อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

ค้นหา

บ้านขุนนคร

บ้านขุนนคร

ที่ตั้งเลขที่ 1664 ถนนราชดำเนิน ตำบลท่าวัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้ครอบครอง เทพไท เสนพงศ์

ปีที่สร้าง พ.ศ.2435

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2548

ประวัติ

บ้านขุนนคร เป็นตึกแถวรุ่นแรกๆ ที่สร้างขึ้นกลางเมืองนครศรีธรรมราช สร้างโดยเถ้าแก่เหมียน ซึ่งเป็นพ่อค้า จากเมืองจีนได้มาแต่งงานกับนางปูนิ่ม คนไทยเชื้อสายจีน โดยสร้างเป็นอาคารร้านค้าขายของชำต่างๆ เครื่องปั้นดินเผาจำพวก โอ่ง ไห อ่าง อั้งโล่ หม้อ ถ้วยชาม ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ถูกส่งเข้ามาทางเรือ เมื่อถึงแก่กรรม บุตรชาย 2 คน คือ นายยกสุย และนายยกฝั้น (ขุนนครเลาหวนิช) จึงเป็นผู้รับมรดกตึกและตั้งชื่ออาคารว่า นครวานิช จนเมื่อย่านการค้าเปลี่ยนแปลง กิจการของร้านนครวานิชก็ซบเซาลงไป ประกอบกับทายาทรุ่นหลังที่ได้รับการศึกษาสูงส่วนหนึ่งเป็นข้าราชการจึงย้ายถิ่นฐานและเลิกทำการค้าที่อาคารหลังนี้ไป

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นอาคาร 2 ชั้น ในบริเวณพื้นที่ขนาด 8.00 x 27.60 เมตร ด้านหน้าอาคารแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเสาผนังอาคารเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูน มีการผสมผสานลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมจีนและตะวันตก โดยความเป็นจีนเห็นได้จากการวางผังแบบสมมาตร มีบ่อน้ำบริเวณโถงด้านหลังของอาคาร รูปทรงของอาคารและหลังคาที่มีชายคาตื้นสั้น ในขณะที่ บัวหัวเสา ลวดบัว และซุ้มโค้ง เป็นลักษณะที่มาจากอิทธิพลตะวันตก รูปแบบภายนอกของอาคารดูเรียบง่าย ภายในเพดานสูง มีพื้นที่เปิดโล่งทำให้โปร่งสบาย เหมาะกับภูมิอากาศเมืองร้อน ส่วนบนอาคารด้านหน้าเป็นพนักขอบหลังคาแบบผนังทึบยาว ตลอดแนวปิดหลังคาจั่วที่อยู่ด้านหลัง ตรงกลางส่วนนี้มีป้ายปูนปั้นเขียนว่า บ้านขุนนคร พ.ศ. 2435 หลังคาอาคารมุงด้วยกระเบื้องขอดินเผาพื้นเมือง

หลังจากทิ้งร้างและเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ ผู้ครอบครองจึงได้มีการการบูรณะตึกเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้สอย โดยรักษารูปแบบเดิมไว้ให้มากที่สุด ใช้เวลาในการบูรณะปรับปรุงประมาณ 1 ปี จึงได้เปิดดำเนินการอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2543 โดยใช้ชื่ออาคาร สภากาแฟ บ้านขุนนคร ทำให้ตึกเก่าแก่หลังนี้มีชีวิตชีวาและได้ทำประโยชน์ต่อสังคมอีกครั้ง ก่อนจะมีการปรับเปลี่ยนการใช้งานเป็นธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สาขานครศรีธรรมราช ในปัจจุบัน และปรับปรุงซ่อมแซมอาคาร อีกครั้ง หลังจากเกิดอุทกภัยน้ำท่วมในเขตตัวเมืองนครศรีธรรมราชจนสร้างความเสียหายต่ออาคาร รวมทั้งปรับเปลี่ยนรายละเอียดการตกแต่งภายในบางส่วน บริเวณชั้นล่างเพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานของธนาคารสาขา แต่ยังคงแนวทางในการอนุรักษ์อาคารโดยใช้รายละเอียดวัสดุและลวดลายตกแต่งที่สอดคล้องกับอาคารเดิมตามเจตนาของผู้ครอบครอง ในการพยายามรักษารูปแบบดั้งเดิมของอาคารด้วยความภาคภูมิใจ

Ban Khun Nakhon (Khun Nakhon House)

Location 1664 Ratchadamnoen Road, Tambon Tha Wang, Amphoe Mueang, Nakhon Si Thammarat Province

Proprietor Thepthai Senphong

Date of Construction 1892

Conservation Awarded 2005

History

Ban Khun Nakhon, one of the first rowhouses in the heart of Nakhon Si Thammarat, was constructed by Mr. Mian, a Chinese immigrating merchant, to function as retail store mainly selling earthenware imported from China. After Mr. Mian passed away, the store was inherited to his two sons, Mr. Yoksui and Mr. Yokfan (Khun Nakhon Laohawanit) and named “Nakhon Wanit”. However, the business later became abortive since its surrounding area has been changed and the well-educated heirs have moved to work in urban cities and abondoned their family business.

This house is a 2-storey brick masonry building representing a mixture of Chinese and Western styles known as “Chino-Portuguese”. Its Chinese style could be seen from the symmetrical plan, the form and the roof; whereas Western influences are visible in decorative elements such as capitals, mouldings, and arches. External appearance of the building looks simple and the interior rooms feature high ceilings for comfort and good ventilation, suitable for the hot climate.

Due to the commitment and intention of the present owner, this old building has been revived and served its function to the society while still being remained its originality in architectural style. The restoration took approximately 1 year, and then it resumed the function in 2000 under the name “Sapha Kafae Ban Khun Nakhon”. The building has been refurbished again as the Islamic Bank of Thailand, Nakhon Si Thammarat branch. Despite a devastating flood within the city, the bank was overhauled and adapted its lower floor’s interior to serve the bank’s operation. However, all decorative details and materials have been maintained according to the intention of present owner who wants to preserve the ingenuity of this heritage.