อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

ค้นหา

บ้านป้ายิ่ง

บ้านป้ายิ่ง

ที่ตั้ง บ้านเลขที่ 145 หมู่ 3 ตำบลบ้านแหลม อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

สถาปนิก/ผู้ออกแบบ ช่างชาวจีนไม่ปรากฏชื่อ

ผู้ออกแบบอนุรักษ์ กรมศิลปากร โดย วสุ โปษยะนันทน์

ผู้ครอบครอง บุญยิ่ง กิ่งแก้ว

ปีที่สร้าง พ.ศ. 2454

ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2554

ประวัติ

บ้านป้ายิ่งเป็นเรือนไทย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพชรบุรี นายเชยและนางอ๋วนได้สร้างขึ้นโดยใช้ช่างชาวจีนซึ่งมีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมกันมากในสมัยนั้น ในปี พ.ศ.2462 นายมุ่นเซ่งจั่นบุญมี บุตรนายเชยและนางอ๋วน ได้รื้อบ้านริมน้ำมาปลูกเป็นเรือนครัวทางด้านทิศตะวันออกของเรือนใหญ่โดยมีทางเดินเชื่อมต่อกัน เนื่องจากที่ตั้งของบ้านป้ายิ่ง ซึ่งมีช่วงเวลาน้ำทะเลหนุนเอ่อ ทำให้ระดับน้ำสูงท่วมเป็นประจำทุกปีจึงมีการถมพื้นที่ให้สูงขึ้นประกอบกับอายุของตัวบ้าน ทำให้บ้านเตี้ยลงจนเข้าไปใช้สอยบริเวณใต้ถุนบ้านไม่สะดวก โคนเสาเรือนผุกร่อน เนื้อปูนของกระเบื้องหลังคาเสื่อมสภาพ รวมทั้งปั้นลมและฝาผนังไม้ส่วนใหญ่ได้เสื่อมสภาพไปมาก ในปี พ.ศ. 2551 นางบุญยิ่ง กิ่งแก้ว บุตรนายมุ่นเซ่ง จั่นบุญมี ผู้เป็นเจ้าของบ้านในปัจจุบัน และลูกหลาน ได้ทำการบูรณะซ่อมแซมบ้านให้คงสภาพเดิมมากที่สุดเพื่อให้เหมาะสมกับการพักอาศัยดังเดิม

บ้านป้ายิ่งเป็นเรือนไม้ยกพื้นสูง ทรงสอบ หลังคาจั่วทรงจอมแห มุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์ประตูและหน้าต่างไม้ ใช้ประตูบานเฟี้ยม มีการประดับด้วยลวดลายไม้แกะสลักที่มีความหมายมงคล การวางผังเรือนมีลักษณะปิดล้อมแบบสมมาตร แนวแกนหลักของเรือนวางตั้งฉากกับแม่น้ำเพชรบุรี มีบันได ซุ้มประตูทางเข้า ชานแดด พาไล เรือนกลาง และเรือนใหญ่วางในตำแหน่งกลางแนวแกน เรือนบริวารตั้งอยู่ทางด้านซ้ายและขวาของชานแดดด้านทิศตะวันออกของพาไล เรือนกลาง และเรือนใหญ่มีส่วนที่ต่อเติมขึ้นภายหลังเป็นระเบียงที่มีหลังคาคลุมกว้าง 2 เมตร ขนานไปกับผนังห้องทั้ง 3 เป็นพื้นที่พักผ่อนของครอบครัวและมีทางเดินเชื่อมไปเรือนครัว ลักษณะการวางผังเรือนบ้านป้ายิ่งมีอัตลักษณ์แตกต่างจากการวางผังเรือนของคนไทยพื้นถิ่นทั่วไปที่นิยมวางตามตะวัน แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมการปลูกสร้างอย่างจีนและองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมไทย ถือเป็นตัวอย่างของเรือนไทยของกลุ่มคนไทยเชื้อสายจีนในชุมชนลุ่มน้ำเพชรบุรี

การซ่อมแซมและการปรับปรุงบ้านป้ายิ่งได้มีการรื้อถอนส่วนต่อเติมที่ไม่สวยงามออก ซ่อมเปลี่ยนส่วนที่เสื่อมสภาพตามรูปแบบวัสดุ และเทคนิคช่างแบบดั้งเดิม มีการปรับดีดยกเรือนให้สูงขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม โดยยังคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยในปัจจุบันด้วยการสร้างอาคารต่อเติมเป็นห้องน้ำและครัวในลักษณะที่มีความกลมกลืนกับตัวบ้าน พร้อมด้วยการอนุรักษ์ระเบียงพักผ่อนที่มีความทรงจำของครอบครัวไว้ แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของเจ้าของบ้านในการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมไทยที่มีเอกลักษณ์และคุณค่าเอาไว้ให้ได้มากที่สุด

  

Pa Ying House

Location 145, Mu 3, Tambon Ban Laem, Amphoe Ban Laem, Petchburi Province

Architect / Designer Unknown Chinese Craftsman Conservation

Designer Fine Arts Department by Vasu Poshyanandana

Proprietor Bunying Kingkaew

Date of Construction 1911

Conservation Awarded 2011

History

Pa Ying House is a traditional house located on the bank of the Petchburi River. Mr. Choei and Mrs. Ouan hired a Chinese craftsman to build the house in a popular style at that time. In 1919, their son, Mr. Munseng Junbunme, demolished the house on the river bank to build a kitchen house in the East of the major house connected by a corridor. Due to the location of the house, it was flooded annually so the area was filled up for higher level until the basement could not be used. The house was ruined seriously. In 2008, Mrs. Bunying Kingkaew, a daughter of Mr. Munseng Junbunme, and her descendants have restored the house to its original condition as much as possible for living.

It is a single storey wooden house with raised floor. The gable roof is covered with cement roof tiles. The door panels are decorated with carved wood in floral design. The major unit and second unit are located in the center axis while the subordinate units are located on the left and right side of the open terrace. The roof terrace was built in the East for a living area of the family and there is a walkway connecting to the kitchen. The plan of the house has a unique style different from the plan of the house of the local Thai people. It is presented to a combination of Chinese and Thai architectural style, which is an example of the house of a Thai-Chinese community in the Petchburi River Basin.

The restoration used traditional materials and techniques. The house was raised higher from flooding. It also takes into account of the benefits of living with the addition of a bathroom and a kitchen that blends in with the house presenting to the determination of the owner to preserve the house as a valuable architectural heritage of the province.