อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

เรือนนางเผอะ  (เรือนโคราช)

เรือนนางเผอะ  (เรือนโคราช)

ที่ตั้ง จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม  ตำบลตะขบ  อำเภอปักธงชัย  จังหวัดนครราชสีมา

สถาปนิก/ผู้ออกแบบ สถาปนิกผู้บูรณะ: บริษัท สถาปนิกพอดี จำกัด โดยนายพหลไชย เปรมใจ

ผู้ครอบครอง บริษัท อุตสาหกรรมไหมไทย จำกัด

ปีที่สร้าง สมัยรัชกาลที่ 4

ประวัติ

เรือนนางเผอะเดิมตั้งอยู่ที่ตำบลพลกรัง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา นับเป็นเรือนครูสำหรับการเรียนรู้เรื่องเรือนโคราชมาเป็นเวลานาน เพราะเป็นเรือนโคราชที่สมบูรณ์และคงสภาพเดิมได้มากที่สุดหลังหนึ่งในจำนวนไม่กี่หลังที่เหลืออยู่ ซึ่งถ้าย้อนกลับไปสมัยรัชการที่ 4 เรือนหลังนี้ถูกสร้างและใช้เป็นที่พักอาศัยของครอบครัวนายสร้อยและนางแหร่ม ทรัพย์สูงเนิน และอยู่กันต่อมาจนยกให้ลูกสาวคนสุดท้องคือนางเผอะ เพ็งพลกรัง ซึ่งแต่งงานกับนายฉ่ำ เพ็งพลกรัง ซึ่งได้ขยายเรือนออกมาด้านข้างเพิ่มเติมจากของเดิม ก่อนจะมาอยู่ในความดูแลของนางอัมพร ยศตรา ลูกสาวของนางเผอะ และในพุทธศักราช 2551 ได้ถูกย้ายมาไว้ที่จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม ตำบลตะขบ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้การครอบครองของ บริษัทอุตสาหกรรมไหมไทย จำกัด ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่รวบรวมงานสถาปัตยกรรม ศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณีของภาคอีสาน ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้มรดกอันทรงคุณค่าที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษของชาวอีสาน

เรือนโคราชไม่ใช่เรือนไทยภาคกลางและไม่ใช่เฮือนอีสาน แต่ได้รับอิทธิพลมาจากทั้งสองภาคจนเกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเรือนโคราช ซึ่งความโดดเด่นทั้งหมดนี้พบได้ที่ “เรือนนางเผอะ” เนื่องจากตัวเรือนมีการสร้างในสองช่วงเวลาที่แตกต่างกัน โดยช่วงแรกสร้างในส่วนเรือนนอนและเกยที่ได้รับอิทธิพลมาจากเรือนไทยภาคกลางอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือเป็นบ้านไม้ชั้นเดียวยกใต้ถุนสูง หลังคามีองศาที่ชันรูปร่างคล้ายจอมแห มีระบบการก่อสร้างเป็นระบบสำเร็จรูป สามารถถอดประกอบได้ทุกชิ้น เสาเรือนเป็นเสากลมยอดเสามีหัวเทียน ฝาบ้านคล้ายฝาปะกนแต่เป็นเพียงลวดลายมิใช่เกิดจากการเข้าไม้ มีการลดระดับของแต่ละส่วนมากกว่า 40 เซนติเมตร จนเกิดช่องว่างที่เรียกว่าช่องแมวลอด ประตูหน้าต่างยึดด้วยสลักเดือยโดยเปิดเข้าภายในห้อง การปลูกเรือนจะวางสันของหลังคาตามร่องตะวัน (หันหน้าจั่วไปทางทิศตะวันออกและตะวันตก)  และในช่วงที่ 2 ที่มีการต่อเติมเรือนโข่งต่อออกมาจากเกยของเรือนนอนจะได้รับอิทธิพลมาจากเฮือนอีสาน ที่มีการปรับลดองศาของหลังคาลงมาเหลืออยู่ที่ 40 องศา ฝาตีแนวนอนแต่ยังคงเป็นระบบถอดประกอบได้เหมือนเดิม การต่อเติมส่วนนี้เป็นการต่อเติม เพื่อใช้เป็นพื้นที่เอนกประสงค์ มิใช่เป็นการต่อเติมเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของอีกหนึ่งครอบครัว เพราะว่าภาคอีสานจะยกบ้านหลังใหม่สำหรับแยกครอบครัว และจะไม่ใช้ชานบ้านในการเชื่อมกันแต่จะเชื่อมต่อกันโดยใช้เดิ่น (ลานบ้าน)เดินทะลุหากัน

