อาคารเกลียวหมู Loading Center
อาคารเกลียวหมู Loading Center
ที่ตั้ง บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เลขที่ 1 ถนนปูนซิเมนต์ไทย แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
สถาปนิก/ผู้ออกแบบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
ผู้ครอบครอง บริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
ปีที่สร้าง พ.ศ. 2458
ประวัติ
อาคารเกลียวหมูก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2458 พร้อมๆ กับการก่อตั้งโรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ เพื่อใช้เป็นอาคารลำเลียงถุงปูนซีเมนต์ลงเรือลากจูง ก่อนที่จะขนส่งไปทางคลองเปรมประชากร เพื่อออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่เขตสามเสนและขนส่งให้ลูกค้าต่อไป โดยชื่อของอาคารเกลียวหมูนั้น เอามาจากคำว่า “เกลียวหมู” ซึ่งเป็นชื่อเฉพาะทางการช่างสำหรับเรียกอุปกรณ์ลำเลียงที่มีลักษณะเป็นสายพานเหล็กเกลียว เชื่อมจากตัวอาคารลงมายังพื้นน้ำด้านล่างที่จะมีเรือมารอรับ
อาคารเกลียวหมูเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่มีลักษณะสถาปัตยกรรมโดดเด่นเป็นทรงสี่เหลี่ยมคางหมูชั้นเดียวยกสูงจากพื้นน้ำเพื่อใช้เป็นที่จอดเรือบรรทุกปูนซีเมนต์ โดยมีโครงสร้างฐานตั้งอยู่ในน้ำ แล้วลาดเอียง (สอบเข้า) ไปถึงหลังคา ตรงกลางหลังคามีโครงสร้างก่อเป็นหอสูงทรงสอบเข้าเช่นกัน เพื่อใช้เป็นพื้นที่สำหรับยกแกนเกลียวหมูขึ้นลงตามการขึ้นลงของระดับน้ำในคลอง ผนังภายนอกอาคารด้านทิศเหนือ – ใต้ เป็นผนังระบายอากาศได้โดยใช้กระเบื้องบานเกล็ดเป็นวัสดุกรุผนัง ส่วนผนังด้านตะวันออก – ตะวันตก เป็นผนังทึบโดยใช้กระเบื้องหลังคาลอนใหญ่กรุผนัง ทางขึ้นลงเดิมเป็นบันไดคอนกรีตที่ลาดชัน จึงได้ทำบันไดเหล็กใหม่เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกในการขึ้นลง
แต่เดิมอาคารเกลียวหมูมีอยู่ 2 หลัง เมื่อบทบาทของอาคารเกลียวหมูในฐานะเป็นอาคารลำเลียงถุงปูนได้ยุติลงในปี พ.ศ. 2515 การขนส่งปูนซีเมนต์ทางรถยนต์และรถไฟเป็นที่นิยมมากขึ้น ทางเอสซีจีจึงได้ตัดสินใจอนุรักษ์อาคารเกลียวหมูไว้ 1 หลัง โดยในส่วนของโครงสร้างภายนอกที่เป็นทรงสี่เหลี่ยมคางหมูยังคงรักษาสภาพไว้เหมือนเดิม แต่ภายในนั้นได้มีการปรับปรุงและตกแต่งเพิ่มเติม เพื่อใช้เป็นหอจดหมายเหตุของเอสซีจี ที่มีการจัดเอกสารไว้อย่างเป็นระบบให้ง่ายต่อการค้นคว้าหาข้อมูล และในอนาคตยังมีแผนการจะทำเป็น SCG Heritage World จัดแสดง Living Exhibition เพื่อเผยแพร่ข้อมูลประวัติศาสตร์ของเอสซีจีต่อไป
อาคารเกลียวหมู Loading Center
อาคารเกลียวหมู Loading Center
อาคารเกลียวหมู Loading Center
อาคารเกลียวหมู Loading Center
อาคารเกลียวหมู Loading Center
อาคารเกลียวหมู Loading Center
อาคารเกลียวหมู Loading Center
-
อาคารเกลียวหมู Loading Center
-
อาคารเกลียวหมู Loading Center
-
อาคารเกลียวหมู Loading Center
-
อาคารเกลียวหมู Loading Center
-
อาคารเกลียวหมู Loading Center
-
อาคารเกลียวหมู Loading Center
-
อาคารเกลียวหมู Loading Center
Kleow Moo Loading center
Location Siam Cement Public Company Limited 1 Siam Cement Road, Bangsue, Bangkok
Architect Designer Unknown
Owner Siam Cement Public Company Limited
Year Built 1915
History
Kleow Moo Building was built in 1915, the same time Bangsue Cement Factory was established, to be the building in which bags of cement are conveyed onto tugboats to be transported down Klong Prem Prachakon to Chao Phraya River in Sam Sen District before being distributed to customers. The name Kleow Moo Building derived from the Thai technical term “Kleow Moo” used to describe a screw-like metal conveyor belt that runs from inside the building down to the waiting area on the water below.
Kleow Moo building is a steel reinforced structure with an outstanding architecture. A single story trapezoid shaped building raised above the water surface is used in docking cement carrier ships. With the base structure located in the water and sloped down (inwardly tapered) to the roof. The center of the roof stood a tall tower, also tapered inward. The tower is used in lifting the conveyor axis up and down according to the water level in the canal. The use of louver tile siding on the north and south exterior walls provide ventilation. The east and west wall enclosed with large solid carved tiles. New steel stairs replaced the old steep concrete stairs for safety and convenience.
Originally Kleow Moo Building consists of two buildings. When the conveyor building became dysfunctional in 1972 as the transporting of cement by car on rail became popular. SCG decided to preserve one of the two Kleow Moo buildings. The trapezoid exterior structure remains in its original condition while the area inside were modified and renovated into SCG Archives. All of the documentations are properly systematically filed for ease of use. There is a plan to set up SCG Heritage World with Living Exhibition to continue to broadcast SCG history