไหลที่สามารถเลื่อนซ้อนทับกันเพื่อควบคุมแสงที่เข้ามาในบ้าน พื้นบ้านเป็นไม้กระดานแผ่นใหญ่ ฝาผนังเป็นไม้กระดานตีซ้อนเกล็ดฝ้าเพดานเป็นแผ่นไม้กระดานตีซ้อนทับกัน สำหรับการใช้ประโยชน์ภายในอาคารนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนล่างใช้เป็นพื้นที่สำหรับการขายยาและการทำยา ซึ่งในอดีตในการทำยานั้นจะใช้เครื่องบดยาแบบโบราณแล้วนำมาอัดเป็นยาเม็ดตามสูตรโบราณโดยใช้แรงคนแต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้เป็นเครื่องบดยาโดยใช้ไฟฟ้า แต่ยังคงอัดเป็นยาเม็ดโดยคนอยู่และส่วนบนใช้สำหรับการอยู่อาศัย แบ่งย่อยออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนของห้องนอนจำนวน 2 ห้อง และห้องพระ 1 ห้อง เหนือประตูทางเข้าร้านมีป้ายชื่อร้านแบบโบราณ เขียนด้วยอักษรไทยคู่กับอักษรจีนสีทองบนพื้นสีดำ
ถึงแม้ว่าร้านสวรรค์โอสถจะมีอายุมากกว่า 100 ปี แต่ยังรักษาลักษณะทางสถาปัตยกรรมของเรือนแถวไม้ริมน้ำไว้ได้อย่างดียิ่งเนื่องจากที่ผ่านมาได้มีการดูแลรักษาและซ่อมแซมมาโดยตลอด อีกทั้งในปี พ.ศ. 2547 ยังได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากสำนักให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการประเทศเดนมาร์ก (DANIDA) ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักนโยบายและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเทศบาลตำบลอัมพวา ในการบูรณะซ่อมแซมอาคารตามโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมในชุมชนอัมพวา จึงทำให้ร้านสวรรค์โอสถยังคงมีสวยงามและมีเสน่ห์ตามเอกลักษณ์ของเรือนแถวไม้ริมน้ำดั้งเดิม และยังคงเป็นอาคารประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าเรื่องราวในอดีตซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนอัมพวามากระทั่งถึงปัจจุบัน
สวรรค์โอสถ อัมพวา
สวรรค์โอสถ อัมพวา
สวรรค์โอสถ อัมพวา
สวรรค์โอสถ อัมพวา
สวรรค์โอสถ อัมพวา
สวรรค์โอสถ อัมพวา
สวรรค์โอสถ อัมพวา
สวรรค์โอสถ อัมพวา
สวรรค์โอสถ อัมพวา
สวรรค์โอสถ อัมพวา
สวรรค์โอสถ อัมพวา
สวรรค์โอสถ อัมพวา
สวรรค์โอสถ อัมพวา
-
สวรรค์โอสถ อัมพวา
-
สวรรค์โอสถ อัมพวา
-
สวรรค์โอสถ อัมพวา
-
สวรรค์โอสถ อัมพวา
-
สวรรค์โอสถ อัมพวา
-
สวรรค์โอสถ อัมพวา
-
สวรรค์โอสถ อัมพวา
-
สวรรค์โอสถ อัมพวา
-
สวรรค์โอสถ อัมพวา
-
สวรรค์โอสถ อัมพวา
-
สวรรค์โอสถ อัมพวา
-
สวรรค์โอสถ อัมพวา
-
สวรรค์โอสถ อัมพวา
Sawan Osot
Location 46 Thetsaban 2 bridge, Tambon Amphawa, Amphoe Amphawa, Samut Songkhram Province
Architect / Designer Chinese craftman
Proprietor Bunchar Traiyamaekin
Date of Construction during the reign of King Rama V
Conservation Awarded 2010
History
The Sawan Osot is the first pharmacy in Amphawa, a river community that has developed since the reign of King Rama V when it was permitted to have property ownership rights. There was a gradual increase in ownership of land by the Amphawa canal, from small grocery rafts during the Ayutthaya and Rattanakosin Era to later become an important economic center of Sumutsongkram and neighboring provinces.With the cooperation of the public.private sector, and the local community the Amphawa community began extensive restorative works of the area surrounding the river to become the most significant cultural and historical destination in the province.
Sawan Osot is a single storey row house facing the Amphawa canal. With hipped roof and wooden doors originally using removable wood planks, supported in an upright position with wood panels. Above the door are small breezeway gaps for ventilation. Windows are designed as sliding wood panels that can be overlapped to controllighting. Large pieces of wood are used to line the floor, wood wall bearing and wooden ceilings using layers of wood for sturdiness.
The ground floor of the row house serves as a pharmacy selling medicine and local medication, In the early days, an old-fashioned grinder is used grind medicinal mixtures and compressed manually. Today the grinder has been replaced by a modern electric grinder, although medicine is still compressed by hand. The second floor is alliving space with two bedrooms and a worship room. Above the front door is an old sign of the pharmacy in large gold lettering in Thai and Chinese on a black background.
Although over a century old, the architectural design and structure has been remarkably well maintained and conserved, having undergone continual restorative works. In 2004, several organisations including the Architecture department of Chulalongkorn University, The Natural Resources and Environmental Policy, and the district office of Amphawa joined together to restore the building and wooden row houses along the Amphawa canal, rendering Sawan Osot to continually maintain its rustic charm and beauty as an old-fashioned row house pharmacy nestled along the river that flows a rich historic tale of the past.