อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 – 2553
ที่ตั้ง วัดบวรนิเวศวิหาร
ผู้ครอบครอง วัดบวรนิเวศวิหาร
ปีที่สร้าง รัชกาลที่ 3 – รัชกาลที่ 8
ปีที่ได้รับรางวัล พ.ศ. 2554
ประวัติ
วัดบวรนิเวศวิหารได้รับสถาปนาโดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ 3 สันนิษฐานว่าคงสถาปนาขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2367 – 2375 ในระยะแรกเรียกกันว่าวัดใหม่ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2379 วัดนี้ว่างเจ้าอาวาส พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 จึงทรงอาราธนาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติเทวาวงศ์ หรือทูลกระหม่อมพระ ด้วยทรงผนวช ประทับอยู่ที่วัดสมอรายซึ่งปัจจุบันคือวัดราชาธิวาสให้เสด็จมาอยู่ครอง และพระราชทานนามวัดนี้ใหม่ว่าวัดบวรนิเวศวิหาร ดังนั้นรัชกาลที่ 4 จึงทรงเป็นผู้ครองวัดบวรนิเวศวิหารพระองค์แรก
วัดบวรนิเวศวิหารมีความสำคัญในฐานะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ พระพุทธชินสีห์ และพระศาสดา เป็นวัดต้นแบบของคณะธรรมยุต เป็นที่ประทับขององค์ประมุขแห่งคณะสงฆ์ 4 พระองค์เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ในพระบรมจักรีวงศ์ทุกพระองค์ที่เสด็จออกทรงพระผนวช รวมทั้งเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงที่ทรงผนวชเป็นสามเณร และพระภิกษุ เป็นเหตุให้วัดบวรนิเวศวิหารมีปูชนียสถานสำคัญ และหมู่พระตำหนักจำนวนมากซึ่งแต่ละแห่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่ายิ่ง ในระหว่างปี พ.ศ. 2549 – 2553
วัดบวรนิเวศวิหารได้จัดทำโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์ ประกอบด้วยการบูรณปฏิสังขรณ์ประตูเสี้ยวกาง กำแพงวัดบวรนิเวศวิหาร และอาคารจำนวน 23 หลัง ซึ่งได้แก่ พระอุโบสถหอพระไตรปิฎก ศาลาพระพุทธบาทโบราณ ศาลาการเปรียญ พระวิหารพระศาสดา พระวิหารเก๋ง พลับพลาเปลื้องเครื่อง พระปั้นหย่า พระตำหนักจันทร์ พระตำหนักทรงพรต หอสหจร หอเสวย หมู่กุฏิทรงไทย 3 หลัง พระตำหนักเพ็ชร พระตำหนักเดิมตำหนักซ้าย ศาลาเอนกประสงค์ (เขียว) พระตำหนักล่าง พระอุโบสถคณะรังษี พระโพธิฆระ หอระฆัง ศาลาจาน และศาลาฤๅษี 4 หลังนอกจากนี้วัดบวรนิเวศวิหารยังได้ดำเนินการปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ปัจจุบันนี้ พระเจดีย์ พระวิหารคณะรังษี อาคารมนุษยนาควิทยาทาน ตำหนักบัญจบเบญจมา และตำหนักพักตร์พิมลพรรณ์ กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ โดยการดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์อาคารและสิ่งก่อสร้างทั้งหมดอยู่ภายใต้ดำเนินงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด แชฟ้า บริษัท ดำรงค์ก่อสร้างวิศว จำกัด บริษัท ส.บุญมีฤทธิ์วิศวกรรม จำกัด และบริษัท ศิวกรการช่าง จำกัด
โครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารสามารถรักษาอาคารและสิ่งก่อสร้างซึ่งเป็นมรดกสำคัญของประเทศเอาไว้ได้เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้อาคารและสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ยังคงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมเหมือนเช่นในอดีตที่ผ่านมา
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
-
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
-
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
-
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
-
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
-
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
-
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
-
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
-
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
-
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
-
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
-
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
-
อาคารและสิ่งก่อสร้างในโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหารในพระบรมราชูปถัมภ์
Buildings in the Restoration Project of Wat Bowonniwetwihan Under the Royal Patronage of the King from 2006-2010
Location Wat Bowonniwetwihan
Proprietor Wat Bowonniwetwihan
Date of Construction Reign of King Rama III – King Rama VIII
Conservation Awarded 2011
History
Wat Bowonniwetwihan was built by H.R.H. Prince Maha Sakdiphollasep, a son of King Rama III, assumingly from 1824 - 1832 and originally called Wat Mai. In 1836, King Rama III had invited Prince Mongkut (Later-King Rama IV) in monkhood resided at Wat Rachathiwat to be the abbot this temple, and named it Wat Bowonniwetwihan.
This significant temple is the prototype monastery of the Dhammayutika Sect (Law-Abiding Sect) as well as to install the relics of the Buddha and 2 Buddha images named Phra Buddha Chinnasi and Phra Buddha Sassada. All monarchs and the royal members of the Chakri Dynasty were ordained in this temple. There are many historical important buildings here. The temple had a restoration from 2006-2010 of the doors, the walls and 23 buildings including the main chapel, the sermon hall, the Assembly Hall of Phra Buddha Sasada, the pavilions and the palaces, etc.
Presently, some buildings have been under restoration such as the pagoda, the Assembly Hall of Khana Rungsi, etc. The restoration is able to maintain the buildings in the temple which are very valuable for history, artistic work and architecture as the national heritage.