อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

ค้นหา

ไชน่าอินน์ คาเฟ่

ไชน่าอินน์ คาเฟ่

ที่ตั้ง เลขที่ 20 ถนนถลาง ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 

ผู้ครอบครอง ตระกูลตัณฑวนิช เช่าโดย สุภัทร พรหมจรรย์ 

ปีที่สร้าง สมัยรัชกาลที่ 5  

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2551 

ประวัติ 

ไชน่าอินน์ คาเฟ่ เดิมเป็นบ้านของ อ๋องบุ้นเทียม พ่อตาของพระพิทักษ์ชินประชา (ตันม้าเสียง) คหบดีคนสำคัญของ เมืองภูเก็ต และเป็นสำนักงานกิจการโพยก๊วน สำหรับรับซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เห็นได้จากป้ายด้านหน้าอาคารซึ่งเป็นป้ายสำนักงานแลกเปลี่ยนเงินตรา ฮับหล่องฮวด และป้ายภาษาจีนครึ่งวงกลมเป็นข้อความประชาสัมพันธ์กิจการว่าห้างแห่งนี้รับโอนเงินไปยังเมืองเซี่ยเหมินมณฑลฮกเกี้ยนในจีน รวมถึงจารึกภาษาจีนที่มีความหมายว่า ให้ธุรกิจเฟื่องฟูงอกงามภายหลังจากพ่อตาของพระพิทักษ์ชินประชาเสียชีวิต อาคารหลังนี้ได้ตกทอดมายังทายาทตามลำดับ ต่อมาอาคารอยู่ในสภาพทรุดโทรมและถูกปิด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2545 คุณสุภัทร พรหมจรรย์ ได้เข้ามาเช่าอาคารและเริ่มบูรณะปรับปรุงเพื่อเป็นร้านอาหารและขายของตกแต่งบ้าน การบูรณะซ่อมแซมใช้เวลา 2 ปี และในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2547 

คุณสุภัทรได้เปิดร้านโดยใช้ชื่อว่า ไชน่าอินน์ คาเฟ่ 

ไชน่าอินน์ คาเฟ่ เป็นตึกแถว 1 คูหา กว้างประมาณ 5 เมตร สูง 2 ชั้น และมีส่วนต่อเติมชั้นเดียวอยู่ด้านหลัง ผนังอาคารหลักเป็นแบบผนังก่ออิฐรับน้ำหนัก ผังพื้นอาคารหลักเป็นรูปตัวยู (U) ชั้นล่างประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก คือ อาเขด หรือ หง่อคาขี่(Koh Kaki แปลว่า ทางเดินกว้าง 5 ฟุตจีน) เป็นพื้นที่ว่างด้านหน้าอยู่ใต้ระเบียงชั้นบนซึ่งช่วยกันแดดกับฝน ส่วนค้าขายด้านหน้าติดกับอาเขต ช่องเปิดโล่งกลางอาคารมีห้องน้ำซึ่งต่อเติมขึ้นภายหลังและมีบันไดขึ้นลงอยู่ติดกับ ผนังอาคารหลักด้านทิศตะวันตก และส่วนค้าขายด้านหลังมีประตูเชื่อมต่อกับสวนหลังบ้าน และเชื่อมต่อกับส่วนต่อเติมชั้นเดียวเป็นร้านอาหารและห้องครัวชั้นบนประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ส่วนเก็บของมีระเบียงด้านหน้า (อยู่เหนืออาเขต และส่วนค้าขายด้านหน้า) ส่วนพักอาศัย(อยู่เหนือส่วนค้าขายด้านหลัง) และทางเดินเชื่อมระหว่างส่วนเก็บของด้านหน้าและส่วนพักอาศัย หลังคาของส่วนเก็บของด้านหน้าและส่วนพักอาศัยด้านหลังเป็นหลังคาจั่วเชื่อมต่อกันด้วยหลังคาเหนือบันไดทางเดินเชื่อมชั้นบน หลังคาทั้งหมดเดิมมุงด้วยกระเบื้องหลังคาดินเผา ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นกระเบื้องลอนคู่ ประตูทางเข้าด้านหน้าเป็นประตูไม้บานปิดคู่แกะสลักเป็นลวดลายพรรณพฤกษาแบบศิลปะจีน เหนือประตูมีป้ายร้านเดิมแขวนอยู่ และมีไม้แกะสลักเป็นรูปสิงโตตั้งอยู่มุมซ้ายและขวาเหนือวงกบประตู ด้านข้างซ้ายขวาของประตูเป็นหน้าต่างไม้บานเปิดคู่กรุกระจกใส ภายในกรอบหน้าต่างมีซี่เหล็กกับขโมย 

ไชน่าอินน์ คาเฟ่ เป็นตัวอย่างของความพยายามในการปรับปรุงฟื้นฟูอาคารเดิมเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจกรรมทางเศรษฐกิจเสียดายที่ยังไม่ได้ปรับปรุงฟื้นฟูให้ถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างเคร่งครัด จึงทำให้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมดั้งเดิมบางส่วนสูญเสียไป เช่น การเปลี่ยนแปลงกระเบื้องผนังชั้นล่าง และการเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคา การรื้อผนังบานเกล็ดไม้ เพื่อทำระเบียงตลอดแนวด้านหน้าอาคารชั้นบน  

  

China Inn Café & Restaurant 

Location 20 Thalang Road, Tambon Talat Yai, Amphoe Mueang, Phuket Province 

Architect(s)/Designer(s): - 

Proprietor Tanthawanit ‘s family Rented by Supatr Prommachan

Date of Construction Reign of King Rama V  

Conservation Awarded 2008 

History 

“China Inn Cafe” adopts the architectural style known as “Chino-Portuguese Style”, a combination of west and east civilization established by a wealthy person from Phuket. This building was formerly used as money transfer location to China. Hokkien Chinese who came to trade would send money back to their homes. The outstanding characteristics was “Ngo-ka-gee” which is an arch bridge among the buildings. This arch bridge served as a protective shade for people. 

The China Inn Café was old and damaged having been unlived on a long time. However, Sitti Tanthawanit, the new owner appreciated this style of architecture and decided to rent the building, renovate it and currently runs a restaurant business. The opening day of China Inn Café was on 14 October 2004.