เรือนไทลื้อ
เรือนไทลื้อ
ที่ตั้ง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
สถาปนิก/ผู้ออกแบบ -
ผู้ครอบครอง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปีที่สร้าง ประมาณ พ.ศ. 2460
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2539
ประวัติ
เรือนไทลื้อ ในบริเวณสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เดิมเรียกว่า “เรือนหม่อนตุด” (หม่อน เป็นคำพื้นเมืองล้านนา แปลว่า ทวด) เจ้าของคือนางตุด ใบสุขันธ์ ชาวไทลื้อ ที่ตั้งเดิมอยู่ที่บ้านเมืองหลวง ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเรือนไม้ ลักษณะเรือนเป็นแบบ “เฮือนสองหลังหน้าเปียง” ประกอบด้วยเฮือนนอนอยู่ทางด้านตะวันออก และฮือไฟ (ครัว) อยู่ทางตะวันตก ชายคาระหว่างเรือนทั้งสองเชื่อมกันด้วยรางน้ำฝน เรียกว่า “ฮ่องลิน” ส่วนทางหน้าเรือนเป็นพื้นโล่ง เรียกว่า “เติ๋น” หลังคาช่วงบนเป็นจั่วทรงสูง ช่วงล่างเป็นปีกนกโดยรอบ
เรือนหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2460 โดยพ่อน้อยหลวงสามีหม่อนตุดไปซื้อเรือนไม้เก่าจากบ้านป่าก้าง อำเภอดอยสะเก็ดมาปรุงขึ้นใหม่ ต่อมาเมื่อพ่อน้อยหลวงเสียชีวิตไปเมื่อปี พ.ศ. 2503 หม่อนตุดก็ดูแลเรือนต่อมาจนชราภาพลง เรือนก็ทรุดโทรม จึงประกาศขายเรือนในปี 2534 ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้ซื้อมาเพื่ออนุรักษ์ไว้ และรื้อย้ายมาปรุงขึ้นใหม่ ณ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จนสมบูรณ์และได้ประกอบพิธีขึ้นเฮือนใหม่ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2537 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการจากมูลนิธิภฏ-พันธุ์ทิพย์
ปัจจุบันเรือนไทลื้อ (เรือนหม่อนตุด)ได้ใช้เป็นที่จัดกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม ความคิด และการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
เรือนไทลื้อ
เรือนไทลื้อ
เรือนไทลื้อ
เรือนไทลื้อ
-
เรือนไทลื้อ
-
เรือนไทลื้อ
-
เรือนไทลื้อ
-
เรือนไทลื้อ
Thai Lue House
Location Center for Promotion of Art and Culture, Chiang Mai University, 239 Huai Kaew Road, Amphoe Mueang, Chiang Mai Province
Architect/Designer Unknown
Proprietor Center for Promotion of Art and Culture, Chiang Mai University
Date of Construction 1917 AD
Conservation Awarded 1996 AD
History
Thai Lue House at Center for Promotion of Art and Culture, Chiang Mai University, was originally belonged to Mrs. Tud Baisukhan. It was located at Ban Mueang Luang Tambon Luang Nuea Amphoe Doi Saket Chiang Mai. The house was built in vernacular style as a twin houses, the bed house is to the east, and the kitchen house to the west, with a deck in the front.
The house was built circa 1917 AD. By Pho Noi Luang, Mrs. Tud’s husband who bought old wooden houses and relocated to his land. He died in 1960, and Mrs Tud took care of the house until she became very old, thus she sold the house in 1991. Chiang Mai University wished to preserve it as an example of vernacular architecture thus they bought the house and reassembled it at the present site, with collaborations from Chumbot-Pantip Foundation.
The house is now used to hold events on religion, culture, and local ingenuity.