บ้านศรีบูรพา
บ้านศรีบูรพา
ที่อยู่ ซอยพระนาง ถนนพญาไท เขตพญาไท กทม.
ผู้ครอบครอง นางชนิด สายประดิษฐ์
ปีที่ก่อสร้าง ประมาณ พ.ศ. 2478
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ.2557
ประวัติ
บ้านศรีบูรพาสร้างขึ้นเพื่อเป็นเรือนหอของนายกุหลาบ สายประดิษฐ์ เจ้าของนามปากกาศรีบูรพา กับ นางชนิด สายประดิษฐ์ โดยได้รับประทานที่ดินจากหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ (ต่อมาได้รับสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์) ซึ่งได้รับประทานที่ดินจากพระนางเธอลักษมีลาวัณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นที่มาของชื่อ ซอยพระนางซอยเก่าแก่ซอยหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
หลังจากแต่งงานแล้ว "ศรีบูรพา" และคุณยายชนิดเดินทางไปออสเตรเลีย เพราะในระหว่างนั้นเหตุการณ์ทางการเมืองเริ่มจะมีความผันผวน ประกอบกับกิจการหนังสือพิมพ์ประชามิตร-สุภาพบุรุษก็ต้องหยุดลง ศรีบูรพาจึงนำบ้านไปจำนองกับธนาคาร ต่อมาศรีบูรพาและมิตรสหายถูกจับในข้อหากบฏจึงถูกคุมขังอยู่ที่คุกบางขวางเกือบ 5 ปี ระหว่างนั้นคุณยายชนิดได้ไปเช่าบ้านอีกหลังในละแวกซอยภูมิวิจิตรอยู่ โดยให้ผู้อื่นเช่าบ้านเพื่อชดใช้หนี้สินที่จำนองบ้านไว้กับธนาคารคราวไปออสเตรเลีย
ตัวบ้านเป็นรูปทรงแบบตะวันตกประยุกต์ มีสองชั้น หน้าจั่วหลังคาหน้าบ้านที่โค้งลาดลงมา อันเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมในยุคนั้น ตัวบ้านตั้งอยู่ด้านในของพื้นที่เพื่อเปิดสนามหน้าบ้านให้โล่งกว้างสำหรับใช้ทำกิจกรรมต่างๆ ภายในบ้านนั้นชั้นล่างเป็นส่วนทำงาน เป็นที่ทำงานเขียนและที่เก็บหนังสือ โดยเชื่อมต่อกันกับส่วนรับประทานอาหาร แสดงให้เห็นถึงลูกเล่นเป็นกรอบผนังโค้งเป็นวง ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยมีให้เห็นมากนัก และมีห้องครัวตรงหลังบ้าน ส่วนชั้นบนเป็นที่สำหรับอยู่อาศัย บ้านหลังนี้ได้มีการต่อเติมเพิ่มในภายหลังตรงบริเวณปีกขวาของตัวบ้านโดยออกแบบให้มีความกลมกลืนกันเพื่อเพิ่มส่วนใช้สอยให้มากขึ้นและส่วนที่เพิ่มนี้ก็กลายมาเป็นส่วนสำคัญที่สุดของบ้านในเวลาต่อมา
ปัจจุบันคุณยายชนิดได้จัดตั้งเป็นบ้านนักเขียนแห่งแรกของประเทศไทย ในนาม “บ้านศรีบูรพา” โดยจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กจำลองภาพในห้องทำงานในครั้งก่อนของศรีบูรพา โดยชั้นล่างจะเป็นห้องสมุดที่ใช้ทำงาน และจัดแสดงเครื่องใช้ต่างๆ เมื่อครั้งที่ศรีบูรพายังเคยมีชีวิตอยู่ เช่น โต๊ะทำงาน เครื่องพิมพ์ดีดคู่ใจของศรีบูรพา เก้าอี้ที่ได้รับประทานมาจาก พระนางเธอลักษมีลาวัณวางแสดงไว้ด้วย นอกจากนี้ยังเก็บรวบรวมภาพถ่ายของศรีบูรพา หนังสือและงานเขียน เช่น หนังสือพิมพ์ประชามิตร-สุภาพบุรุษ และต้นฉบับลายมือจำนวนหนึ่ง พร้อมยังจัดแสดงภาพประวัติหนังสือ ที่เขียนหนังสือ ที่อ่านหนังสือ รวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ อันทรงคุณค่าไว้ให้คนรุ่นหลังได้เห็นให้ได้ศึกษาอันนำเป็นการระลึกถึงนักเขียนศรีบูรพาผู้ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกจากองค์กรยูเนสโก เมื่อปี พ.ศ.2548
บ้านศรีบูรพา
บ้านศรีบูรพา
บ้านศรีบูรพา
บ้านศรีบูรพา
บ้านศรีบูรพา
บ้านศรีบูรพา
บ้านศรีบูรพา
-
บ้านศรีบูรพา
-
บ้านศรีบูรพา
-
บ้านศรีบูรพา
-
บ้านศรีบูรพา
-
บ้านศรีบูรพา
-
บ้านศรีบูรพา
-
บ้านศรีบูรพา
Baan Sri Burapha
Location Soi Pranang, Phayathai Road, Payathai, Bangkok
Owner Chanit Saipradit
Year Built Approximately 1935
Year Awarded 2014
History
Baan Sri Burapha, a house built for a newly wedded couple, Kulap Saipradit, pen name Sri Burapha, and his wife, Chanit Saipradit on a piece of land given to them by Prince Wan Waitayakon Worawan (later appointed as His Royal Highness Prince Naradhip Bhongseprabhan.) The land was originally the property of Princess Lakshamilavan, the royal consort of King Vajiravudh, thus giving the street the name “Soi Pra Nang”, one of Bangkok’s oldest streets.
“Sri Burapha” and his wife, Chanit travelled to Australia due to the political unrest and his publishing house, Prachamit-Suphapburut was forced to shut down. Sri Burapha had to mortgage his own home. Sri Burapha and his group of friends were arrested for treason. He was sentenced to 5 years in Bang Kwang Prison. During his jail time, Chanit lived in a rental house in Soi Poomvichit and rented out their house to pay for the mortgage they took out when they went to Australia.
The Western styled house has two levels. The front of the house features a curved asymmetrical gable roof which was a very popular architectural style back then. The house situated far back on the lot to allow for a broad, open front yard for outdoor activities. The first floor writer’s work area and the library that adjacent to the dining room showcase the arched wall partitions rarely seen today. There is a kitchen in the back of the house and the second floor is the living quarter. An annex on the right side of the house was later added to expand the usable space and was designed to blend in with the original structure. This addition later became the most important part of the house.
Today, the house was designated the first writer’s house of Thailand under the name “Baan Sri Burapha”, a small museum was set up duplicating the scene of Sri Burapha’s work life. The first floor consists of a library and an exhibit of Sri Burapha’s equipments just as it appeared when he was alive such as his working desk, his trusted typewriter and a chair given to him by Princess Lakshamilavan. The museum also houses Sri Burapha’s photograph collections, books and his works such as Prachamit-Suphapburut newspaper with some of his handwritten manuscripts, a display of his biographic images, his desks used for writing and reading as well as some tools that are worth sharing with the generation of the future to see and study from. The museum is also a memorial honoring the life of Sri Burapha who was acclaimed by Unesco in 2005 as one of the World’s most important people.