บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
ที่ตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
สถาปนิก / ผู้ออกแบบ ไม่ปรากฏชื่อ
ผู้ออกแบบอนุรักษ์ W.H.Associates Ltd.,Part. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐิติวุฒิ ชัยสวัสดิ์อารี ดร.ยุวรัตน์ เหมะศิลปิน ธเนศเกื้อพงษ์ไทย และ สิริศักดิ์ ภิญโญมหากุล
ผู้ครอบครอง สมนึก และ กรรณิการ์ ตัณฑวณิช ทายาทรุ่นที่ 3 ของตระกูล
ปีที่สร้าง พ.ศ. 2453
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2553
ประวัติ
พระพิไสยสรรพกิจ (ตันม้าส่าย) เป็นบุตรของหลวงบำรุงจีนประเทศ และเป็นพี่ชายพระพิทักษ์ชินประชา (ตันม้าเสียง)ท่านได้สร้างบ้านพักอาศัยก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบผสมผสานระหว่างตะวันตกและจีนขึ้นมาในปี พ.ศ. 2453 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กิจการทำเหมืองแร่ดีบุกบนเกาะภูเก็ตเจริญรุ่งเรือง หลังจากพระพิไสยสรรพกิจเสียชีวิตลง บ้านหลังนี้ได้ตกทอดเป็นของลูกหลาน ปัจจุบันครอบครองโดยคุณสมนึก –คุณกรรณิการ์ ตัณฑวิณิช ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 มีการบูรณะอาคารซึ่งทำโดยช่างท้องถิ่น มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบให้เรียบง่ายเพื่อความสะดวกในการดูแลรักษา เช่น เปลี่ยนประตูและหน้าต่างเป็นบานไม้แบบเรียบ เปลี่ยนวัสดุมุงหลังคาเป็นกระเบื้องลอน และเปลี่ยนผนังภายในเป็นผนังไม้อัด และมีการต่อเติมอาคารด้านหลังโดยไม่ได้คำนึงถึงเอกลักษณ์เดิม
ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 มีการบูรณะครั้งที่ 2 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้อาคารกลับไปเป็นแบบดั้งเดิมตั้งแต่เริ่มสร้าง โดยอาศัยภาพถ่ายของบ้านในยุคแรกเป็นต้นแบบในการบูรณะ อีกทั้งเจ้าของบ้านต้องการให้บ้านกลับมาเป็นศูนย์รวมของครอบครัวอย่างเดิม โดยเน้นให้มีการเก็บบรรยากาศแบบเดิมเอาไว้ทั้งหมด โดยเฉพาะการใช้สอย การจัดวางเครื่องเรือนเดิม การประดับตกแต่งภายใน ขณะเดียวกันก็ต้องมีความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวันด้วย นอกจากนี้ยังมีการต่อเติม ส่วนห้องน้ำชั้นบนเพื่อความสะดวกสบายในการพักอาศัย โดยต่อเติมทางด้านหลังเหนือส่วนบริการที่สร้างขึ้นใหม่ ซึ่งส่วนต่อเติมนี้ไม่ได้เชื่อมต่อโครงสร้างกับอาคารเก่าเพื่อป้องกันการทรุดตัวไม่เท่ากันในอนาคต มีการเพิ่มเติมงานระบบวิศวกรรมต่างๆ เข้าไปในอาคาร เช่น การเดินระบบไฟฟ้าและแสงสว่างใหม่ทั้งหมด และการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่จะเดินระบบโชว์แนวอย่างเป็นระเบียบ เพื่อความสะดวกในการบำรุงรักษา
บ้านพระพิไสยสรรพกิจมีพื้นที่ใช้สอยชั้นล่างประกอบด้วยมุขทางเข้าด้านหน้า โถงรับแขก บันไดหลักและบันไดรอง ห้องทำงานและห้องนั่งเล่น ห้องนอน 2 ห้อง ห้องอาหาร ห้องครัว และห้องน้ำ ส่วนพื้นที่ใช้สอยชั้นบนเหมือนกับชั้นล่าง ยกเว้นไม่มีห้องครัวและห้องอาหาร พื้นชั้นล่างเป็นพื้นซีเมนต์ปูกระเบื้องซีเมนต์ลายโบราณพื้นชั้นบนเป็นพื้นไม้ ผนังห้องภายในกั้นด้วยผนังไม้บังใบแนวตั้ง ตอนบนของผนังเว้นเป็นไม้ระแนงเพื่อระบายอากาศ ประตูหน้าต่างเป็นแบบบานเปิดคู่ทั้งหมด หลังคาอาคารเป็นหลังคาปั้นหยา ส่วนหลังคามุขด้านหน้าเป็นหลังคาจั่ว ทั้งหมดมุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์ นับได้ว่า บ้านพระพิไสยสรรพกิจเป็นแบบอย่างของความพยายามและความตั้งใจที่จะรักษาสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าวัฒนธรรมท้องถิ่น ด้วยตัวเจ้าของเองอย่างน่าชื่นชม เช่นเดียวกับบ้านของพระพิทักษ์ชินประชา
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
-
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
-
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
-
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
-
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
-
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
-
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
-
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
-
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
-
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
-
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
-
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
-
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
-
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
-
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
-
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
-
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
-
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
-
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
-
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
-
บ้านพระพิไสยสรรพกิจ
Phra Pisai Sappakit House
Location Muang District, Phuket
Architect / Designer not find name
Conservation Designer W.H. Associates Ltd., Part. Asst. Prof. Thitiwut Chaisawad-Aree Prof. Yuwarat Hemasinlapin Thanate Keurpongthai Sirisak Phinyomahakul
Proprietor Somnuk and Kannika Tanthawanit, 3rd generation descendents
Date of Construction 1910
Conservation Awarded 2010
History
Phra Pisai Sappakit (Tan Ma Sai), older brother of Phra Bhitak Chinpracha (Tan Ma Siang), built his 2 storey Chino-Portuguese house with brick masonry in 1910. In 1947, the house was renovated by local craftsmen to be for simple structure and easy maintenance suchas plain wooden door and windows, carved roofing, interior plywood wall and added back hall with no consideration of old characteristic reservation . The second renovation was in 2008 with the objective of rendering the building into its original style, by using pictures of the house from the first period as reference. Moreover, the owner wished to create the house to be the family center like in the old days and emphasize old ambiance reservation, especially the use of space, old furniture setting, interior decoration, by not omitting the comfort of everyday lifestyle. The new building was not connected to the old structure to prevent subsidence and the new engineer systems as electricity, light and air conditioner were installed.
The lower level of Phra Pisai Sappakit House comprises of the front entrance, hall, main and auxiliary staircases, workroom, living room, 2 bed rooms, dining room, kitchen and toilet. The upper floor has the same applicable spaces but without kitchen and dining room. The ground floor is made from ancient design tile cement while the upper level is wooden. The interior walls are divided by vertical jointed wood which their upper parts have wide laths for better ventilation. All windows and doors are opened in pair. The cement tile roof of the house is hipped style but its front entrance is gabled.
Same as Phra Bhitak Chinpracha House, this house is considered as an eminent example of great effort and strong intention in cultural architecture preservation by the owner.