อาคารขุนอำไพพาณิชย์
อาคารขุนอำไพพาณิชย์
ที่ตั้ง 1047 - 1042 ถนนอุบล ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมือง จังหวัดศรีษะเกษ
สถาปนิก/ผู้ออกแบบ -
ผู้ครอบครอง นายนพดล ช. วรุณไชย
ปีที่สร้าง พ.ศ. 2468
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2544
ประวัติ
อาคารขุนอำไพพาณิชย์ มีรูปแบบเป็นอาคารพาณิชย์ติดถนน (ตึกแถว) มี 6 คูหา ชาวบ้านเรียกกันว่า “ตึกขุนอำไพ” เพราะเดิมเป็นบ้านของขุนอำไพพาณิชย์ (นายอินทร์ นาคสีหราช) ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมฝรั่ง ก่อสร้างโดยช่างชาวจีนและชาวญวน มีการประดับตกแต่งที่แพรวพราวด้วยไม้ฉลุเหนือประตูหน้าต่าง ลวดลายปูนปั้นแบบจีน และการเขียนสีที่แปลกและน่าสนใจ ได้แก่ เสาด้านหน้าชั้นล่างเซาะร่องเลียนแบบการก่อหินอย่างฝรั่ง และมีการเขียนลาย “หินอ่อน” เพิ่มเติม ทำให้ดูเหมือนเสาทำด้วยหินอ่อนเรียงสลับลายกัน ถึงแม้ฝีมือช่างจะทำลวดลายไม่เหมือนหินอ่อนทีเดียวนัก แต่ก็นับเป็นความแปลกพิเศษอีกอย่างหนึ่ง
อาคารนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2468 ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ ขุนอำไพพาณิชย์ได้ใช้เป็นบ้านส่วนตัวของท่าน ต่อมาเมื่อท่านถึงแก่กรรม ทายาทได้ปล่อยเช่าอาคารเป็นที่พักอาศัยและประกอบกิจการค้าประมาณ 40 ปี จากนั้นอาคารก็ถูกปล่อยทิ้งร้างทรุดโทรม จนได้รับการบูรณะในปีพ.ศ. 2542 ปัจจุบันอาคารนี้มีผู้เช่าเพื่อประกอบกิจการร้านอาหาร
อาคารขุนอำไพพาณิชย์
อาคารขุนอำไพพาณิชย์
อาคารขุนอำไพพาณิชย์
อาคารขุนอำไพพาณิชย์
อาคารขุนอำไพพาณิชย์
อาคารขุนอำไพพาณิชย์
-
อาคารขุนอำไพพาณิชย์
-
อาคารขุนอำไพพาณิชย์
-
อาคารขุนอำไพพาณิชย์
-
อาคารขุนอำไพพาณิชย์
-
อาคารขุนอำไพพาณิชย์
-
อาคารขุนอำไพพาณิชย์
Khun Amphaiphanit Building
Location 1047–1042 Ubon Road, Tambon Mueang Tai, Amphoe Mueang, Si Saket Province
Architect/Designer Unknown
Proprietor Mr. Nophadol Ch. Warunchai
Date of Construction 1925 AD.
Conservation Awarded 2001 AD.
History
Khun Amphaiphanit Building is a 6-bayed shophouse, originally a residence of Khun Amphaiphanit (Mr. In Naksiharat). The architecture is a mixture of Chinese and European style built by Chinese and Vietnames builder,decorated with intricate woodcarvings at the light windows and mural paintings. The interesting part is at the front pilasters on the ground floor, which are rusticated and painted as “fake” marble. Althoughrt the craftmanshio is not very professional, it adds to the building an extraordinary and pleasant look.
The building was completed in 1925, the year that King Rama VII ascended the throne. Khun Amphaiphanit lived here until he passed away, then his heir let the building for a period of 40 years approximately. After that, the building was deserted and left to decayuntil restoration was carried out in 1999. At present, it is rented and rehabilitated as a restaurant.