การวางแผนปรับปรุง บูรณะและอนุรักษ์สำหรับเรือนนางเผอะ เริ่มดำเนินการก่อนที่จะมีการย้ายมาตั้งไว้ที่ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม  ด้วยการเก็บสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ขนาดขององค์ประกอบต่างๆ และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนของการรื้อ โดยในการรื้อจะทำสัญลักษณ์ไว้ทุกชิ้นส่วนเพื่อสามารถนำกลับมาประกอบใหม่ตามตำแหน่งเดิมทั้งหมดได้ ส่วนที่ชำรุดและขาดหายจะทำขึ้นใหม่และเติมให้ครบทุกส่วน สำหรับการยกเรือนใหม่นั้นได้เพิ่มฐานรากที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กสำหรับรับเสาทุกต้นเพื่อยืดอายุของตัวเรือนให้อยู่ได้นานที่สุด มีการปรับเปลี่ยนวัสดุมุงหลังคาจากสังกะสีเป็นแป้นไม้ที่มีสีใกล้เคียงกับสีของตัวเรือน และไม้ส่วนต่างๆ ของเรือนจะถูกทำความสะอาดและทาน้ำยารักษาเนื้อไม้เท่านั้นเพื่อให้เห็นผิวและสี ของไม้ที่อยู่ตามสภาพเดิมให้มากที่สุด หลังจากเรือนนางเผอะได้ประกอบแล้วเสร็จบนที่ตั้งใหม่ก็ยังคงทำหน้าที่เป็นเรือนครูสำหรับเรือนโคราชต่อไป โดยมีผู้สนใจแวะเวียนมาเยี่ยมชมอย่างต่อเนื่อง

 

Ruan Nang Peu (Ruan Korat)

Location: Jim Thompson Farm, Takob Sub-District, Pak Thong Chai District, Nakhon Ratchasima

Architect/Designer: Restoration architect: PO-D Architect Company by Mr. Paholchai Premchai

Owner: The Thai Silk Company Limited

Year Built: The reign of King Rama IV

History

Ruan Nang Peu, formerly located at Ponkrang Sub-district, Muang Nakhon Ratchasima, has been recognized as the master of Korat style houses for a long period of time as it was the most complete and remain in its original shape than the others. The house, built during the reign of King Rama IV, as a primary home of Soi and Ram Sapsoongnern. Their family had been living there until the house was finally passed on to Nang Peu Pengponkrang, the youngest daughter. Nang Peu married Nai Cham Pengponkrang who expanded the house by building an addition on the side. The house later became under the care of Nang Ampon Yodtra, Nang Peu’s daughter. In 2008, the house was relocated to Jim Thomson Farm in Takob Sub-district, Muang Nakhon Ratchasima under the possession of The Thai Silk Company. The farm was established to house collections of northeastern architectures, arts, cultures and traditions in order for the future generations to learn about the valuable heritage of their ancestors.

Korat style house is neither of central Thai nor Isan architecture, but was a blend of both regions that give it its unique features, all of which can be found in “Nang Peu House.” The house was built in two different periods. The first part built was the sleeping quarter and the mounting platform which was obviously influenced by the Central Thai architecture for it is a one storey house raised on stilts with steep roofs at an angle that resembles the pyramidal roof. The house is modular built and can be disassembled for rebuilt. The pillars are of round shape with tenon joints on the top. The wood-like wall panels are created with patterns. The level of one quarter is built at more than 40 centimeter lower than another. The gap between each level is left open called “the cat’s gate.” Doors and windows are attached to the frame with dowels, and swing into the room. To build a house, the roof ridge is usually positioned to parallel the sun light. (Gables facing east and west) The second period was when another quarter was added to the mounting platform of the sleeping quarter and was influenced by the Isan style architecture whereas the roof pitch was adjusted to 40 degree angle. The wall panels are still of wood planks installed horizontally and are being completely modular. This new space was built to add a multipurpose area to the house, not for another family to live. In the northeast, the new family will be given a new home within the same compound and houses will never be adjoined with a terrace. Instead, they will be sharing a courtyard where people walk through from one house to another.