ฮกแซตึ๊ง
ฮกแซตึ๊ง
ที่ตั้ง 427 ถนนศรีอุทัย อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
ผู้ครอบครอง คุณเสงี่ยม ปาลวัฒน์วิไชย
ปีที่สร้าง สมัยรัชกาลที่ 6
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2550
ประวัติ
ฮกแซตึ๊งเป็นชื่อร้านขายยาเก่าแก่คู่เมืองอุทัยธานี ร้านฮกแซตึ๊งก่อสร้างขึ้นเมื่อใดไม่ทราบแน่นอน แต่ประมาณอายุได้ว่าเก่าแก่กว่าร้อยปี ความเป็นมาของร้านฮกแซตึ๊งนั้นควบคู่มากับการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนจีนที่อุทัยธานี กล่าวคือ บริเวณที่ตั้งของฮกแซตึ๊งนั้น แต่เดิมเป็นที่ตั้งของโรงเจเล่งเน่ยยี่ ที่ตั้งขึ้นเพื่อเผยแผ่ศาสนา เมื่อมีประชาชนมาสักการะเจ้าแม่กวนอิมและไหว้พระที่โรงเจ ก็จำเป็นจะต้องมีร้านขายยาเพื่อให้บริการแก่ประชาชนดังกล่าว ดังนั้น ทางโรงเจจึงก่อตั้งร้านฮกแซตึ๊งขึ้น โดยชื่อร้านก็มีความหมายที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง คือ คำว่า ฮก แปลว่า ผู้มีบุญ แซ หมายถึง การเกิด และตึ๊งแปลว่า สถานที่หรือชุมชน รวมความว่าเป็นการเกิดที่มีบุญ นอกจากจะเป็นร้านขายยาแล้ว ฮกแซตึ๊งยังให้บริการตรวจรักษาฟรีแก่ผู้ยากไร้และให้ที่พักอาศัยแก่ชาวจีนที่อพยพหนีภัยแล้งมาจากเมืองจีน โดยมีอาหารเลี้ยง 3 มื้อ ส่วนผู้เข้ามาพักอาศัยก็ช่วยทำงานที่โรงเจและที่ร้านจนได้งานแล้วจึงค่อยออกไปประกอบอาชีพตั้งตัวเป็นหลักฐานต่อไป ในประเพณีงานบุญ งานกินเจ ชาวจีนในจังหวัดก็จะมาชุมนุมกันในย่านนี้ จนได้รับการขนานนามว่าเป็นชุมชนชาวจีนแห่งลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง
อาคารฮกแซตึ๊ง เป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานแบบจีนและแบบพื้นถิ่น วางผังแบบสมมาตรตั้งอยู่ภายในกำแพงล้อมรอบ ด้านหน้าเป็นสวน ตัวอาคารมี 2 ชั้น หลังคามุงกระเบื้องดินเผาพื้นบ้าน กลางอาคารเป็นคอร์ทเปิดโล่ง หน้าร้านมีป้ายร้านเขียนว่า ยี่ห้อฮกแซตึ๊ง ขายยาจีน ยาฝรั่ง ยาต่างๆ ส่วนภายในโถงกลางร้านเหนือตู้เก็บยามีป้ายอักษรจีน เขียนว่า ฮกแซตึ๊ง ตัวอาคารและเครื่องเรือนต่างๆ ทำด้วยไม้ทั้งหมด โถงกลางชั้นล่างเป็นร้านยา มีตู้และลิ้นชักเก็บยา และมีโต๊ะ เก้าอี้ ที่นั่งสำหรับลูกค้าและแขก เพราะฮกแซตึ๊ง นอกจากจะเป็นร้านขายยาและรักษาผู้ป่วยแล้ว ยังเป็นที่สังสรรค์จิบน้ำชาของชาวจีนในสมัยนั้นอีกด้วย
ปัจจุบันร้านฮกแซตึ๊งไม่ได้รองรับการรักษาหรือขายยาให้กับชุมชนแล้วเนื่องจากความเจริญที่มีการพัฒนาเรื่องสาธารณสุขมากขึ้น แต่เจ้าของอาคารซึ่งมีความรู้สึกผูกผันกับท้องถิ่นและอดีตของชุมชนได้อนุรักษ์ตัวอาคารและรักษาสภาพภายในให้มีลักษณะกับความรู้สึกเหมือนร้านยาฮกแซตึ๊งยังคงเหมือนในอดีตเพื่อให้ลูกหลานในชุมชนได้รู้ถึงรากเหง้า และให้คนนอกชุมชนได้เห็นมรดกสถาปัตยกรรม ได้เข้าใจวิถีชีวิตในอดีตของชาวเมืองอุทัยธานี
ฮกแซตึ๊ง
ฮกแซตึ๊ง
ฮกแซตึ๊ง
ฮกแซตึ๊ง
ฮกแซตึ๊ง
-
ฮกแซตึ๊ง
-
ฮกแซตึ๊ง
-
ฮกแซตึ๊ง
-
ฮกแซตึ๊ง
-
ฮกแซตึ๊ง
Hok Sae Tueng
Location 427 Si Uthai Road, Amphoe Mueang, Uthai Thani Province
Proprietor Watthanaphaisan Shop by Sangiam Palawatwichai
Date of Construction Reign of King Rama VI
Conservation Awarded 2007
History
Hok Sae Tueng is the name of an ancient pharmacy in Uthai Thani Although the exact date of construction is unknown, it is believed to date over 100 years.
