อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

ค้นหา

สำนักงานบริษัท อีสต์เอเชียติก (ประเทศไทย) จำกัด

สำนักงานบริษัท อีสต์เอเชียติก (ประเทศไทย) จำกัด

ที่ตั้ง  ตรอกโอเรียนเต็ล เขตบางรัก  กรุงเทพมหานคร 

สถาปนิก/ผู้ออกแบบ  นายอันนิบาเล  ริกอตตี  (Annibale Rigotti) 

ผู้ครอบครอง  บริษัท สุราทิพย์ จำกัด 

ปีที่สร้าง  ประมาณ พ.ศ. 2443 

ปีที่ได้รับรางวัล  พ.ศ. 2527 

ประวัติ 

อาคารสำนักงาน บริษัท อีสเอเชียติก (ประเทศไทย) จำกัด  เป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูน  หลังคาปั้นหยาสถาปัตยกรรมแบบเรอเนสซองส์รีไววัล (Renaissance Revival) ที่เน้นการตกแต่งด้วยช่องโค้งกลม (round arch) โครงสร้างระบบผนังรับน้ำหนัก สูง 3 ชั้น หันหน้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา  ตัวอาคารอยู่ลึกเข้าไปด้านใน แต่เน้นทางเข้าจากแม่น้ำด้วยบันไดขนาดใหญ่เป็นทางเข้าหลัก ซึ่งทำเป็นมุขยื่นออกมาเล็กน้อย  ผนังหน้ามุขก่อสูงขึ้นเสมอความสูงของหลังคา 

บริษัท อีสต์เอเชียติก (ประเทศไทย) จำกัด (กลุ่มบริษัท อี เอ ซี)  เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2427  โดยกัปตัน เอช. เอน. แอนเดอร์เซน  นักเดินเรือชาวเดนมาร์ค ได้เดินเรือมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา เทียบท่าที่ท่าโอเรียนเต็ล และได้เปิดบริษัทการค้าขึ้น คือบริษัท อีสเอเชียติก แห่งนี้  และได้ใช้เป็นที่ทำการของบริษัทมาตั้งแต่เริ่มแรก จนถึง พ.ศ. 2538  จากนั้นจึงได้ย้ายไปที่อาคารลุมพินีทาวเวอร์  อาคารนี้ปัจจุบันไม่ได้ใช้งาน กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน และมีการซ่อมแซมครั้งล่าสุดเมือ พ.ศ. 2544  

  

Office of the East Asiatic (Thailand) Company Limited 

Location Oriental Alley, Khet Bang Rak, Bangkok 

Architect/Designer Mr. Annibale Rigotti 

Proprietor Surathip Co., Ltd. 

Date of Construction 1900 AD. 

Conservation Awarded 1984 AD. 

History 

Office of the East Asiatic (Thailand) Company Limited is a 3-storey brick masonry building with hipped roof, wall bearing structure. The architecture is Renaissance Revival style, with  roundarches and a porch accentuated by a front panel of brick masonry built as high as the  roof. The building is set back from the river, however, the entrance with broad and high staircase makes the building distinguidhable and stately in appearance. 

The East Asiatic (Thailand) Company Limited (the E.A.C. Group) was founded in 1884 by Captain H. N. Andersen, a Danish mariner who came to Thailand via the Chao Phraya river and anchored at Oriantal pier. His company was opened at the site since then and the office building had been used until 1995 that it was moved to   Lumpini Tower. The old office building is conserved as a historic building and has been registered as a National Monument.