อาคารควรค่าแก่การอนุรักษ์

ค้นหา

หมายเลข 2 อาคารพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา

หมายเลข 2 อาคารพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา

ที่ตั้ง  ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 

สถาปนิก/ผู้ออกแบบ พระสาโรชรัตนนิมมานก์  

ผู้ครอบครอง กรมธนารักษ์ บริหารจัดการอาคารพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนาโดย กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาเมือง กองวิชาการและแผนงาน เทศบาลนครเชียงใหม่ 

ปีที่สร้าง พ.ศ. 2478 

ประวัติ

อาคารพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนาถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ทำการของศาลจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมารัฐบาลสยามมีนโยบายให้การพิจารณาคดีเล็กๆ เสร็จสิ้นไปด้วยความรวดเร็วและยุติธรรม จึงได้จัดตั้งศาลแขวงขึ้นในทุกจังหวัด สำหรับศาลแขวงเชียงใหม่เริ่มเปิดทำการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2500 มีเขตอำนาจครอบคลุมท้องที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ และใช้อาคารหลังนี้ร่วมกับศาลจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้ย้ายที่ทำการเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2527 จึงเหลือแต่ศาลแขวงเชียงใหม่ที่ยังคงใช้อาคารอยู่ จนเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2547 ศาลแขวงเชียงใหม่ได้ย้ายไปตั้งอยู่ ณ สถานที่ใหม่ ประกอบกับเทศบาลนครเชียงใหม่มีนโยบายพัฒนาพื้นที่กลางเมืองเก่าเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2548 จึงได้ขอใช้ประโยชน์อาคารศาลแขวงเดิมจากสำนักงานศาลยุติธรรมและกรมธนารักษ์เพื่อปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนาจนสามารถเปิดดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา หลังจากนั้น เทศบาลนครเชียงใหม่ได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556 

อาคารพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนาเป็นอาคารสูงสองชั้น โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กผนังก่ออิฐถือปูน ลักษณะผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบสมมาตร กว้าง 19 เมตร ยาว 31 เมตร มีมุขหน้ายื่นกว้าง 5 เมตร ยาว 23 เมตร มุขหน้าเป็นโถงทางเข้ามีบันไดขนาบ 2 ข้าง กลางอาคารเป็นห้องนิทรรศการใหญ่แบ่งเป็น 2 ห้อง ขนาด 7x11 เมตร ล้อมรอบด้วยทางเดินและห้องต่างๆ ผังชั้นบนมีลักษณะเช่นเดียวกับชั้นล่าง ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของอาคารได้รับอิทธิพลของนีโอคลาสสิก (Neoclassic) จุดเด่นของอาคาร คือ มุขด้านหน้ามีการใช้ไวยากรณ์แบบประตูชัยของโรมันอย่างชัดเจน กล่าวคือ อยู่ในโครงรูปสี่เหลี่ยม แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนกลางกว้างเป็น 4 ส่วนของริม 2 ข้าง ออกแบบเน้นเป็นประตูกลางโครงสร้างคานโค้งใหญ่ประดับเสาอิง 2 ข้าง ข้างละ 2 ต้น ส่วนริมเป็นผนังค่อนข้างทึบคล้ายหอคอย ส่วนบนอาคารเป็นพนักขอบหลังคาแบบผนังทึบยาวตลอดแนวปิดหลังคาทรงปั้นหยาที่อยู่ด้านหลัง ทำให้ดูเหมือนอาคารแบบหลังคาตัด ภายในอาคารตกแต่งกรุผนังสวยงามด้วยไม้สักทอง พื้นชั้นบนปูด้วยไม้สักทอง 

อาคารพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนาได้รับการปรับปรุงฟื้นฟูด้วยความพิถีพิถัน เนื่องจากโครงสร้างเดิมมีข้อจำกัดในแง่ของการใช้พื้นที่ใช้สอยสำหรับส่วนจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ ทำให้ต้องมีการปรับปรุงแบบสถาปัตยกรรมภายในเพื่อให้เกิดประโยชน์ใช้สอยโดยปรับเปลี่ยนโครงสร้างเดิมให้น้อยที่สุด ซึ่งก่อนหน้านี้ เทศบาลนครเชียงใหม่ได้มีความพยายามดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมในส่วนต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกอาคาร อาทิ การปรับเปลี่ยนใช้กระเบื้องว่าวแทนการใช้กระเบื้องหลังคาเดิมเพื่อให้เกิดความสวยงามยิ่งขึ้น ปรับปรุงภายในอาคารโดยพยายามใช้โครงสร้างเดิมทั้งหมดแทนการรื้อถอนของเดิม รวมถึงการก่อสร้างตัวอาคารประกอบ เช่น อาคารห้องอาหาร โกดังเก็บของที่มีความกลมกลืนกับอาคารหลักโดยได้รับคำแนะนำและข้อคิดเห็นจากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญต่อมาอาคารพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนาได้รับการปรับเปลี่ยนตามแนวความคิดที่ต้องการพัฒนาให้พื้นที่กลางเวียงเชียงใหม่ กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้โดยการรวบรวมเรื่องราวและเนื้อหาความเป็นอัตลักษณ์ของชาวล้านนาในแขนงต่างๆ ที่เป็นประวัติศาสตร์ศิลป์และภูมิปัญญางานศิลป์มาไว้ที่อาคารหลังนี้ เพื่อให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและส่งเสริมความรู้ เชิดชูคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตของชาวล้านนาให้เป็นที่รู้จักของผู้คน ช่วยกระตุ้นให้คนในท้องถิ่นมีความภาคภูมิใจในบ้านเกิดเมืองนอน เกิดจิตสำนึกในการดูแลรักษาบ้านเมืองในระยะยาว โดยมีความเชื่อมโยงผสมผสานเข้ากับหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่และหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ 

 

Number 2 Lanna Folklife Museum Building  

Location Pra Phrokklao Road, Tambon Sripoom, Chiang Mai  

Architect/ Designer  Phra Saroj Rattana Nimmarn 

Owner Department of Treasury Lanna Folklife Museum building is managed by the City Development and Promotion Group, Division of Technical Services and Planning, Chiang Mai Municipality

Year Built  1935 

History 

Lanna Folklife Museum building was originally built to serve as Chiangmai Provincial Courthouse until the government issued a policy to have all small claim trials finish quickly and fairly and therefore established District Courts in every single province. Chiangmai District Courthouse opened on June 1, 1957 with the jurisdiction throughout the province of Chiangmai. The courthouse at the time was being shared with Chiangmai Provincial Court until it was relocated on January 30, 1984. Chiangmai District Court occupied the building until September 24, 2004; Chiangmai District Court was also moved to a new location. Chiangmai Municipalty imposed a policy to develop the old central area of Chiangmai in 2005 and proposed to the Court of Justice and the Department of Treasury the plan to restore the building into Lanna Folklife Museum. The permission was granted and the museum opened on December 18, 2012. Chiangmai Municipality invited Her Royal Highness Princess Sirindhorn Deparatanasuda to attend the official opening ceremony of Lanna Folklife Museum on August 13, 2013. 

The building of Lanna Folklife Museum has two storeys with concrete reinforced brick masonry structure. The rectangular shaped building is 19 meters wide and 31 meters long with projecting entrance portico of 5 meter wide and 23 meter long and staircases on both sides. The center part of the building is divided into two exhibition 7 x 11 meter rooms surrounded by walkways and rooms. The upstairs floor plan is similar to the downstairs. The building style of architecture was of Neo-Classic influence. The distinctive feature of the building is the use of the Roman Triumphal arches that is rectangular shape structure is divided into 3 parts; the center part is four times wider than the two sides, the center entrance feature a large arch with two supporting columns on each side and tower-like solid wall structure on each end. The top of the building is a row of opaque wall stretching across the top rim covering the hip roof on the back giving the building a cut roof style. The interior walls are beautifully decorated with teak wood panels as well as teak wood flooring on the second floor.  

Lanna Folklife Museum building was meticulously restored as the usable area of the old structure was too limited to house the museum exhibits resulting in a slight modification of the building’s interior architecture to enhance space functionality. Previously, Chiangmai Municipality has been trying to repair parts of the building both inside and out such as the replacing of the old roofing with kite shaped tile for a beautiful finish, restoring of the interior space without removing the existing structure as well as the construction of adjacent buildings such as a cafeteria, a storage building that was built in harmony with the main building with guidance and feedback from scholars and experts. Lanna Folklife Museum building was later modified according to the central Chiangmai development project and was turned into an educational tourist spot that houses collections of Lanna folk life stories and information on each branches of Lanna’s identity including their history of arts and their artistic wisdom. The Museum was to become one of the major tourist attractions that promote academic learning and honor Lanna’s cultural value and lifestyle to encourage local prides and long-term sense of protection of their community. The museum also connects to Chiangmai City Arts and Cultural Center and Chiangmai History Archive.