The history of Hok Sae Tueng involves the settlement of Chinese immigrants in Uthai Thani, on a plot of land which Hok Sae Tueng is currently located. It was originally a Vegetarian House called “Leng Noei Yi”, established for religious purposes. When people came to worship Guan Yin and other gods at the vegetarian house, it was vital to have a pharmacy to serve the public .Hence was born “Hok Sae Tueng” a pharmacy which is appropriately named to mean “virtuous conception”. Hok Sae Tueng offer free medical services to the poor, provided accommodation and daily meals for Chinese immigrants who fled their home country due to drought. In return, the immigrants worked for the vegetarian house and the shop until they were employed or found more suitable occupations. During religious festivals, the Chinese in Uthai Thani would gather in the district and they have been now been familiarly known as the “Chinese Comunity of Sakaekrang River”.
The architecture of Hok Sae Tueng is a mixture of Chinese and vernacular styles, featuringa 2-storey building of symmetrical plan surrounded by walls, a front garden, local terracotta tile roofs, and an open court in the centre. In front of the shop is is a signboard “HoK Sae Tueng” selling chinese medicine, western medicine, and various other types of Medicine. In the middle hall inside the shop hangs a sign “Hok Sae Tueng” above the medicine counter. The building and all its furniture are made of wood. The middle hall on the ground floor is a pharmacy with cabinets and drawers for keeping medicine, a seating area for customers and guests as the shop was also recognized as meeting place for the Chinese in those days to come by for a talk have a cup of tea.
From the middle hall, 2 staircases on left and right wings lead to the upper floor where medicine cabinets containing rare medicine are kept. In the middle upper hall to the left is a patient room with beds and behind it a medicine storage containing metal boxes for keeping herbs and medicinal ingredients with descriptions written in both Thai and Chinese.
As workers in Hok Sae Tueng gradually gained sufficient knowledge to open their own pharmacy, the trend for modern pharmacy made the old style pharmacy lose its popularity. Consequently, Hok Sae Tueng closed down but the ownerhas still kept the old pharmacy with gentle care, and opens the shop to visitors during Vegetarian Festival and other important occasions. Uthai Thani Province has also recognized the significance of this old building and has promoted it as one of the province’s cultural tourist attractions. Visits can be arranged by contacting the Tourism Association of Uthai Thani.